สูตรอาหารป้องกันและปรับสมดุลสำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง (ตอนที่ 4)

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  1615 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สูตรอาหารป้องกันและปรับสมดุลสำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง (ตอนที่ 4)

1. ซุปกระดูกหมูถั่วดำตุ๋นตู๋หัว 独活黑豆猪骨汤

สรรพคุณ

  • ขับลม ระงับปวด
  • กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ขจัดเลือดคั่ง
  • เสริมกำลังม้าม บำรุงไต ทำให้กระดูกแข็งแรง

เหมาะสำหรับ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นตัว ระยะมีความบกพร่องหลงเหลือ ที่มีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตครึ่งซีก แขนขาชา ชาครึ่งซีก กล้ามเนื้อหดเกร็ง มีอาการปวดเกร็ง เคลื่อนไหวลำบาก

ส่วนประกอบ

  • ซี่โครงหมู 250 กรัม
  • ตู๋หัว 独活 15 กรัม
  • ถั่วดำ 50 กรัม
  • ขิงสด 2 แว่น

วิธีทำ

  • นำซี่โครงหมูที่ตัดล้างทำความสะอาดดีแล้วมาใส่ลงในหมอตุ๋น เติมน้ำสะอาด 1-1.25 ลิตร
  • ใส่ ตู๋หัว ถั่วดำ ขิงสด ลงไปตุ๋นพร้อมกัน ตุ๋นนาน 2 ชั่วโมง

วิธีรับประทาน
ดื่มน้ำซุป ทานซี่โครงหมูปริมาณพอเหมาะ รับประทาน 2-3 ครั้ง/สัปดาห์

 กระดูกหมู 猪骨

 

รส หวาน เค็ม
ฤทธิ์ อุ่น
เข้าเส้นลมปราณ ม้าม กระเพาะอาหาร

สรรพคุณ

  • บำรุงชี่ม้าม
  • เพิ่มความชุ่มชื้นในกระเพาะลำไส้
  • สร้างสารน้ำ
  • สร้างกล้ามเนื้อ
  • บำรุงผิวพรรณ
  • บำรุงเลือด เสริมสร้างกระดูก

กลุ่มคนที่ไม่เหมาะกับการรับประทานกระดูกหมู
ผู้มีความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ผู้มีภาวะอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ ไม่ควรรับประทาน หรือรับประทานแต่น้อยอย่างระมัดระวัง

กลุ่มคนที่เหมาะกับการรับประทานกระดูกหมู

  • คนปกติทั่วไป
  • ผู้มีร่างกายอ่อนแอ ผู้มีร่างกายผอม เบื่ออาหาร เลือดลมไม่พอ

ถั่วดำ 黑豆 

 

รส หวาน
ฤทธิ์ กลาง ไม่ร้อนไม่เย็น
เข้าเส้นลมปราณ ม้าม ไต

สรรพคุณ

  • เพิ่มความชุ่มชื้นในปอด ลดความแห้ง ลดร้อน
  • เพิ่มการไหลเวียนเลือด ขับน้ำ
  • ขับลม ลดปวด
  • บำรุงเลือด สงบจิตใจ
  • บำรุงสายตา เพิ่มพลัง (ชี่) ม้าม
  • บำรุงไต บำรุงอิน
  • บำรุงผมให้ดำเงางาม
  • แก้พิษ


กลุ่มคนที่ไม่เหมาะกับการรับประทานถั่วดำ
ผู้ที่ระบบการย่อยอาหาร กระเพาะลำไส้ทำงานไม่ดี ไม่ควรรับประทาน หรือ รับประทานแต่น้อยอย่างระมัดระวัง

กลุ่มคนที่เหมาะกับการรับประทานถั่วดำ
คนปกติทั่วไป

ตู๋หัว 独活 

 

รส เผ็ดกระจาย ขม
ฤทธิ์ อุ่น
เข้าเส้นลมปราณ กระเพาะปัสสาวะ ไต

สรรพคุณ

  • สลายความเย็นบริเวณผิวนอกของร่างกาย
  • ขับลมชื้น ลดปวด ทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวคล่อง
  • ใช้รักษาอาการหวัดจากลมเย็น ปวดศีรษะไม่มีเหงื่อ อาการปวดจากลมเย็นชื้น กล้ามเนื้อต้นคอแข็งเกร็ง ปวดเมื่อยบริเวณข้อ บวมน้ำจากลม แก้พิษฝีหนอง

กลุ่มคนที่ไม่เหมาะกับการรับประทานตู๋หัว
ผู้มีอาการปวดจากเลือดพร่อง ห้ามรับประทาน

 ขิงสด 生姜

 

รส เผ็ดกระจาย
ฤทธิ์ อุ่น
เข้าเส้นลมปราณ ปอด ม้าม กระเพาะอาหาร

สรรพคุณ

  • ขับเหงื่อ ขจัดเสียชี่ที่เข้ามารุกรานบริเวณผิวนอก
  • อุ่นม้ามกระเพาะอาหาร ระงับอาเจียนอุ่นปอด ระงับไอ
  • แก้พิษ ปลา กุ้ง ปู
  • แก้พิษยา
  • ใช้รักษากลุ่มอาการถูกลมเย็นผ่านนอกเข้ามารุกราน ปวดศีรษะ เสมหะของเหลวคั่งค้าง ไอ อาเจียนจากกระเพาะเย็น

กลุ่มคนที่ห้ามรับประทานขิงสด
ผู้มีกลุ่มอาการร้อนในจากอินพร่อง กลุ่มอาการที่มีความร้อนสูงห้ามรับประทาน

กลุ่มคนที่เหมาะกับการรับประทานขิงสด
คนปกติทั่วไป

2. ซุปหัวปลาตุ๋นเทียนหมา 天麻炖鱼头

สรรพคุณ 

  • บำรุงตับและไต
  • ขับลม ทะลวงเส้นลมปราณให้ไหลเวียนสะดวก

เหมาะสำหรับ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีอาการปวดเวียนศีรษะร่วมด้วย

ส่วนประกอบ

  • เทียนหมา 天麻 15 กรัม
  • ชวนซยง 川芎 10 กรัม
  • พุทราจีน 大枣 3-4 ลูก
  • เก๋ากี้ 枸杞 10 กรัม
  • หัวปลาจีน (ปลาเฉา 草鱼) 1 หัว
  • ขิงสด 3 แว่น
  • เกลือปริมาณเล็กน้อย

วิธีทำ

  • นำหัวปลาไปลงไปทอดในน้ำมันร้อนประมาณ 2-3 นาที ตักขึ้นพักไว้
  • นำหัวปลา เทียนหมา ชวนซง พุทราจีน ขิงสด ที่ตัดล้างทำความสะอาดดีแล้วใส่รวมกันลงในหม้อตุ๋น
  • เติมน้ำสะอาดปริมาณพอเหมาะในหม้อตุ๋น ทำการตุ๋นนาน 2 ชั่วโมง
  • เติมเกลือปรุงรสตามชอบ

วิธีรับประทาน
ตักหัวปลาออก ดื่มน้ำซุปและทานเนื้อปลาปริมาณพอเหมาะ รับประทาน 2-3 ครั้ง/สัปดาห์

 ปลาจีน (ปลาเฉา 草鱼)

 

รส หวาน
ฤทธิ์ อุ่น ไม่มีพิษ
เข้าเส้นลมปราณ ตับ กระเพาะอาหาร

สรรพคุณ

  • อุ่นกระเพาะ ปรับสมดุลม้ามกระเพาะอาหาร
  • สงบตับ กดหยางตับลง
  • ขับลม
  • รักษาอาการปวด
  • แก้ไข้มาเลเรีย
  • บำรุงลำไส้
  • บำรุงสายตา ทำให้ตาสว่างมองเห็นชัด
  • ใช้รักษาอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หยางตับลอยขึ้นสูง ภาวะความดันโลหิตสูง ไข้มาเลเรียเรื้อรัง

ข้อควรระวังในการรับประทานปลาเฉา
ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก กระตุ้นให้เกิดตุ่มหนองได้

กลุ่มคนที่เหมาะกับการรับประทานปลาเฉา

  • คนปกติทั่วไป
  • เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ไขมันในเลือดสูง เด็กเจริญเติบโตช้า บวมน้ำ วัณโรคปอด น้ำนมน้อยหลังคลอด

เทียนหมา 天麻

รส หวาน
ฤทธิ์ กลาง ไม่ร้อนไม่เย็น
เข้าเส้นลมปราณ ตับ

สรรพคุณ

  • สงบตับระงับลม
  • ระงับเกร็ง กดหยางตับลง
  • ใช้รักษาอาการ ปวดศีรษะ วิงเวียน แขนขาชา อาการชักเด็ก ลมชัก อาการเกร็งจากบาดทะยัก

ข้อควรระวังในการรับประทานเทียนหมา
ผู้ที่เลือดลมพร่องอ่อนแอมาก ควรใช้อย่างระมัดระวัง

ชวนซฺยง 川芎

รส เผ็ดกระจาย
ฤทธิ์ อุ่น
เข้าเส้นลมปราณ ตับ ถุงหุ้มหัวใจ ถุงน้ำดี

สรรพคุณ

  • เพิ่มการไหลเวียนเลือดและพลังลมปราณ (ชี่)
  • ขับลม ระงับปวด
  • ใช้รักษาประจำเดือนผิดปกติ ปวดประจำเดือน ประจำเดือนขาด ปวดท้อง มีก้อนในท้อง ปวดเสียดแทงบริเวณหน้าอกชายโครง ฟกช้ำเคล็ดขัดยอก ปวดศรีษะ ปวดไขข้อ

กลุ่มคนที่ห้ามรับประทานชวนซฺยง

  • กลุ่มอาการอินพร่องไฟลุกโชน ห้ามรับประทาน
  • กลุ่มอาการบนแกร่งล่างพร่องและกลุ่มอาการลมปราณอ่อนแอห้ามรับประทาน

พุทราจีน 大枣

รส หวาน
ฤทธิ์ อุ่น
เข้าเส้นลมปราณ ม้าม กระเพาะอาหาร

สรรพคุณ

  • บำรุงม้ามปรับสมดุลกระเพาะอาหาร
  • บำรุงลมปราณ (ชี่) สร้างสารน้ำ
  • บำรุงเลือด สงบจิตใจ
  • ผสานฤทธิ์ยาในตำรับให้สมดุลกัน
  • ใช้รักษากลุ่มอาการม้ามกระเพาะอาหารพร่องอ่อนแอ ทานอาหารได้น้อย ถ่ายไม่เป็นก้อน เลือดพร่องหน้าเหลืองซีด อาการ “จ้างจ้าว 脏躁” ในสตรี  
  • บำรุงร่างกายหลังคลอดหรือช่วงระหว่างมีประจำเดือน
  • รับประทานเพื่อบำรุงความงาม ให้ผิวหน้า ผิวพรรณชุ่มชื้นมีเลือดฝาด

กลุ่มคนที่ห้ามรับประทานพุทราจีน

  • ผู้มีกลุ่มอาการมีความชื้นสูง จุกเสียด แน่นท้องกระเพาะอาหารห้ามรับประทาน
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้มีความร้อนชื้นสูง ผู้มีฝ้าที่ลิ้นสีเหลือง ไม่ควรรับประทาน

กลุ่มคนที่เหมาะกับการรับประทานพุทราจีน
คนปกติทั่วไป

เก๋ากี้ 枸杞子

รส หวาน
ฤทธิ์ กลาง ไม่ร้อนไม่เย็น
เข้าเส้นลมปราณ ตับ ไต ปอด

สรรพคุณ

  • บำรุงตับและไต
  • บำรุงสายตา ทำให้ตาสว่าง มองเห็นชัดเจน
  • ให้ความชุ่มชื้นกับปอด
  • ใช้รักษาอาการวิงเวียน ตามัว น้ำกามเคลื่อน เบาหวาน อาการไอเรื้อรังจากอินพร่อง อาการไอจากวัณโรค

กลุ่มคนที่ห้ามรับประทานเก๋ากี้

  • ผู้ที่เป็นไข้ตัวร้อนแบบร้อนแกร่ง (ไข้จากหวัด ไข้จากการติดเชื้อ) ห้ามรับประทาน
  • ผู้มีกลุ่มอาการม้ามพร่องทำให้มีความชื้นจากภายในห้ามรับประทาน
  • ผู้มีกลุ่มอาการท้องเสียถ่ายท้องห้ามรับประทาน

3. ซุปกบตุ๋นตานเซิน 丹参田鸡汤

สรรพคุณ

  • เพิ่มการไหลเวียนเลือด ทะลวงเส้นลมปราณให้ไหลเวียนคล่องสะดวก
  • ทำจิตใจสงบ สมองผ่อนคลาย

เหมาะสำหรับ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการอัมพาตครึ่งซีก เคลื่อนไหวแขนขาไม่คล่อง มือเท้าขา พูดจาติดขัด ปากเบี้ยว ใจสั่น ใจหวิว นอนไม่หลับ ขี้หลงขี้ลืม ลิ้นซีดคล้ำ มีจุดหรือรอยจ้ำเลือดที่ลิ้น

ส่วนประกอบ

  • ตานเซิน 丹参 15 กรัม
  • พุทราจีน 红枣 5 ลูก
  • กบ 250 กรัม
  • ขิงสด 2 แว่น
  • เหล้าจีนที่ทำจากข้าว 米酒 1 ช้อนโต๊ะ
  • เกลือปริมาณเล็กน้อย

วิธีทำ

  • นำเนื้อกบที่ลอกหนัง นำเครื่องในออก และตัดล้างทำความสะอาดดีแล้ว มาใส่ลงในหม้อตุ๋น
  • นำเครื่องปรุงทั้งหมดที่เตรียมไว้มาใส่รวมกันในหม้อตุ๋น เติมน้ำสะอาดปริมาณพอเหมาะ
  • ตั้งหม้อต้มด้วยไฟแรงจนน้ำเดือด ช้อนฟองออกจากน้ำซุป ต้มด้วยไฟอ่อนต่ออีก 2 ชั่วโมง

วิธีรับประทาน
ดื่มน้ำซุป ทานเนื้อในปริมาณพอเหมาะ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์

เนื้อกบ 田鸡肉

รส หวาน
ฤทธิ์ เย็น
เข้าเส้นลมปราณ กระเพาะปัสสาวะ ไต กระเพาะอาหาร

สรรพคุณ《日华子本草》

  • ดับร้อน แก้พิษ
  • บำรุงร่างกาย
  • ขับน้ำ ลดบวม
  • ใช้รักษาอาการบวมน้ำจากความผิดปกติของหัวใจ บวมน้ำจากโรคไต คางทูม ประจำเดือนขาด ประจำเดือนมามากเกิน  ไอ หอบ โรคหัด มีไข้จากร่างกายอ่อนแอ ฝีหนอง โรคบิด สำลัก อาเจียน ฯลฯ

ข้อควรระวังในการรับประทานเนื้อกบ

  • การรับประทานเนื้อกบในปริมาณมากเกินไป  มักจะทำให้เกิดความความร้อนและความชื้นขึ้นในร่างกาย
  • สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน
  • ในเนื้อกบมีตัวอ่อนของพยาธิที่เป็นอันตราย จึงไม่ควรทานเนื้อกบดิบ ไม่ผ่านการปรุงสุก หรือ ปรุงสุกไม่ทั่ว
ตานเซิน 丹参

รส ขม
ฤทธิ์ เย็นเล็กน้อย
เข้าเส้นลมปราณ หัวใจ ตับ

สรรพคุณ

  • เพิ่มการไหลเวียนเลือด ขจัดเลือดคั่ง
  • ทะลวงเส้นลมปราณ ระงับปวด
  • ดับร้อนในหัวใจ แก้หงุดหงิด
  • ใช้รักษาอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด ปวดช่องท้อง ปวดซี่โครง มีก้อนในช่องท้อง ปวดจากความร้อน หงุดหงิด นอนไม่หลับ ประจำเดือนผิดปกติ แผลปวดบวม

ข้อควรระวังในการรับประทานตานเซิน

  • ผู้ป่วยที่มีประเดือนมามากเกินโดยไม่ใช่กลุ่มอาการเลือดคั่งห้ามรับประทาน
  • สตรีมีครรภ์รับประทานอย่างระมัดระวัง
  • ไม่ควรใช้หรือรับประทานร่วมกับหลีหลู 藜芦

------------------------

บทความโดย
แพทย์จีน ปณิตา กาสมสัน (หมอจีน หลู เหมียว ซิน)
卢苗心 中医师
TCM. Dr. Panita Kasomson (Lu Miao Xin)
คลินิกฟื้นฟูอัมพฤกษ์อัมพาตและโรคทางระบบประสาท

อ้างอิง

  1. 黄燕 陈达灿 杨志敏 等. 中风中西医结合慢性病防治指导与自我管理丛书[M]北京:人民卫生出版社 2013.11
  2. 孟诜 张鼎. 中华养生经典.食疗本草[M]:中华书局2011.11.1
  3. 食材大全. 苹果绿养生网https://www.pingguolv.com/

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้