เฉ่ากั่ว (草果) : ข้อมูลสมุนไพร

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  7531 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เฉ่ากั่ว (草果) : ข้อมูลสมุนไพร

เฉ่ากั่ว (草果) คือ ผลสุกแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amomum tsao–ko Crevost et Lemaire วงศ์ Zingiberaceae

ชื่ออื่น ๆ  
เฉ่ากั่ว (จีนกลาง) เฉาก้วย (จีนแต้จิ๋ว) Caoguo, Tsaoko Fructus

ลักษณะภายนอก

รูปไข่ทรงยาว มี 3 พู มีร่องและสันนูนตามแนวยาว  ส่วนฐานมีก้านผลหรือรอยก้านผล ตรงกลางข้างในมีผนังกั้นแบ่งเมล็ดออกเป็นสามกลุ่ม เมล็ดมีเยื่อหุ้มสีขาวอมเทา  มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสเผ็ด ขมเล็กน้อย


 

 

แหล่งผลิตที่สำคัญ

มณฑลหยุนหนาน กว่างซี กุ้ยโจว

การเตรียมอิ่นเพี่ยน

1.  เฉ่ากั่วเหริน : คั่วเฉ่ากั่วด้วยไฟระดับอ่อน จนมีสีเหลืองไหม้และพองตัว ลอกเปลือกออก เลือกเอาแต่เมล็ด

2. เจียงเฉ่ากั่วเหริน : ผัดเฉ่ากั่วเหรินกับน้ำขิง (ใช้ขิงสด 10 กิโลกรัม ต่อเฉ่ากั่วเหริน 100 กิโลกรัม) ด้วยไฟระดับอ่อน จนแห้ง

ฤทธิ์ของยาตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนจีน
มีรสเผ็ด อุ่น เข้าสู่เส้นลมปราณม้ามและกระเพาะอาหาร

1. เฉ่ากั่วเหริน : มีรสเผ็ดร้อนทำให้มีฤทธิ์ขับความชื้นและความเย็นได้ดี อบอุ่นกระเพาะอาหาร ขับเสมหะ และแก้ไข้มาลาเรีย 

2. เจียงเฉ่ากั่วเหริน : การผัดกับน้ำขิงช่วยลดฤทธิ์ทำให้แห้ง และเสริมฤทธิ์อบอุ่นกระเพาะอาหารและระงับอาเจียน

 

ฤทธิ์ของยาตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
-



ขนาดและวิธีใช้  
ต้มรับประทาน 3-6 กรัม ทุบให้แตกก่อนใช้


* ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้ *
ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่อินพร่องเลือดน้อย


เอกสารนี้เป็นลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาของคลินิกหัวเฉียวแผนแพทย์จีน
ใช้เผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานความรู้แก่ประชาชน
ห้ามคัดลอกในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตทุกกรณี

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้