Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 22095 จำนวนผู้เข้าชม |
ตังกุย (当归) คือ รากแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Angelica sinensis (Oliv.) Diels วงศ์ Apiaceae (Umbelliferae)
ชื่ออื่น ๆ
ตังกุย (จีนกลาง) ตังกุย (จีนแต้จิ๋ว) Chinese Angelica, Angelicae Sinensis Radix
ลักษณะภายนอก
รูปทรงกระบอก ส่วนล่างมีรากแขนง ผิวสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาล มีรอยย่นตามแนวยาว มีช่องอากาศนูนตามแนวขวาง รากส่วนหัว (เรียกว่า กุยโถว) ลักษณะเป็นวงแหวน ส่วนยอดกลมป้าน หรือมีรอยนูนของลำต้นใต้ดิน มีลำต้นและกาบใบหลงเหลือ รากหลัก (เรียกว่า กุยเซิน) ผิวขรุขระ รากแขนง (เรียกว่า กุยเหว่ย) ส่วนบนใหญ่กว่าส่วนล่าง บิดเป็นเกลียว และเห็นรอยของรากฝอย เนื้อยืดหยุ่น หน้าตัดสีขาวอมเหลือง หรือสีน้ำตาลอมเหลืองอ่อน เปลือกรากหนา เว้าเข้าด้านใน และช่องน้ำมันเป็นจุดสีน้ำตาลจำนวนมาก แก่นสีอ่อน วงแคมเบียมสีน้ำตาลอมเหลือง กลิ่นหอมมาก รสหวาน เผ็ด และขมเล็กน้อย
แหล่งผลิตที่สำคัญ
มณฑลกันซู่
การเตรียมอิ่นเพี่ยน
กำจัดสิ่งแปลกปลอม ล้างน้ำให้สะอาด ทิ้งไว้จนน้ำซึมเข้าสู่เนื้อตัวยา หั่นเป็นแผ่นบาง นำไปตากแดดให้แห้งหรือทำให้แห้งที่อุณหภูมิต่ำ
ฤทธิ์ของยาตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนจีน
มีรสหวานและเผ็ด อุ่น เข้าสู่เส้นลมปราณตับ หัวใจ และม้าม บำรุงเลือด ช่วยการไหลเวียนของเลือด ทำให้ประจำเดือนสม่ำเสมอ ระงับปวด ทำให้ลำไส้ชุ่มชื้นและช่วยระบาย
ฤทธิ์ของยาตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนจีน
-
ขนาดและวิธีใช้ ต้มรับประทาน 6-12 กรัม
* ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้ *
-
เอกสารนี้เป็นลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาของคลินิกหัวเฉียวแผนแพทย์จีน
ใช้เผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานความรู้แก่ประชาชน ห้ามคัดลอกในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตทุกกรณี
23 เม.ย 2567
24 มี.ค. 2566
19 ก.พ. 2567