ปวดหลังลงขา รักษา ทุยหนาช่วยได้

Last updated: 6 ก.ย. 2567  |  110 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปวดหลังลงขา รักษา ทุยหนาช่วยได้

          ปัจจุบันคนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่แตกต่างไปจากสมัยก่อน เช่นนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานมากขึ้น นั่งเล่นมือถือนานๆ หรือพนักงานบริษัทที่ต้องนั่งทำงานในท่าเดิมนานๆ รวมไปจนถึงอาชีพอื่นๆ เช่นนักกีฬาที่ออกกำกายที่หักโหม เกษตรกรที่ต้องยกของก้มหลังนานๆ นักเรียนนักศึกษาที่ต้องนั่งเรียนหรือสะพายกระเป๋าหนักเกินความจำเป็น ซึ่งเป็ฯสาเหตุให้หมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท เป็นอาการที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้ที่มีอาการปวดหลังร้าวลงขา เพราะกระดูกสันหลังบริเวณนี้รับน้ำหนักมาก และมีการเคลื่อนไหวค่อนข้างมากกว่ากระดูกสันหลังส่วนอื่นๆ ทำให้หมอนรองกระดูกอาจจะเกิดการแตกปลิ้นออกมาจนกดเบียดเส้นประสาท ให้รีบสังเกตตัวเองด่วนว่าคุณมีอาการเหล่านี้หรือเปล่า ?

วิธีเช็คอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท    
          หมอนรองกระดูกเอวทับเส้นประสาท คือ ภาวะที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลังทำให้ทรุดตัวปลิ้นหมอนรองกระดูกและไปกดเบียดเส้นประสาท ปกติแล้วหมอนรองกระดูกสันหลังมีคุณสมบัติในการยืดหยุ่นเหมือนเจลลี่ มีหน้าที่รองรับแรงกระแทกที่เกิดจากการใช้งานกระดูกสันหลังในเวลาที่เคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเดินหรือกระโดด ภายในมีองค์ประกอบของน้ำเป็นส่วนสำคัญ พอนานวันเข้าเปอร์เซ็นต์ของน้ำในหมอนรองกระดูกสันหลังลดลง ทำให้ความยืดหยุ่นน้อยลง  เมื่อหมอนรองกระดูกปลิ้นออกไปกดทับเส้นประสาทส่วนใดก็จะทำให้เส้นประสาทนั้นๆเกิดการระคายเคืองอักเสบ และมีอาการปวดแสดงออกมาตามแนวของเส้นประสาทนั้นตามมา

สังเกตอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ได้ดังนี้

  • ปวดหลัง ปวดบริเวณเอว เป็นๆ หายๆ
  • ปวดร้าวลงไปถึงขา น่อง หรือเท้า
  • เดินได้ไม่ไกล มีอาการปวดชาลงไปถึงขาเหมือนเป็นตะคริวร่วมด้วย ต้องหยุดพัก แล้วจึงจะเดินต่อไปได้
  • เมื่อนั่งนานๆหรือยืนนาน มักจะมีอาการร้าวหรือชาลงขา
  • ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของขา กระดกข้อเท้าไม่ได้
  • บางรายอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการขับถ่าย

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท 

          สำหรับวิธีการดูแลรักษา เริ่มจากการซักประวัติ ตรวจร่างกายเบื้องต้น การเอกซเรย์กระดูกสันหลังในท่าทางต่างๆ และการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI เพื่อหาสาเหตุและวางแผนแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งในเบื้องต้น ผู้ป่วยที่มีภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสามารถเข้ารับการรักษากับทางแผนกกระดูกและทุยหนา ดังนี้

- ตัวอย่างกรณีการรักษา -
ผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกเอวทับเส้นประสาท รักษาที่คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียวแพทย์สาขานครราชสีมา

ข้อมูลทั่วไป
ชื่อ-นามสกุล  : นายศุภ XXX 
เพศ : ชาย     อายุ : 38 ปี
เลขประจำตัวผู้ป่วย : 0182XX
วันที่รับการรักษา  : 14 มีนาคม 2567

อาการสำคัญ
ปวดบริเวณเอวกระเบนเหน็บและสะโพกทั้ง2ด้าน เป็นๆหายๆ1 ปี อาการรุนแรงขึ้น 1เดือน เดินยืนนั่งนานมีอาการปวดหลังร้าวลงขาซ้าย จนไม่สามารถนั่งได้นานหรือเดินได้ไกล

ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
  • ผู้ป่วยมีกิจกรรมออกกำลังกายด้วยการวิ่งระยะทางไกล ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด ไม่มีอุบัติเหตุ
  • ผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณเอวกระเบนเหน็บสะโพกและต้นขาบนทั้ง2ด้าน ร้าวลงขาด้านซ้าย
  • ผู้ป่วยไม่เคยได้เข้ารับการตรวจรักษา
  • ต่อมาไม่นานผู้ป่วยเริ่มมีอาการปวดร้าวลงมาที่ต้นขาซ้ายและน่องซ้ายด้านหลัง เดิน ยืนและนั่งไม่ได้นานเป็นเวลา1เดือนจึงไปโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษา
  • จากการตรวจ MRI พบว่าเป็น “หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวข้อที่ L5-S1 ทับโคนรากประสาท” แพทย์แนะนำให้เข้ารับการผ่าตัด แต่ผู้ป่วยปฏิเสธการรักษา แพทย์จึงรักษาโดยการให้รับประทานยาแก้ปวดบรรเทาอาการ (รายละเอียดยาไม่ชัดเจน) พร้อมทำกายภาพบำบัดตามสิทธิการรักษา แต่ผู้ป่วยไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ประวัติปัจจุบัน
  • ปวดบริเวณเอวสะโพกและต้นขาทั้ง2ด้าน และปวดร้าวลงมาที่ต้นขาซ้าย และน่องด้านซ้าย
  • เดิน ยืนและนั่งไม่ได้
  • รับประทานอาหารได้ปกติ ปวดมากขณะขับถ่าย ไอจาม นอนหลับไม่ได้เพราะปวดอย่างต่อเนื่องแม้จะทานยาแก้ปวดแล้วก็ตาม

 

ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
ไม่มี

การตรวจร่างกาย

  • มีจุดกดเจ็บที่บริเวณเอวและสะโพกทั้ง2ด้าน  กล้ามเนื้อต้นขาและปลายขาด้านหลังซ้ายมีลดขนาดเล็กลง
  • การเคลื่อนไหวของเอวส่วนล่างทำได้จำกัด เดิน ยืน นั่งไม่สะดวก
  • Straight leg laising test  ให้ผลบวก
  • Bragard test  ให้ผลบวก
  • ลิ้นแดงคล้ำ มีจุดแดง ชีพจรฝืด

การวินิจฉัย ปวดเอว (腰痛) ด้วยวิธีการของแพทย์จีน
ผู้ป่วยอยู่กลุ่มอาการลิ่มเลือดอุดกั้น (血瘀腰痛)
หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวข้อที่ L5-S1 ทับโคนรากประสาท

การรักษา
  1. ฝังเข็ม กระตุ้นไฟฟ้า  โดยเลือกจุดฝังเข็มบริเวณเอว สะโพก ขา และจุดกดเจ็บ
  2. ทุยหนากดจุด  ครอบแก้ว  อบสมุนไพรจีน    

คำแนะนำเพิ่มเติม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ไม่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ ติดต่อกันนานเกิน 1 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการก้มเงย ยกของหนักเป็นประจำ
ยืดกล้ามเนื้อก่อนหลังออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบๆ หลังและหน้าท้องให้แข็งแรง
ฝึกยืดกล้ามเนื้อหลัง เพื่อเป็นการลดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลัง

ผลการรักษา  (progression note)


ผู้ป่วยเข้าการรักษา ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2567 – วันที่ 20 พฤษภาคม 2567 

การประเมินการรักษาครั้งที่ 1  (วันที่18 มีนาคม 2567 )  
อาการปวดเอวสะโพกดีขึ้น สามารถพลิกตัว  ยกสะโพกขึ้นได้ด้วยตัวเอง แต่ผู้ป่วยยังสามารถลุกนั่งและเดินขึ้นได้ แต่ไม่สามารถเดินได้ไกลและยังมีอาการปวดบริเวณสะโพกทั้ง2ด้านอยู่ สามารถนอนหลับได้ดีขึ้น  ลิ้นแดงคล้ำ มีจุดแดง ชีพจรฝืด

การประเมินการรักษาครั้งที่ 2 (วันที่ 25 มีนาคม 2567)
อาการปวดเอวสะโพกดีขึ้น สามารถพลิกตัว ยกสะโพกขึ้นได้ด้วยตัวเอง แต่ยังไม่สามรถนั่งและเดินได้ ไกล

การประเมินการรักษาครั้งที่ 3 (วันที่ 1 เมษายน 2567)
อาการปวดเอวและสะโพกฝั่งทั้ง2ดีขึ้นอย่างชัดเจน อาการปวดและชาขาขวาลดลงจากเดิม สามารถลุกนั่งได้นานขึ้น เดินได้บ้างแต่ไม่ไกล

การประเมินการรักษาครั้งที่ 4 (วันที่ 8 เมษายน 2567)
ปวดเอว ต้นขาด้านหลังปวดและร้าวลงขาลดลง หน้าแข้งยังมีอาการชา เดินและนั่งได้ดีขึ้น

การประเมินการรักษาครั้งที่ 5 (วันที่ 16 เมษายน 2567)
อาการปวดเอวลดลง อาการปวดชาบริเวณต้นขาหายไป เท้าไม่ชา แต่ยังมีอาการชาบริเวณหน้าแข้งและน่องอยู่บ้าง แต่ไม่มาก

การประเมินการรักษาครั้งที่ 6 (วันที่ 22 เมษายน 2567)
ปวดเอวลดลงมาก เดินและนั่งได้ดีขึ้นจนเกิบเป็นปกติ

การประเมินการรักษาครั้งที่ 7 (วันที่ 29 เมษายน 2567)
หลังจากทุยหนาฝังเข็มไปครั้งก่อน อาการปวดเอวและสะโพกหายไป เท้าไม่ชาแล้ว แต่ยังมีอาการปวดบริเวณหน้าแข้งเป็นบางครั้ง ปวดไม่มาก

การประเมินการรักษาครั้งที่ 8 (วันที่ 6 พฤษภาคม 2567)
เนื่องจากผู้ป่วยกลับไปออกกำลังกายด้วยการวิ่งจึงมีอาการปวดหลังและร้าวลงขา2-3วันหลังการออกกำลังกาย แต่สามารถใช้ชีวิตประจำวันเดินยืนนั่งได้ดีขึ้นมาก

การประเมินการรักษาครั้งที่ 9 (วันที่ 20 พฤษภาคม 2567)
หลังจากฝังเข็มทุยหนาไปเป็นจำนวน 9 ครั้ง อาการปวดเอวไม่กำเริบ ขวาไม่มีอาการปวดและชา เท้าไม่ชา ไม่มีอาการปวดช่วงกลางคืน พลิกตัวไม่เจ็บ สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

วิเคราะห์และสรุป
          การรักษาโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทโดยการทุยหนาฝังเข็มให้ผลลัพธ์ที่ดี สามารถบรรเทาอาการปวดได้ โดยการทุยหนาฝังเข็มลงไปตามจุดฝังเข็มเพื่อทะลวงเส้นลมปราณที่อุดกั้น ปรับการไหลเวียนของชี่และเลือดให้คล่องขึ้น เมื่อชี่และเลือดเคลื่อนที่ได้ดีก็ทำให้อาการเจ็บปวดบรรเทาลงนั่นเอง ตามกลไกที่ว่า “เมื่อไหลเวียนดีก็จะไม่ปวด เมื่อไม่ไหลเวียนก็จะปวด” (通则不痛,不通则痛)ช่วยฟื้นฟูอาการชาหรือขาอ่อนแรง ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ต้องการผ่าตัดหรืออาการยังไม่รุนแรงยังสามารถรักษาแบบประคับประคองได้ ทั้งนี้ผลการรักษาขึ้นอยู่กับบุคคล ปัจจัยกระตุ้น และการดูแลตัวเองของคนไข้ด้วย

  ------------------------

บทความโดย

แพทย์จีน ศศิพัชญ์ อิทธิชัยโฆษิตกุล (หมอจีน สุ่ย จิง ซิน)
许精鑫  中医师
TCM.Dr.Sasiphat Aitthichaikhositkun 
แผนกกระดูกและทุยหนา 骨伤推拿科 (Orthopedic and Tuina TCM Department)

คลินิกคลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียวแพทย์สาขานครราชสีมา

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้