Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 2784 จำนวนผู้เข้าชม |
ช่วงฤดูฝนอากาศเย็นชื้น อาจทำให้เกิดอาการปวดตามข้อต่าง ๆ ในร่างกายได้ นอกจากการประคบหรือแช่เท้าในน้ำอุ่นเพื่อขจัดความเย็นชื้นแล้ว ยังสามารถนวดกดจุดตามบริเวณข้อต่าง ๆ ด้วยตนเองเพื่อดูแลสุขภาพและบรรเทาอาการปวด โดย นวด กด คลึง ตามจุดฝังเข็มทุกวัน วันละครั้ง ครั้งละ 30-60 ที
กด 3 จุดลดปวดข้อไหล่
เจียนยฺหวี JianYu 肩髃 เจียน แปลว่า ไหล่ ยฺหวี แปลว่า มุม จุดนี้อยู่บริเวณมุมหัวไหล่ด้านหน้า เมื่อกางแขนขึ้น 90 องศา จุดนี้อยู่ตรงรอยบุ๋มด้านหน้าของไหล่ | |
เจียนเหลียว JianLiao 肩髎 เจียน แปลว่า ไหล่ เหลียว แปลว่า ร่อง จุดนี้อยู่บริเวณมุมหัวไหล่ด้านหลัง เมื่อกางแขนขึ้น 90 องศา จุดนี้อยู่ตรงรอยบุ๋มด้านหลังของไหล่ | |
ปี้เน่า BiNao 臂臑 ปี้ แปลว่า ต้นแขน เน่า แปลว่า กล้ามเนื้อต้นแขน จุดนี้อยู่บริเวณกึ่งกลางกล้ามเนื้อต้นแขน |
กด 3 จุดลดปวดข้อศอก
เส้าไห่ ShaoHai 少海 เส้า แปลว่า อ่อนวัย ไห่ แปลว่า ทะเล อยู่บริเวณปลายด้านในสุดของรอยพับข้อศอก | |
ชวีเจ๋อ QuZe 曲泽 ชวี แปลว่า โค้ง เจ๋อ แปลว่า บึง จุดนี้อยู่บริเวณแอ่งรอยพับข้อศอก | |
ฉื่อเจ๋อ ChiZe 尺泽 ฉื่อ แปลว่า ด้านในแขน เจ๋อ แปลว่า บึง จุดนี้อยู่บริเวณรอยพับข้อศอกตองแอ่งด้านนอกของเอ็นข้อศอก |
กด 3 จุดลดปวดข้อมือ
หยางซี YangXi 阳溪 หยาง แปลว่า หยาง (อิน-หยาง) ซี แปลว่า ลำธาร จุดนี้อยู่บริเวณหลังข้อมือ เมื่อกำมือชูนิ้วโป้งขึ้น จุดนี้อยู่ที่ร่องรอยบุ๋มฝั่งนิ้วโป้ง | |
หยางกู่ YangXi 阳谷 หยาง แปลว่า หยาง (อิน-หยาง) กู่ แปลว่า หุบเขา จุดนี้อยู่บริเวณหลังข้อมือ ร่องข้อมือด้านนอกฝั่งนิ้วก้อย | |
ต้าหลิง DaLing 大陵 ต้า แปลว่า ใหญ่ หลิง แปลว่า เนินดิน จุดนี้อยู่บริเวณกลางเส้นข้อมือด้านใน |
กด 3 จุดลดปวดข้อเข่า
เห้อติ่ง HeDing 鹤顶 อยู่บริเวณเหนือเข่า ตรงรอยบุ๋มกึ่งกลางขอบบนของกระดูกสะบ้า | |
เน่ยซีเอี่ยน NeiXiYan 内膝眼 | |
ตู๋ปี๋ (ไว่ซีเอี่ยน) DuBi (WaiXiYan) 犊鼻 (外膝眼) อยู่บริเวณใต้กระดูกสะบ้าเข่า เมื่องอเข่าจุดนี้อยู่ตรงรอยบุ๋มด้านนอกของขอบเส้นเอ็น |
กด 3 จุดลดปวดข้อเท้า
จงเฟิง ZhongFeng 中封 จง แปลว่า ตรงกลาง เฟิง แปลว่า กองดิน จุดนี้อยู่บริเวณรอยบุ๋มข้อพับเท้าด้านหน้าของตาตุ่มด้านใน | |
เจี่ยซี JieXi 解溪 เจี่ย แปลว่า แยก ซี แปลว่า ลำธาร จุดนี้อยู่บริเวณรอยบุ๋มข้อพับเท้าด้านหน้า | |
ชิวซวี QiuXu 丘墟 ชิว แปลว่า เนินดิน ซวี แปลว่า เนินเขา จุดนี้อยู่บริเวณรอยบุ๋มขอบตาตุ่มด้านนอก |
------------------------
บทความโดย
แพทย์จีน รติกร อุดมไพบูลย์วงศ์ (หมอจีน เวิน เจิน ฮุ่ย)
温珍慧 中医师
TCM. Dr. Ratikon Udompriboonwong (Wen Zhen Hui)
แผนกฝังเข็ม
เอกสารอ้างอิง
ภาพจาก www.xjlz365.com
15 พ.ย. 2567
12 พ.ย. 2567
20 ม.ค. 2568
26 ก.ย. 2567