การกระตุ้นการไหลเวียนของชี่ ด้วยการฝึกเต๋าอิ่นแบบ หม่าหวางตุย 马王堆导引 (ตอนที่ 2)

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  1327 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การกระตุ้นการไหลเวียนของชี่ ด้วยการฝึกเต๋าอิ่นแบบ หม่าหวางตุย 马王堆导引 (ตอนที่ 2)

ก่อนการทำการฝึก เราสามารถเริ่มฝึกการกำหนดลมหายใจ ได้ด้วยวิธีการยืนตรงขาสองข้างชิดกัน ปลายเท้าหันออกด้านหน้า ผู้ชายใช้มือซ้ายวางตำแหน่งใต้สะดือและมือขวาวางทับ ผู้หญิงให้ใช้มือขวาวางตำแหน่งใต้สะดือและมือซ้ายทับ หายใจเข้าท้องป่องให้ดันมือออกมา และหายใจออกท้องแฟบให้มือกดเข้าไปได้ สามารถฝึกหายใจประมาณ 1-2 นาทีก่อนเริ่มการฝึกเต๋าอิ่น เพื่อกระตุ้นให้ชี่ไหลเวียนได้สะดวก

โดยท่า 4 ท่าเต๋าอิ่นจะเป็นท่าที่ช่วยกระตุ้นเส้นลมปราณหัวใจ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะและเส้นลมปราณไต

ท่านกกางปีก (鸟伸) กระตุ้นเส้นลมปราณหัวใจ ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อต้นคอ บ่า ไหล่ และหลัง

ยืนกางขาสองข้างระดับหัวไหล่ ย่อตัวลงเล็กน้อย มือสองข้างวางที่ต้นขา กำมือสองข้างและยกมือขึ้นตำแหน่งบริเวณชายโครงทั้งสองข้าง เหยียดแขนลงและหมุนแขนไปทางด้านหลัง และขึ้นเหนือหัว ก้มตัวลง แบมือหันฝ่ามือลงพื้นสองข้าง เหยียดแขนตรง เงยหน้าขึ้น ก้มหน้าลงพร้อมกับแอ่นตัวให้หลังงอขึ้น เงยหน้าขึ้นหลังตรง มือสองข้างกำหมัดอยู่บริเวณชายโครงทั้งสองข้าง ทำซ้ำ 3 ครั้ง

ท่ายืดเหยียดหน้าท้อง (引腹) กระตุ้นเส้นลมปราณลำไส้เล็ก ช่วยคลายการเจ็บบริเวณบ่าไหล่ ศอก และแขน นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารและความตึงที่บริเวณท้องได้ด้วย

ยืนตรงแขนปล่อยสองข้างลำตัว กางแขนออกสองข้าง หงายมือขวาขึ้น พร้อมกับคว่ำมือซ้ายลงและงอเข่าขวาทิ้งน้ำหนักตัวลงขาซ้าย สลับคว่ำมือขวา หงายมือซ้าย งอเข่าซ้ายเหยียดเข่าขวาทิ้งน้ำหนักลงขาขวา ยืดตรงหุบแขนสองข้างมือประสานกันไว้ช่วงออก ยกแขนขวาขึ้นหันฝ่ามือขึ้นฟ้า มือซ้ายคว่ำและเหยียดแขนซ้ายลงพื้น พร้อมทั้งงอเข่าขวาทิ้งน้ำหนักตัวลงขาซ้าย สลับยกแขนซ้ายหงายฝ่ามือขึ้น แขนขวายกลงคว่ำฝ่ามือลงพื้น พร้อมทั้งงอเข่าซ้ายเหยียดเข่าขวาทิ้งน้ำหนังลงขาขวา ลดแขนซ้ายลงข้างลำตัวและเหยียดขาซ้ายตรง กลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ 3 ครั้ง

ท่าเหยี่ยวจ้องมอง (鸱视) กระตุ้นเส้นลมปราณกระเพาะปัสสาวะ ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ และขา และช่วยฝึกในการทรงตัว

ยืนตรงกางขาออกเล็กน้อย ฝ่ามือสองข้างไว้ข้างลำตัว หัวตัวเอียงขวา 45 องศา ยกมือสองข้างขึ้นพร้อมก้าวขาขวาไปด้านหน้า เคลื่อนตัวมาข้างหน้าทิ้งน้ำหนังไว้ที่ขาขวาพร้อมกับชูมือสองข้างขึ้นเหนือศีรษะ เตะขาซ้ายไปด้านหน้าพร้อมับลดมือสองข้างลงให้ฝ่ามือเข้าหาศีรษะพร้อมกับกระดกข้อเท้าขึ้นลง โดยไม่วางเท้าที่พื้น (ถ้ายังทำไม่ได้ให้พักเท้าไว้ที่พื้นได้ละกระดกข้อเท้าขึ้นลง) เตะขาซ้ายกลับไปข้างหลังหนึ่งก้าว พร้อมชูแขนขึ้นและหมุนตัวหน้าหน้าตรง ย่อเข่าลงเล็กน้อยพร้อมกับลดมือลงด้านข้างในท่าเหยียดแขนออก ลดระดับมือลงมาถึงข้างลำตัวพร้อมกับยืดเข่ายืนตัวตรง ทำซ้ำสลับข้าง ข้างละ 2 ครั้ง รวมเป็น 4 ครั้ง

ท่ายืดเหยียดเอว (引腰) กระตุ้นลมปราณไต ช่วยยืดเหยียดกล้ามเนื้อบริเวณเอวและหลัง ช่วยป้องกันไม่ให้ปวดบริเวณหลังส่วนล่างและต้นคอได้

เริ่มจากเอามือประสาทไว้ช่วงเอวและลูบมือไปยังด้านหลัง ประคองเอวไว้ขณะเงยหน้าให้มาสุดเท่าที่ทำไหว จากนั้นจึงก้มตัว แขนสองข้างเหยียดฝ่ามือแบบหันเข้าด้านใน บิดลำตัวไปทางขวายกไหล่ขึ้น และบิดลำตัวด้านซ้ายยกไหล่ขึ้น เหยียดแขนสองข้างหงายฝ่ามือออกด้านนอกให้หลังมือชนกันและลุกขึ้นยืนตรง มือสองข้างอยู่ระดับหน้าอก หันฝ่ามือเข้าหาลำตัววางไว้ที่ตำแหน่งใต้สะดือ ทำซ้ำ 3 ครั้ง

สี่ท่าในการฝึกนี้มีการก้มเงยเยอะ ให้ก้มหรือเงยในองศาที่ทำไหว ไม่ควรก้มหรือเงยหน้ามากจนเกินไปจะทำให้เกิดอาการหน้ามืด เวียนศีรษะได้ หากทำแล้วเกิดอาการหน้ามืดตาลายให้นั่งพักสักครู่ จิบน้ำอุ่น หรือรับประทานอาหารรองท้อง ไม่ควรฝึกเมื่อท้องว่าง

------------------------

บทความโดย
แพทย์จีนธิติ นิลรุ่งรัตนา (หลินเจียเฉิง)
林嘉诚  中医师
TCM. Dr. Thiti Nilrungratana (Lin Jia Cheng)

อ้างอิง

  1.  Ji Hong Tai Chi & Qi Gong:马王堆导引术
  2. https://baike.baidu.com/pic/%E8%B6%B3%E5%A4%AA%E9%98%B3%E8%86%80%E8%83%B1%E7%BB%8F/1225387/1/0df431adcbef76097573992a2fdda3cc7cd99e0e?fr=lemma&fromModule=lemma_top-image&ct=single#aid=1&pic=0df431adcbef76097573992a2fdda3cc7cd99e0e
  3. https://h5.youzan.com/v2/showcase/mpnews?alias=YZJOyCEFP

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้