Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 2178 จำนวนผู้เข้าชม |
ความปวด เป็นอาการของความไม่สุขสบายทั้งร่างกาย ความรู้สึกและอารมณ์ แต่ละบุคคลจะมีความแตกต่างกันออกไป สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้นพบว่า เกิดขึ้นจากพยาธิสภาพของรอยโรคในสมองที่เกิดความเสียหาย ส่งผลถึงความพิการและความเปลี่ยนแปลงหลังการเกิดโรค ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยและสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาฟื้นฟูอย่างมีประสิทธิภาพ
อาการปวดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สามารถพบได้ทุกระยะการเจ็บป่วย ที่มีผลเป็นอย่างมากในการฟื้นตัว ระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วย อาการปวดที่พบได้ คือ
1. อาการปวดไหล่ (post-stroke shoulder pain) เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด โดยสาเหตุเกิดจากภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่งผลให้ความมั่นคงของข้อไหล่ผู้ป่วยลดลง เกิดภาวะข้อไหล่เคลื่อน (shoulder subluxation) หรือความตึงตัวของกล้ามเนื้อต่ำ มีการกระชากต่อกล้ามเนื้อเส้นเอ็นบริเวณรอบ ๆ ทำให้เกิดภาวะอักเสบ นำไปสู่อาการปวดไหล่ ส่งผลให้เกิดภาวะกระดูกทับเส้นเอ็น (shoulder impingement syndrome : SIS) และมีอาการปวดไหล่ตลอดเวลาแม้ขณะพัก
2. อาการปวดจากการแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อ (spasticity) เป็นความผิดปกติของระบบประสาท เมื่อ muscle tone มีการเพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อทำ passive movement จะพบว่าความตึงตัวของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ถ้าหากทำต่อไปจนเกือบสุดพิกัดการเคลื่อนไหว ความตึงตัวของกล้ามเนื้อจะลดลงอย่างรวดเร็ว
3. อาการที่เกิดจากรอยโรคในสมอง (central post-stroke pain : CPSP)
สามารถเกิดขึ้นได้ทันทีหลังเกิดอาการโรคหลอดเลือดสมอง มีลักษณะอาการแสบร้อนหรือมีอาการปวดเหมือนเข็มทิ่มแทงตามร่างกาย
ในทางการแพทย์แผนจีน อาการปวดจากโรคหลอดเลือดสมองที่พบบ่อย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ
แนวทางการรักษาฟื้นฟูอาการปวดของผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง
ปรึกษาสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ทีมแพทย์จีน คลินิกฟื้นฟูอัมพฤกษ์อัมพาตและโรคทางระบบประสาท ชั้น 8 คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ
------------------------
บทความโดย
แพทย์จีน พัลลภ อ่อนแก้ว (จาง เหวิน จิ้ง)
张文静 中医师
TCM. Dr. Phanlob Onkaew
อ้างอิง
1. วชิรา โพธิ์ใส บทความฟื้นวิชา การจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังโรคหลอดเลือดสมอง กองพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
2. จารุวรรณ กิตติวราวุฒิ (พ.บ.) การลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง สาขาวิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
3. https://www.huachiewtcm.com/content/7281/ สืบค้นเมื่อ 24/4/2566
4. https://www.huachiewtcm.com/content/6532/ สืบค้นเมื่อ 24/4/2566
12 ก.ย. 2567