Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 1845 จำนวนผู้เข้าชม |
หลายคนเคยมีปัญหากล้ามเนื้อปวดเมื่อยจากออฟฟิศซินโดรมมานาน รักษาอย่างไรก็ไม่ดีขึ้นหรือเป็น ๆ หาย ๆ กำเริบซ้ำนั้น สาเหตุหนึ่งเพราะอวัยวะภายในอ่อนแอ ในทางการแพทย์แผนจีนมีการบันทึกถึงปัญหาที่เกิดกับกล้ามเนื้อ “ภาวะที่ล้าเกินไปห้าด้าน” (五劳) ประกอบด้วย นั่ง เดิน ยืน นอน ดู การนั่งนานมากไป เช่น ทำงานติดต่อนาน นั่งประชุม นั่งเล่น คอม นั่งดูโทรทัศน์ อาชีพขับขี่รถขนส่ง ซึ่งการนั่งนานมีผลทำให้อวัยวะภายในคือ “ม้าม” ถูกทำลาย กล่าวคือการนั่งติดต่อกันเป็นเวลานานไม่มีการลุกขึ้นขยับร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก เส้นเลือดขาดสารอาหารมาหล่อเลี้ยงได้เพียงพอ เนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ เกิดการเสื่อมตัวลง กล้ามเนื้อแข็งเกร็งไม่อ่อนนุ่ม เส้นเอ็นขาดความยืดหยุ่น กระดูกขาดความแข็งแรง การไหลเวียนของเลือดไปหล่อเลี้ยงทั่วทั้งร่างกายไม่ดี ส่งผลให้การทำงานของ “ม้าม” ซึ่งมีหน้าที่หลักคือการส่งกระจายสารอาหารไปทั่วทั้งร่างกายได้น้อยลง เมื่อการส่งกระจายสารอาหารลดลงนานวันเข้าม้ามและร่างกายยิ่งเสื่อมโทรมจนทำให้การไหลเวียนของเลือดและชี่เสียสมดุล เกิดเป็นวัฏจักรของกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมที่เป็น ๆ หาย ๆ ก่อเกิดความรำคาญ บั่นทอนคุณภาพชีวิต สุขภาพจิตและการทำงานอย่างเช่นที่คนส่วนใหญ่พบเจอกันอยู่ในทุกทุกวัน
ม้าม มีหน้าที่ส่งกระจายสารอาหารไปทั่วทั้งร่างกาย เมื่อม้ามอ่อนแอการทำงานลดประสิทธิภาพลง นอกจากทำให้อวัยวะทางโครงสร้างของร่างกายถูกทำลายแล้ว ยังส่งผลให้อวัยวะภายในอื่น ๆ ได้รับผลกระทบตาม จนอาจจะสูญเสียการทำงานที่เป็นปกติได้ เช่น ในการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะ เมื่อม้ามอ่อนแอส่งผลให้เกิดความชื้นเคลื่อนลงสู่เบื้องล่างมากยิ่งขึ้น เวลาปัสสาวะก็จะรู้สึกปัสสาวะได้ไม่เต็มที่ ปัสสาวะขัด ปัสสาวะบ่อย ต้องเร่งรีบไปปัสสาวะ ปวดในขณะปัสสาวะ ยิ่งในเพศชายสามารถส่งผลกระทบถึงต่อมลูกหมากทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังได้ ปัสสาวะได้ไม่สุด ปวดหน่วงในช่องเชิงกราน สมรรถภาพทางเพศลดลง การแข็งตัวขององคชาติมีปัญหา หลั่งเร็ว อารมณ์ทางเพศลดน้อยลง เป็นต้น "มีความเห็นว่าตรงนี้น่าเขียนเป็นอีกบทความเรื่องการนั่งนานทำให้เกิดปัญหาสมรรถภาพในเพศชายเพราะจะทำให้โดดเด่นขึ้น ปนกับออฟฟิศฯ ทำให้ไม่รู้จะเน้นด้านไหน"
การรักษาอาการกล้ามเนื้อปวดเมื่อยออฟฟิศซินโดรมเรื้อรังจากม้ามอ่อนแอ ทำได้โดยการรับประทานยาสมุนไพรจีน กลุ่มบำรุงม้าม เสริมชี่ ขับความชื้น ขับเสมหะ หรือทำร่วมกับการฝังเข็มหรือนวดทุยหนา ทะลวงเส้นลมปราณ (จิงลั่ว) เพิ่มการไหลเวียนเลือด สลายเลือดคั่ง ทะลายชี่ที่ติดขัด เพื่อเสริมให้ม้ามแข็งแรง เพิ่มการไหลเวียนของเลือดและชี่ให้กลับคืนสู่ความสมดุล กล้ามเนื้ออ่อนนุ่มขึ้น เส้นเอ็นยืดหยุ่นมากขึ้น กระดูกแข็งแรง เส้นเลือดส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงทั่วทั้งร่างกายได้มากขึ้น อาการกล้ามเนื้อปวดเมื่อยลดลง ออฟฟิศซินโดรมเรื้อรังก็จะทุเลาลง คุณภาพชีวิต สุขภาพจิตและการทำงานก็จะยิ่งดีขึ้น
สำหรับในคนที่ม้ามอ่อนแอร่วมกับระบบปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์มีปัญหา การรับประทานยากลุ่มบำรุงม้าม เสริมชี่ ขับความชื้นขับเสมหะ ทะลวงเส้นจิงลั่วเพิ่มการไหลเวียนเลือด สลายเลือดคั่ง ทะลายชี่ติดขัด และการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะก็จะดีขึ้น สมรรถภาพทางเพศดีขึ้นเอง
นอกจากการรักษาเบื้องต้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมวิธีการนั่งใหม่ เช่น ทุก 45 นาทีถึง 1 ชั่วโมง ควรลุกขึ้นจากที่นั่งออกไปเดินยืดเส้นยืดสาย ทำการคลายกล้ามเนื้อ ลดแรงกดดันในกล้ามเนื้อต่าง ๆ ทั้งร่างกาย ถ้าไม่สามารถลุกขึ้นออกจากท่านั่งได้ การนั่งออกกำลังกายกล้ามเนื้อในช่องเชิงกราน ด้วยการขมิบกล้ามเนื้อทวารหนัก ก็สามารถเพิ่มการไหลเวียน ลดการติดขัดของเลือดและชี่ในระบบทางเดินปัสสาวะและในระบบสืบพันธุ์ได้อีกด้วย
วิธีการสังเกตง่าย ๆ ด้วยตัวเองว่ามีอาการของม้ามอ่อนแอ คือ ลิ้นอ้วนบวมใหญ่ สีซีดหรือสีคล้ำ มีฝ้าบนลิ้นน้อยมากหรือไม่ก็ฝ้าบนลิ้นหนา ส่วนชีพจรเบาไม่มีแรงร่วมกับชีพจรฝืด ในคนไข้บางรายที่เป็นมานานอาจจะมีอาการอื่นร่วมได้ คือ อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ง่วงนอน เวียนหัว ใจสั่น หายใจไม่ทั่วท้อง มีเสมหะมาก อาการภูมิแพ้เรื้อรัง มีเสียงในหู แน่นท้อง เบื่ออาหาร อุจาระถ่ายเหลวหรือท้องผูกเรื้อรัง เป็นต้น
------------------------
บทความโดย
แพทย์จีน จิตติกร พิมลเศรษฐพันธ์ (หมอจีน พาน จ้าย ติง)
潘在丁 中医师
TCM. Dr. Jittikorn Pimolsettapun (Pan Zai Ding)
แผนกอายุรกรรมบุรุษเวช
2 ม.ค. 2568
26 ก.ย. 2567
2 ม.ค. 2568