Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 5240 จำนวนผู้เข้าชม |
ประเทศไทยที่มีอากาศร้อนตลอดทั้งปี แต่แพทย์จีนมักให้คำแนะนำว่าไม่ควรทานอาหารเย็นๆ อย่างเช่นน้ำเย็น น้ำแข็ง หรือไอศกรีม ทางคลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียวจึงมีอาหารคลายร้อนสไตล์แพทย์แผนจีน ที่ไม่เพียงช่วยขจัดไฟ ลดความร้อนในร่างกาย แต่ยังดีต่อสุขภาพมาแนะนำ
1.สาหร่ายคอมบุ
สาหร่ายคอมบุสามารถทำอาหารได้หลากหลายไม่ว่าจะนำมาคลุกน้ำมันงาหรือทำเป็นน้ำซุปก็ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งสรรพคุณของสาหร่ายคอมบุนั้นไม่เพียงแต่ช่วยขับความร้อนในร่างกายได้แล้ว แต่ยังสามารถลดอาการอ่อนเพลียที่เกิดจากเหงื่อออกมากเกินไป นอกจากนี้สารอาหารในสาหร่ายคอมบุยังช่วยลดความดันโลหิตและลดความหนืดของเลือดได้อีกด้วย
ข้อควรระวัง : ผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษไม่ควรรับประทานสาหร่าย หญิงตั้งครรภ์และสตรีที่ให้นมบุตรไม่ควรรับประทานสาหร่ายมากเกินไป
2.แตงกวา
แตงกวานอกจากจะเป็นเครื่องเคียงอาหารไทยหลากหลายชนิด เช่น ข้าวมันไก่ ทอดมัน หรือทานคู่กับน้ำพริกแล้ว ยังสามรถนำมาทำอาหารได้อีกหลากหลายเมนู เช่น แตงกวาผัดไข่ แกงจืดแตงกวา เป็นต้น การทานแตงกวาในช่วงอากาศร้อนๆไม่เพียงแต่ทำให้รู้สึกสดชื่น ขับความร้อนในร่างกายได้แล้ว ยังช่วยเพิ่มความอยากอาหาร และป้องกันอาการท้องผูกได้อีกด้วย
ข้อควรระวัง : ผู้ป่วยที่มีอาการปวดกระเพาะจากกลุ่มอาการม้ามและกระเพาะอาหารเย็นพร่อง และผู้ที่มีอาการท้องเสียเรื้อรังไม่ควรรรับประทานแตงกวา
3.มะเขือเทศ
มะเขือเทศเป็นผลไม้ที่มีตลอดทั้งปี ทานได้ทั้งแบบสด แปรรูป หรือปรุงสุก มะเขือเทศมีฤทธิ์เย็นเล็กน้อย สามารถลดความร้อนในร่างกาย แก้กระหาย บำรุงม้าม สงบตับและบำรุงสายตา
4.หอยกาบ
หอยกาบเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ ทำอาหารได้หลากหลาย เช่น นำไปลวกจิ้ม ผัดน้ำพริกเผา หรือต้มเป็นน้ำซุป ในทางแพทย์แผนจีนหอยกาบมีฤทธิ์ค่อนข้างเย็น มีสรรพคุณในการลดความร้อน บำรุงอิน ขับปัสสาวะ
ข้อควรระวัง : ผู้ป่วยที่ไม่สบายจากลมเย็นกระทบร่างกาย ผู้หญิงในช่วงมีประจำเดือนและหลังคลอดไม่ควรรับประทานหอยกาบ
5.น้ำผึ้ง
ในตำรายาเปิ๋นเฉ่ากังมู่ (本草纲目) มีบันทึกไว้ว่าน้ำผึ้งมีสรรพคุณในการระบายความร้อน ขับพิษ ให้ความชุ่มชื้น บำรุงม้ามและกระเพาะอาหาร เปรียบเสมือนยาอายุวัฒนะทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง สามารถผสมน้ำอุ่นดื่ม หรือนำไปเป็นส่วนประกอบของเครื่องดื่มหรืออาหารอื่นๆได้เช่นเดียวกัน
ข้อควรระวัง : ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสียหรือถ่ายเหลวไม่ควรรับประทาน
ข้อมูลและรูปภาพจาก
สาหร่าย
http://www.zwboshi.com/4747.html
https://www.douguo.com/cookbook/1516113.html
https://sunnews.cc/food/224829.html
หอยกาบ
https://www.epochtimes.com/b5/20/3/10/n11930350.htm
https://www.ytower.com.tw/recipe/iframe-recipe.asp?seq=B02-0451
https://www.xinshipu.com/zuofa/773754