Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 5831 จำนวนผู้เข้าชม |
ปี้ป๋อ (荜茇) คือ ผลกลุ่มเกือบสุกหรือผลกลุ่มสุกแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Piper longum L. วงศ์ Piperaceae
ชื่ออื่น ๆ Bibo (จีนกลาง) ปิ๊กหวก (จีนแต้จิ๋ว) Indian Long Pepper, Piperis Longui Fructus
ลักษณะภายนอก
ทรงกระบอก โค้งงอเล็กน้อย ผลเล็ก ๆ จำนวนมากรวมกันเป็นพวง ผิวสีน้ำตาลอมดำ หรือสีน้ำตาล นูนขึ้นเล็กน้อยและเรียงตัวเป็นแนวเฉียงอย่างเป็นระเบียบ ส่วนฐานอาจมีก้านผลหลงเหลืออยู่ เนื้อแข็งและเปราะ แตกหักได้ง่าย หน้าตัดไม่เรียบ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสเผ็ดร้อน
แหล่งผลิตที่สำคัญ
มณฑลหยุนหนาน กว่างตง ไห่หนาน และประเทศอินโดนีเซีย (เกาะสุมาตรา) ฟิลิปปินส์ เวียดนาม
การเตรียมอิ่นเพี่ยน
กำจัดสิ่งแปลกปลอม ตากแดดให้แห้ง
ฤทธิ์ของยาตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนจีน
มีรสเผ็ด ร้อน เข้าสู่เส้นลมปราณกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ อบอุ่นจงเจียวช่วยขับกระจายความเย็น ดึงชี่ลงสู่ส่วนล่างระงับปวด แก้ปวดเย็นบริเวณช่องท้อง อาเจียน ท้องเสีย ความเย็นอุดกั้นชี่ติดขัด แน่นหน้าอก ปวดบริเวณหัวใจ ปวดหัว ปวดฟัน
ฤทธิ์ของยาตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
ดีปลี (ผลกลุ่มสุกแห้งของ P. retrofractum Vahl) : เป็นเครื่องยาใกล้เคียงกับปี้ป๋อ มีรสเผ็ดร้อนขม แก้ปถวีธาตุพิการ ขับลมในลำไส้ แก้ท้องร่วง ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ แก้หืด ขับระดู
ขนาดและวิธีใช้ ต้มรับประทาน 1-3 กรัม ทุบให้แตกก่อนใช้
ใช้ภายนอกปริมาณที่เหมาะสม บดเป็นผงแล้วอุดบริเวณที่ฟันผุ
* ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้ *
-
เอกสารนี้เป็นลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาของคลินิกหัวเฉียวแผนแพทย์จีน
ใช้เผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานความรู้แก่ประชาชน
ห้ามคัดลอกในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตทุกกรณี
24 มี.ค. 2566
23 เม.ย 2567
19 ก.พ. 2567