Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 5109 จำนวนผู้เข้าชม |
สารส้ม (白矾) คือธาตุวัตถุที่ผ่านกระบวนการของเกลือซัลเฟตของหินสารส้มซึ่งสารประกอบหลักคือ โพแทสเซียมอะลูมิเนียมซัลเฟต (KAl(SO4)2×12H2O)
ชื่ออื่น ๆ
สารส้ม (ไทย) ไป๋ฝาน (จีนกลาง) แปะฮวง (จีนแต้จิ๋ว) Alumen, Alum
ลักษณะภายนอก
ก้อนรูปร่างไม่แน่นอนหรือเป็นเกล็ด ไม่มีสีหรือสีขาวอมเหลืองอ่อน โปร่งใสหรือโปร่งแสง ผิวค่อนข้างเรียบหรือไม่เรียบ มีริ้วรอยตามแนวยาว ละเอียดและหนาแน่น เป็นมันวาวคล้ายกระจก เนื้อแข็ง เปราะ กลิ่นอ่อน ๆ รสเปรี้ยว หวานเล็กน้อยและฝาดมาก
แหล่งผลิตที่สำคัญ
มณฑลเจ้อเจียง อันฮุย ฟูเจี้ยน และซานซี
การเตรียมอิ่นเพี่ยน
1. ไป๋ฝาน : กำจัดสิ่งแปลกปลอม
2. คูฝาน : ใส่ไป๋ฝานในหม้อสะตุ ให้ความร้อนด้วยไฟระดับแรงจนไป๋ฝานหลอม สะตุต่อจนได้ของแข็งสีขาวฟู คล้ายรังผึ้ง ทำให้แห้งสนิท ทิ้งไว้ให้เย็น
ฤทธิ์ของยาตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนจีน
มีรสเปรี้ยวและฝาด เย็นมาก เข้าสู่เส้นลมปราณปอด ม้าม ตับ และลำไส้ใหญ่
1. ไป๋ฝาน : ใช้ภายนอก ขับพิษ ฆ่าพยาธิผิวหนัง ขับความชื้น แก้คัน ใช้รับประทาน ช่วยห้ามเลือด แก้ท้องเสีย ขับเสมหะที่เกิดจากลม
2. คูฝาน : ลดรสเปรี้ยวและคุณสมบัติเย็นมาก เสริมสรรพคุณขับความชื้นได้ดี ช่วยสมานแผล และห้ามเลือด
ขนาดและวิธีใช้
ทุบให้แตกก่อนนำไปใช้ ต้มรับประทาน 0.6-1.5 กรัม
ใช้ภายนอกในปริมาณที่เหมาะสม ละลายน้ำใช้ชะล้าง หรือบดเป็นผงสำหรับทาภายนอก
* ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้ *
-
เอกสารนี้เป็นลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาของคลินิกหัวเฉียวแผนแพทย์จีน
ใช้เผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานความรู้แก่ประชาชน
ห้ามคัดลอกในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตทุกกรณี
23 เม.ย 2567
19 ก.พ. 2567
24 มี.ค. 2566