การรักษาโรคโดยใช้อารมณ์ของปัญจธาตุ

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  1958 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การรักษาโรคโดยใช้อารมณ์ของปัญจธาตุ

ทฤษฎีปัญจธาตุ(五行学说)ได้แก่ ธาตุไม้ ไฟ ดิน โลหะ น้ำ ในทางการแพทย์แผนจีนถือว่า ปัญจธาตุเป็นองค์ประกอบอยู่ในสิ่งต่าง ๆ ทำให้สิ่งทั้งหลายมีลักษณะ คุณสมบัติ ปฏิกิริยา และรูปร่างต่าง ๆ กันไป รวมทั้งสาเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้น

ทฤษฎีปัญจธาตุนอกจากจะศึกษาลักษณะเด่นของสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติตามธาตุแล้ว ยังสามารถแบ่งลักษณะเด่นของส่วนต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ตามธาตุได้อีกด้วย ดังนี้

การรักษาโรคโดยใช้อารมณ์ของปัญจธาตุ คือการอาศัยหลักปัญจธาตุเพื่อป้องกันการเกิดโรคที่จะกระทำต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายของผู้ป่วย โดยอาศัยความชำนาญและความเข้าใจต่อทฤษฎีปัญจธาตุของแพทย์ ทั้งนี้ประชาชนทั่ว ก็สามารถทำความเข้าใจหลักปัญจธาตุเบื้องต้นเพื่อสร้างความตระหนักรู้ว่า ควรหรือไม่ใช้อารมณ์ใดจนมากเกินไป เพื่อเป็นการป้องกันกันเกิดโรค เบื้องต้น

อารมณ์ต่าง ๆ ส่งผลกับอวัยวะใดบ้าง

  • อารมณ์โกรธจะมีผลไม่ดีต่อตับ
  • อารมณ์ดีใจจะมีผลไม่ดีต่อหัวใจ
  • อารมณ์ครุ่นคิดกังวลจะมีผลไม่ดีต่อม้าม
  • อารมณ์เศร้าจะมีผลไม่ดีต่อปอด
  • อารมณ์กลัวจะมีผลไม่ดีต่อไต

เป็นไปตามลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างปัญจธาตุในแง่อารมณ์

อารมณ์ต่าง ๆ ทำให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง

  • โกรธมากเกินไป ทำให้ ปวดศีรษะ ปวดตา
  • ดีใจมากเกินไป ทำให้ นอนหลับยาก ลิ้นแดง คอแห้ง
  • กังวลมากเกินไป ทำให้ ง่วงซึม อ่อนเพลีย ท้องเสีย ขี้เกียจพูด
  • เศร้ามากเกินไป ทำให้ ปวดเมื่อย หายใจไม่สะดวก อาการแพ้ คัน
  • กลัวมากเกินไป ทำให้ ปัสสาวะไม่ดี ปวดเอว ปวดเข่า ปวดตามข้อ

------------------------

บทความโดย
แพทย์จีนกฤษฎากรณ์ ศรีสาคร (หลี่ หยุน เฟิง)
แผนกกระดูกและทุยหนา

อ้างอิง

  1. 《中医基础理论》十一五
  2.  การดูแลสุขภาพการแพทย์แผนจีนสำหรับประชาชน (กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้