Last updated: 27 ส.ค. 2567 | 1643 จำนวนผู้เข้าชม |
คุณเคยประสบกับปัญหาตื่นเช้ามาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น ปวดศีรษะ ปวดข้อต่อขากรรไกร หรือฟันโยก เนื่องจากการนอนกัดฟันหรือไม่ ถ้าคำตอบ คือ “ใช่” แสดงว่าคุณอาจกำลังประสบกับโรคความผิดปกติจากการหลับอย่างไม่รู้ตัว จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าประชากรโลกกว่าร้อยละ 45 มักพบอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งจากการนอน เช่น นอนละเมอ นอนกรนหรือนอนกัดฟัน ในขณะที่ร้อยละ 35 มีอาการนอนกัดฟัน เมื่อนอนหลับอย่างไม่มีคุณภาพ รู้สึกง่วงและหาวอยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคือ ประสิทธิภาพในการทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงระหว่างวันก็จะลดลง ซึ่งพบว่าการนอนกัดฟันจะพบในช่วงวัยเด็กมากที่สุด ร้อยละ 15-40 ขณะที่ในช่วงวัยผู้ใหญ่จะพบเพียงร้อยละ 8-10
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีอาการนอนกัดฟันจะต้องประสบกับปัญหาโรคผิดปกติจากการนอนหลับ กล่าวคือ การนอนกัดฟันยังสามารถเกิดจากปัจจัยและสาเหตุของการนอนกัดฟัน (Sleep Bruxism) ดังนี้
ซึ่งในทางการแพทย์แผนจีนได้เล็งเห็นถึงอันตรายเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้ามจากการนอนกัดฟัน เพราะปัญหาเล็ก ๆ เช่น การนอนกัดฟันสามารถเป็นสาเหตุของโรคนอนไม่หลับและยังส่งกระทบต่อคนรอบข้างได้ด้วยเช่นกัน โดยอาการนอนกัดฟันมีความเกี่ยวข้องกับเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณจุดบดเคี้ยว และในทางการแพทย์แผนจีนตับมีบทบาทกำกับเส้นเอ็น ไม่ว่าจะเป็นอาการที่เกี่ยวเนื่องจากการนอนกัดฟัน อาการตะคริวหรืออาการเกร็งส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมไปจนถึงปัญหาการกระตุกหรือการชักเกร็ง มักเกิดจากตับอินพร่อง เมื่ออินตับพร่อง ทำให้การหล่อเลี้ยงของน้ำในกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นลดน้อยลง จนทำให้เกิดอาการหด รัด เกร็งของเส้นเอ็น นอกจากสาเหตุอินของตับพร่องแล้วยังมีสาเหตุมาจากอินของไตพร่องได้เช่นกัน เนื่องจากในทฤษฎีการแพทย์แผนจีนใน "ปัญจธาตุ" 五行 หรือ "อู่สิง" ตับจัดอยู่ในธาตุไม้ ไตจัดอยู่ในธาตุน้ำ จากทฤษฎีนี้ธาตุน้ำเป็นต้นกำเนิดของไม้ การทำงานของตับในการแพทย์จีนมีหน้าที่ปรับพลวัตของชี่ (气机 ชี่จี) หมายถึง ทิศทางการไหลเวียนของชี่ในทางขึ้น-ลง เข้า-ออก ถ้าพลวัตของชี่ไม่ติดขัด เลือดลมจะไหลเวียนปกติ อวัยวะภายในและระบบเส้นลมปราณจะอยู่ในภาวะสมดุล ในทางตรงกันข้ามถ้าพลวัตของชี่ไหลเวียนผิดปกติ จะมีผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือดและจินเย่ ชี่ของตับช่วยให้การไหลเวียนของเลือดและของเหลวในร่างกายสะดวก ถ้าชี่ของตับติดขัด การไหลเวียนของเลือดก็จะติดขัด ทำให้เกิดภาวะเลือดคั่งได้เช่นกัน ไตเป็นต้นกำเนิดของชีวิต เป็นรากฐานของอวัยวะภายในและอิน-หยาง มีหน้าที่กักเก็บจิง (精) ไม่ให้จิงชี่ถูกใช้ไปโดยไม่จำเป็น คัมภีร์ซู่เวิ่น ลิ่วเจี๋ยจั้งเซี่ยงลุ่น《素问 。六节藏象论》กล่าวว่า “ไตมีหน้าที่เกี่ยวกับการจำศีล เก็บซ่อนเป็นทุน เป็นที่อยู่ของชี่” ในไตดูแลน้ำ รับสารจิงจากอวัยวะตันทั้ง 5 และอวัยวะกลวงทั้ง 6 มาเก็บซ่อนไว้ ไตจะสะสมให้มีจิงพอเพียงอยู่ตลอด หากหน้าที่ของไตพร่องจะกระทบต่อการเจริญเติบโต ซึ่งตามหลักปัญจธาตุไตอินเป็นต้นกำเนิดของอินตับ ถ้าตับขาดสารจิงของไตจึงทำให้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อไม่มีน้ำมาหล่อเลี้ยงจึงเกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของร่างกาย และการรักษาตามหลักการแพทย์แผนจีนจะเน้นการบำรุงสารน้ำและบำรุงอินตับ ในตำราซางหันลุ่น《伤寒论》มีบันทึกตำรายา 1 ตำรับ ชื่อตำรับเส่าเย่ากานช่าวทาง (芍药甘草汤) โดยมียาเพียง 2 ตัวคือ ไป๋สาว BaiShao และกานช่าว GanCao ซึ่งตำรับยานี้เน้นไปที่การบำรุงสารจำเป็น บำรุงเลือด บำรุงเส้นลมปราณ บำรุงตับลดปวด
ดังนั้นเมื่อตรวจพบอาการนอนกัดฟันตั้งแต่เริ่มต้นเราจึงควรดูแลตัวเองในเบื้องต้นตามหลักการแพทย์แผนจีนได้ดังนี้
------------------------
บทความโดย
แพทย์จีน ศศิพัชญ์ อิทธิชัยโฆษิตกุล (หมอจีน สุ่ย จิง ซิน)
许精鑫 中医师
TCM.Dr.Sasiphat Aitthichaikhositkun
แผนกกระดูกและทุยหนา
14 พ.ย. 2567
14 พ.ย. 2567
14 พ.ย. 2567