Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 4981 จำนวนผู้เข้าชม |
ป๋าเชี่ย (菝葜) คือ ลำต้นใต้ดินแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Smilax china L. วงศ์ Smilacaceae
ชื่ออื่น ๆ
ป๋าเชีย (จีนกลาง) China Root Greenbier Rhizome, Smilacis Chinae Rhizoma
ลักษณะภายนอก
ชิ้นรูปร่างไม่แน่นอน มีปุ่มปม มีรากแขนงหรือรากฝอยที่หลงเหลือติดอยู่ลักษณะคล้ายหนาม หน้าตัดสีเหลืองอมน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมแดง มีจุดของมัดท่อลำเลียงหรือจุดเงาเล็ก ๆ จำนวนมาก มีกลิ่นอ่อน ๆ ขมเล็กน้อย ฝาด
แหล่งผลิตที่สำคัญ
มณฑลเจ้อเจียง เจียงซู กว่างซี
การเตรียมอิ่นเพี่ยน
กำจัดสิ่งแปลกปลอม ล้างให้สะอาด ทิ้งให้น้ำซึมเข้าเนื้อตัวยา หั่นเป็นแผ่น แล้วทำให้แห้ง
ฤทธิ์ของยาตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนจีน
มีรสหวาน ฝาด ขมเล็กน้อย สุขุม เข้าสู่เส้นลมปราณตับและไต มีฤทธิ์ขับความชื้น ขับลม แก้ปวดตามข้อ แก้พิษ สลายก้อน
ฤทธิ์ของยาตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
ข้าวเย็นเหนือ (ลำต้นใต้ดินแห้งของ S. corbularia Kunth) และ ข้าวเย็นใต้ (ลำต้นใต้ดินแห้งของ S. glabra Roxb.) : เป็นเครื่องยาใกล้เคียงกับป๋าเชี่ย มีรสมันกร่อย หวานเล็กน้อย แก้ประดงคุดทะราด แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ปัสสาวะพิการ ฝีแผลเน่าเปื่อย พุพอง เม็ดผื่นคัน ดับพิษในกระดูก นิยมใช้เป็นยาแก้อักเสบในร่างกาย
ขนาดและวิธีใช้
ต้มรับประทาน 10 - 15 กรัม
* ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้ *
-
เอกสารนี้เป็นลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาของคลินิกหัวเฉียวแผนแพทย์จีน
ใช้เผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานความรู้แก่ประชาชน
ห้ามคัดลอกในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตทุกกรณี
23 เม.ย 2567
19 ก.พ. 2567
24 มี.ค. 2566