Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 24814 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคย้ำคิดย้ำทำ Obsessive Compulsive Disorder
神经官能症 หรือ OCD
โรคทางระบบประสาทที่มีอาการย้ำคิดย้ำท้ำเป็นอาการหลัก ส่วนใหญ่มักมีปัจจัยด้านจิตใจกระตุ้น
ระยะอาการนำ :ผู้ป่วยร่างกายอ่อนแอ หักโหมจนเกินไป
อุปนิสัย :ระมัดระวังแม้แต่สิ่งเล็กๆน้อยๆ
สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
อาการแสดงทางคลินิก
การรักษาทางคลินิกโดยสังเขป
1. ในทางเวชปฏิบัติ ยืนยันว่าโรคย้ำคิดย้ำทำ จัดเป็นกลุ่มอาการพร่อง
2. ตับพร่องมักขี้กลัว เหมือนมีคนจะมาจับตัวไป อารมณ์ของไตคืออารมณ์กลัว ไตพร่องทำให้หวาดกลัว ไม่สงบ ใช้วิธีบำรุงตับไต เลือดของตับได้รับการหล่อเลี้ยง อินของไตได้รับการบำรุง อาการหวาดกลัวก็จะหายไปเอง
3. อาการย้ำคิด ตับและถุงน้ำดีขาดสมดุล ตับพร่องคิดมากวางแผนเยอะ ถุงน้ำดีพร่องขาดความสามารถในการตัดสินใจ ควรสงบตับบำรุงถุงน้ำดี สงบตับ เพื่อควบคุมการคิดวางแผนเยอะ บำรุงถุงน้ำดี ชี่ของถุงน้ำดีเพียงพอ เพิ่มความสามรถในการตัดสินใจ ฟื้นฟูหน้าที่ของตับและถุงน้ำดีกำจัดอาการย้ำคิด
การรักษาทางคลินิก
อาการย้ำคิด (obsession)
วิธีรักษา - สงบตับบำรุงถุงน้ำดี
หวาดกลัว (phobia)
วิธีรักษา - หล่อเลี้ยงเลือดตับ บำรุงเสินหัวใจ เสริมอินไต
Cr.Photo : http://kanpobliss.com
กลุ่มอาการอัดอั้นของชี่
มีสาเหตุมาจากไม่สบอารมณ์ การกระจายของชี่ติดขัด มีอาการหลักทางคลินิก คือ อารมณอัดอั้น กลัดกลุ้ม อารมณ์แปรปรวน แน่นหน้าอก ปวดแน่นชายโครง หรือโกรธง่าย ร้องไห้ง่าย หรือ รู้สึกมีสิ่งแปลกปลอมติดคอ
ที่มาของกลุ่มอาการในคัมภีร์
1、คัมภีร์เน่ยจิง 《内经》 คิดค้น “ห้าสิ่งอัดอั้น (五郁)”
2、คัมภีร์จิงคุ่ยเหย้าเลว่《金匮要略》ได้บันทึกกลุ่มอาการจ้างเจ้า (脏躁证) และเหม่ยเหอชี่(梅核气) 2 กลุ่มอาการนี้ไว้
3、จูตันซี ได้คิดค้นทฤษฏีหกสิ่งอัดอั้น (六郁学说) และตำรับยารักษาที่เกี่ยวข้อง
4、คัมภีร์อีเสว่เจิ้งจ้วง《医学正传》ใช้ชื่อกลุ่มอาการอัดอั้นของชี่เป็นครั้งแรก
5、คัมภีร์หลินเจิ้งจื่อหนาน《临证指南》ส่งเสริมการรักษาด้วยจิตบำบัด
ขอบเขตโรคของแพทย์แผนปัจจุบัน
พบได้ในโรคประสาทอ่อนเพลียง่าย (neurasthenia) โรคประสาทแบบฮีสทีเรีย (hysteria) วิตกกังวล (anxiety) ในชื่อเรียกโรคของศาสตร์การแพทย์แผนตะวันตก นอกจากนี้ยังพบได้ในกลุ่มอาการวัยทอง และโรคจิตทางอารมณ์ (Reactive psychosis)
สาเหตุโดยรวมของกลุ่มอาการอัดอั้นของชี่ คือ การบาดเจ็บทางอารมณ์ และมีความสัมพันธ์กับสภาพร่างกายในระดับหนึ่ง
อารมณ์ผิดปกติ
1、สิ่งที่วางแผนไตร่ตรองมาไม่ได้ดั่งใจคิด ไม่ได้ในสิ่งที่หวังไว้
2、เศร้าโศกมากเกินไป เครียดกังวลจนป่วยเป็นโรค
3、เครียดหรือโกรธไม่หาย ชี่อัดอั้นกลายเป็นไฟ เครียด
ปัจจัยทางสภาพร่างกาย
1、ร่างกายอ่อนแอ จิตใจหม่นหมอง
2、สภาพร่างกายตับแกร่ง อารมณ์ฉุนเฉียว
3、เทียนกุ่ย (天癸) หมดไป ชงเริ่นไม่สมดุล
กลไกการเกิดโรค
1、ตำแหน่งโรคอยู่ที่ตับเป็นหลัก และเกี่ยวข้องกับหัวใจ ม้ามและไต
2、หลักสำคัญทางพยาธิวิทยาคือชี่ตับติดขัด หน้าที่ในการปรับกระจายอารมณ์สูญเสียไป
3、ปัจจัยทางพยาธิวิทยา ได้แก่ ชี่ เลือด เสมหะ ไฟ ความชื้น อาหาร
4、คุณลักษณะทางพยาธิวิทยาแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แกร่งและพร่อง ระยะแรกมักแกร่ง มีการติดขัดของชี่ เลือด เสมหะ ไฟ ความชื้น อาหารเป็นหลัก นานวันเข้ามักพร่องหรือในพร่องมีแกร่งปะปน ในระยะยาวเป็นไม่หาย สามารถเปลี่ยนเป็นซวีเหลา (虚劳) อ่อนแอเรื้อรัง
หลักสำคัญในการวินิจฉัย
1、อาการหลัก คือ เครียด กังวล ไม่มีชีวิตชีวา แน่นหน้าอกและชายโครง ชอบถอนหายใจ หรือเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ฝันมาก หรือโกรธง่าย ร้องไห้บ่อย หรือมีก้อนติดอยู่ที่ลำคอ มักพบในเพศหญิง วัยรุ่นและวัยกลางคน
2.มีประวัติการเจ็บป่วย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติการเจ็บป่วยเนื่องจากการบาดเจ็บทางอารมณ์ เช่น กังวลเครียด วิตกกังวล เศร้าโศก หวาดกลัว โกรธ โมโห เป็นต้น
3.การตรวจทุกระบบและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการปกติ ไม่มีโรคที่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะภายใน
การวินิจฉัยแยกแยะภาวะอาการ
1、การแยกแยะอาการลูกท้อติดคอ (梅核气) และเจ็บคอ
เนื่องจากอินพร่องเกิดเป็นความร้อน
สิ่งที่เหมือนกัน :ไม่สบายคอ
"อาการลูกท้อติดคอ" มักพบในเพศหญิงวัยรุ่นและวัยกลางคน เนื่องจากอารมณ์อัดอั้นทำให้เกิดโรค รู้สึกเหมือนมีอะไรติดอยู่ที่คอ กลืนไม่เข้า คายไม่ออก แต่ไม่มีอาการเจ็บคอหรือกลืนลำบาก ความหนักเบาของอาการขึ้นอยู่กับอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลง
"เจ็บคอ" ส่วนใหญ่พบในเพศชายวัยรุ่นและวัยกลางคน มักเกิดจากหวัด ดื่มสุรา สูบบุหรี่ติดต่อเป็นเวลานาน หรือ ชอบทานของเผ็ด ในลำคอนอกจากรู้สึกมีสิ่งแปลกปลอม ยังรู้สึกคอแห้ง แสบร้อน คันคอ โดยอาการไม่ได้สัมพันธ์กับอารมณ์ แต่ถ้าทำงานหนัก ไม่ได้พักผ่อน หรือได้รับปัจจัยก่อโรคภายนอก มักทำให้อาการเป็นหนักขึ้น
2、การแยกแยะอาการลูกท้อติดคอและกลืนลำบาก (噎膈)
สิ่งที่เหมือนกัน : อาการเกี่ยวข้องกับการกลืน ลูกท้อติดคอ ลำคอมีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ แต่ทานอาหารไม่ติดคอ ไม่มีอาการกลืนลำบาก
"กลืนลำบาก" มีอาการกลืนลำบากเป็นอาการหลัก มักพบในผู้สูงอายุเพศชาย รู้สึกติดแน่นหลังกระดูกหน้าอก นับวัน ยิ่งกลืนลำบากมากขึ้น ตรวจหลอดอาหารมักพบความผิดปกติ
สิ่งที่เหมือนกัน :จิตใจผิดปกติ
"จ้างจ้าว" มักพบในสตรีวัยรุ่นวัยกลางคนหรือกำลังจะหมดประจำเดือน อาการหลักคือ อารมณ์แปรปรวน กระวนกระวาย ไม่สงบ ถูกยั่วให้โกรธได้ง่าย โกรธง่าย หาวบ่อย เป็นต้น รู้ตัวสามารถควบคุมตัวเองได้
"โรคเตียน" มักพบในวัยรุ่น ทั้งเพศหญิงและชายไม่ต่างกันอย่างชัดเจน อาการหลัก คือ การแสดงอารมณ์เฉยชา เงียบ บื้อทึ่ม พูดจาสับสนหรือบ่นพึมพำกับตัวเอง อยู่นิ่งและอารมณ์ดี เป็นต้น ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
Cr.Photo : https://paolodafloresta.files.wordpress.com
การวินิจฉัยและรักษาตามกลุ่มอาการ
หลักสำคัญในการวินิจฉัย
1、วินิจฉัยให้ชัดเจนว่าอวัยวะใดติดขัด
การเกิดขึ้นของกลุ่มอาการติดขัดหลักๆเกี่ยวข้องกับชี่ตับไม่กระจาย ม้ามทำงานได้ไม่ดี หัวใจขาดการหล่อเลี้ยง ควรอ้างอิงจากอาการทางคลินิกเพื่อวินิจฉัยอาการหนักเบาของอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ กลุ่มอาการติดขัดยึดเอาชี่ติดขัดเป็นพยาธิสภาพหลัก แต่ในทางรักษาควรวินิจฉัยให้ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งติดขัดทั้ง 6 โดยทั่วไป ชี่ติดขัด เลือดติดขัด ไฟติดขัด เกี่ยวข้องกับตับเป็นหลัก อาหารติดขัด ความชื้นติดขัด เสมหะติดขัด เกี่ยวข้องกับม้ามเป็นหลัก แต่กลุ่มอาการพร่องสัมพันธ์กับหัวใจมากที่สุด
2、การวินิจฉัยกลุ่มอาการพร่องแกร่ง
การเปลี่ยนแปลงของโรคใน “สิ่งติดขัดทั้ง6” ได้แก่
ชี่ติดขัด เลือดคั่ง แปรเปลี่ยนเป็นไฟ อาหารตกค้าง ความชื้นติดขัด
เสมหะอุดกั้น ล้วนจัดเป็นแกร่ง กลุ่มอาการที่มีสาเหตุมาจากชี่และเลือด หรือ อินสารจิงของหัวใจ ม้ามและตับพร่อง จัดเป็นพร่อง
หลักการรักษา
ปรับสมดุลชี่ กระจายการติดขัด ปรับสมดุลการไหลเวียนของชี่ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นหลักการพื้นฐานของการรักษา
กลุ่มอาการแกร่ง อันดับแรกปรับสมดุลชี่ คลายเครียดก่อน ในขณะเดียวกันจะพิจารณาว่ามีเลือดคั่ง เสมหะติดขัด ความชื้นติดขัด อาหารตกค้างหรือไม่ เพื่อใช้วิธีเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ลดไฟ ขจัดเสมหะ สลายความชื้น ช่วยย่อยอาหาร ฯลฯ
กลุ่มอาการพร่อง แพทย์จีนพิจารณาจากสภาพของการพร่องที่ต่างกันเพื่อบำรุง อาจจะบำรุงหัวใจสงบเสิน หรือบำรุงหัวใจและม้าม หรือหล่อเลี้ยงตับไต เป็นต้น สำหรับกลุ่มอาการพร่องแกร่งปะปนกัน ควรพิจารณาถึงระดับความหนักเบาของอาการพร่องและแกร่ง ดูแลทั้งแกร่งและพร่อง
กลุ่มอาการติดขัดโดยทั่วไป การดำเนินโรคค่อนข้างเป็นเวลานาน การใช้ยาไม่ควรใช้ยาแรงมาก มิฉะนั้นการที่อยากได้ผลเร็วจะกลับกลายไม่ได้ผล
การรักษาในกลุ่มอาการแกร่ง แพทย์จีนจะระมัดระวังการปรับสมดุลชี่และไม่ทำลายชี่ เพิ่มการไหลเวียนของเลือดแต่ไม่ทำลายเลือด ดับร้อนแต่ไม่ทำร้ายกระเพาะอาหาร ขจัดเสมหะแต่ไม่ทำลายเจิ้ง ทำให้ความชื้นแห้งลงแต่ไม่ทำลายอิน ช่วยย่อยอาหารและไม่ทำลายม้าม
การรักษาในกลุ่มอาการหร่อง ระมัดระวังการบำรุงหัวใจและม้ามและไม่ควรแห้งเกินไป หล่อเลี้ยงตับไตแต่ไม่ควรเหนียวหรือบำรุงเยอะจนเกินไป
Cr.Photo : https://cierracountry.wordpress.com
การรักษาตามกลุ่มอาการ (ภาคยาจีน)
1、ชี่ตับติดขัด
อาการ : เครียด อัดอั้น อารมณ์แปรปรวน แน่นหน้าอก ปวดเสียดชายโครง ตำแหน่งปวดไม่แน่นอน แน่นท้อง เรอ เบื่ออาหาร ขับถ่ายไม่คล่อง ฝ้าลิ้นบางเหนียว ชีพจรตึง (เสียนม่าย)
วิธีรักษา : ปรับกระจายชี่ตับ คลายเครียด ปรับสมดุลชี่ ทำให้จงเจียวทำงานดีขึ้น
2、ชี่ติดขัดกลายเป็นไฟ
อาการ : หงุดหงิด โกรธง่าย เสียดแน่นหน้าอกชายโครง ปากขมแห้ง หรือปวดศีรษะ ตาแดง หูอื้อ หรือเชาจ๋า (嘈杂) เรอเปรี้ยว ท้องผูก ลิ้นแดง ฝ้าลิ้นเหลือง ชีพจรตึงเร็ว (เสียนฮว่า)
วิธีรักษา : ปรับกระจายชี่ตับ คลายเครียด ระบายไฟตับ
3、เสมหะและชี่ติดขัด
อาการ : เครียด อัดอั้น จุกแน่นหน้าอก เสียดแน่นชายโครง ลำคอเหมือนอะไรติดอยู่ กลืนไม่ลง คายไม่ออกหรือไอมีเสมหะ หรืออาเจียนเป็นเสมหะแต่ไม่ไอ หรือมีอาการปวดหน้าอกชายโครงเหมือนโดนทิ่มแทงร่วมด้วย ลิ้นแดงซีด ฝ้าลิ้นขาวเหนียว ชีพจรตึงลื่น (เสียนฮว่า)
วิธีรักษา : เพิ่มการไหลเวียนชี่ คลายเครียด ละลายเสมหะ สลายก้อน
4、หัวใจเสินขาดการหล่อเลี้ยง
อาการ : เหม่อลอย จิตใจไม่สงบ ขี้สงสัย ตกใจง่าย เศร้าซึม ร้องไห้ง่าย ดีใจเสียใจผิดปกติ หรือหาวอยู่บ่อยๆ หรือมือเท้าขยับเหมือนฟ้อนรำ ด่าทอ ตะโกนโหวกเหวก ลิ้นซีด ชีพจรตึง (เสียนม่าย) กลุ่มอาการนี้พบบ่อยในผู้หญิง มักเกิดจากได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจ เรียกว่าจ้างเจ้า (脏躁)
วิธีรักษา : รสหวานชุ่มชื้นบรรเทาอาการให้ทุเลา หล่อเลี้ยงหัวใจสงบเสิน
5、หัวใจและม้ามพร่องทั้งคู่
อาการ : คิดมาก ขี้สงสัย เวียนศีรษะ ใจสั่น ขี้ตกใจ นอนไม่หลับ หลงลืม อ่อนเพลีย ทานได้น้อย สีหน้าไม่มีประกาย ลิ้นซีด ฝ้าลิ้นขาวบาง ชีพจรละเอียดอ่อนแรง (ซี่รั่ว)
วิธีรักษา : เสริมม้ามบำรุงหัวใจ เสริมบำรุงชี่และเลือด
6、อินของหัวใจและไตพร่อง
อาการ : อารมณ์แปรปรวน ใจสั่น ขี้ลืม นอนไม่หลับ ฝันมาก ฝ่ามือฝ่าเท้าร้อนเหงื่อออกตอนกลางคืน ปากคอแห้ง ลิ้นแดงฝ้าน้อย ชีพจรละเอียดเร็ว (ซี่ซู่)
วิธีรักษา : เสริมอินบำรุงเลือด บำรุงหัวใจสงบเสิน
* การใช้ภาคอายุรกรรมยาจีนในส่วนนี้ ควรอยู่ในการควบคุมกำกับดูแล จัดตำรับยาโดยแพทย์จีนที่ได้มาตรฐาน เนื่องจากการใช้ยาจีนในทางการรักษาภาวะกลุ่มอาการนี้ จะมีตำรับการจัด เพิ่ม/ลด ชนิดยา ตามพยาธิสภาพของผู้ป่วยแต่ละราย ไม่ควรหาซื้อยามารับประทานเองโดยไม่ได้ผ่านตรวจวินิจฉัยหรือการประเมินการรักษาจากแพทย์จีนที่เฉพาะทางด้านกลุ่มอาการนี้ *
การรักษาด้วยการฝังเข็มและรมยา
ตำรับพื้นฐาน - ชีเหมิน เน่ยกวน เสินเหมิน ซินซู เหอกู่ ไท่ชง
ชีเหมิน ไท่ชง เป็นการใช้จุดหยวน-มู่ร่วมกัน เพื่อปรับกระจายชี่ตับ คลายเครียด เน่ยกวนเป็นจุดบนเส้นลมปราณเยื่อหุ้มหัวใจ วิถีการไหลเวียนเริ่มจากกลางทรวงอกสามารถปรับสมดุลชี่ ให้โล่งอก สงบหัวใจและอารมณ์ เสินเหมิน ซินซู เป็นการใช้จุดซู-จุดหยวนร่วมกัน เพื่อสงบเสินและอารมณ์ เหอกู่ ไท่ชง เรียกรวมกันว่า "จุดเปิดด่านทั้งสี่" สามารถปรับสมดุลอินหยางชี่และเลือด ปลุกเสินเปิดทวาร
Cr.Photo : http://healthfoodanddrink.com
การลดเพิ่มจุดลมปราณ
กลุ่มอาการชี่ตับติดขัด : เพิ่มจุดจือโกว หยางหลิงเฉวียน เพื่อปรับกระจายตับ คลายเครียด ปรับสมดุลชี่ ให้จงเจียวทำงานได้ดีขึ้น ทุกจุดใช้วิธีระบาย
กลุ่มอาการอัดอั้นของชี่กลายเป็นไฟ : เพิ่มจุดสิงเจียน เน่ยถิง จือโกว เพื่อระบายไฟตับ คลายเครียด ปรับสมดุลกระเพาะอาหาร ทุกจุดใช้วิธีระบาย
กลุ่มอาการเสินหัวใจขาดการหล่อเลี้ยง : เพิ่มจุดทงหลี่ จู๋ซานหลี่ ซานอินเจียว เพื่อเสริมสร้างม้ามและหัวใจ ขยายทรวงอก คลายเครียด ทุกจุดใช้วิธีบำรุง
กลุ่มอาการหัวใจและม้ามพร่องทั้งคู่ : เพิ่มจุดผีซู ซานอินเจียว จู๋ซานหลี่ จงหว่าน เพื่อเสริมม้ามสร้างเลือด บำรุงชี่ สงบหัวใจ ทุกจุดใช้วิธีบำรุงหรือเพิ่มการรมยา
กลุ่มอาการหัวใจและไตอินพร่อง : เพิ่มจุดไท่ซี ไป่หุ้ย เพื่อเสริมอินดับร้อน สงบหัวใจและเสิน โดยจุดไท่ซีและไป่หุ้ยใช้วิธีบำรุง จุดที่เหลือใช้วิธีบำรุงระบายเท่ากัน
กลุ่มอาการเสมหะและชี่ติดขัด : เพิ่มจุดเทียนทู เลี่ยเชวีย เจ้าไห่ เพื่อปรับสมดุลชี่ ละลายเสมหะ ทำให้คอโล่ง ทุกจุดใช้วิธีระบาย
วิธีการรักษาด้วยเข็มหู
ใช้เสินจุดเสินเหมิน หัวใจ ต่อมไร้ท่อ ท้ายทอย จุดสมอง ตับ ม้าม ไต subcortex เลือกใช้ 3-5 จุดต่อครั้ง ใช้วิธีฝังเข็มหรือติดเมล็ดหวังปู้หลิวสิง (เมล็ดผักกาด) ติดวัสดุกดจุดหูทั้งสองข้างสลับกันใช้ ทุกวันกดนวด 2-3 ครั้ง และเปลี่ยนเข็มหรือเมล็ดหวังปู้หลิวสิง ทุกๆ 3-5 วัน
การป้องกันและการดูแล
1、รับมือในแต่ละสถานการณ์ได้อย่างถูกต้อง สร้างทัศนคติที่ดี มองโลกในแง่ดี
2、กรณีหากเป็นผู้ดูแลสมาชิกในครอบครัว คนใกล้ชิดที่อยู่ในภาวะนี้ ให้เลือกกิจกรรมจิตบำบัด ชักจูงผู้ป่วยให้รับมือกับโรคได้อย่างถูกต้อง เพิ่มความมั่นใจแก่ผู้ป่วยว่าสามารถรักษาให้หายได้
3、กำจัดหรือลดปัจจัยก่อโรค เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดโรค
4、ใส่ใจและมีความเข้าใจในภาวะผู้ป่วย ไม่ควรแบ่งแยกหรือหัวเราะผู้ป่วย
ข้อมูลโดย ศาสตราจารย์แพทย์จีน หวัง เว่ย
มหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเทียนจิน
สาธารณรัฐประชาชนจีน
แปลและเรียบเรียงโดย
แพทย์จีนปิยะมาศ เมืองใชย
คลินิกฝังเข็ม หัวเฉียวแพทย์แผนจีน
25 ต.ค. 2567
11 พ.ย. 2567
11 พ.ย. 2567