Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 8641 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคที่พบได้บ่อยในคนวัยทำงาน ซึ่งผู้ป่วยที่มารักษาที่คลินิกหัวเฉียวแพทย์แผนจีนส่วนใหญ่ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มอาการเกี่ยวกับประสาทและอารณ์ เช่น ตกใจง่าย อ่อนไหว เครียด วิงเวียนหัว ปวดหัว ปวดไมเกรน ความดันโลหิตสูง นอนไม่หลับ
2. กลุ่มอาการเกี่ยวกับหู ตา ปาก ลิ้น จมูก ประกอบด้วยอาการน้ำตาไหล ม่านตาอักเสบ สายตาสั้น หูอื้อ หูแว่ว หูหนวก ไซนัส
3. กลุ่มอาการเกี่ยกับกระดูก ประกอบด้วยอาการกระดูกคอเคลื่อน กล้ามเนื้อแผ่นหลังและเส้นเอ็นอักเสบ กระดูกเอวบิดเบี้ยว กล้ามเนื้อรอบเอวอักเสบ
4. กลุ่มอาการเกี่ยวกับอายุรเวช ประกอบด้วย โรคอ้วน โรคระบบเมตาบอลิก อ่อนเปลี้ยเพลียแรง เป็นหวัด ปวดท้อง ปวดประเพาะอาหาร
5. กลุ่มอาการสูตินรีเวช ประกอบด้วยอาการปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนไม่มี มีตกขาวมาก สีและกลิ่นผิดปกติ
ปัจจัยในเรื่องที่เกิดจากอารมณ์ต่างๆในชีวิตประจำวันนั้น สามารถส่งผลให้เกิดโรคหรือกลุ่มอาการต่างๆตามมาในหลายรูปแบบด้วยกัน อาทิ ความเครียด ความกดดันในจิตใจ ความกระวนกระวายใจ ซึมเศร้า ความอ่อนเพลียที่สะสมมานาน มักแสดงออกในอาการไข้ต่ำๆ ปวดในลำคอ ปวดเมื่อยรอบๆคอ แผ่นหลัง บั้นเอว กล้ามเนื้อปวดตึงไม่สบายตัว
อาการเหล่านี้ ในทางการแพทย์แผนจีนอธิบายได้ว่า มีสาเหตุจากความผันผวนด้านอารมณ์ ได้แก่ อารมณ์ทั้ง 7 : อารมณ์ขุ่นมัว โกรธ เศร้า ครุ่นคิด ตื่นเต้น ตระหนก และหวาดกลัว
เมื่อสะสมอารมณ์ต่างๆมากเข้า ก็จะส่งผลให้ระบบเลือดลมในร่างกายผันผวนแปรปรวน ระบบพลังในร่างกายโดยเฉพาะอวัยวะภายใน เช่น หัวใจ ตับ ม้าม ปอด ฯลฯ รวนไม่เป็นขบวนเหมือนรถไฟตกราง ชะงักไปต่อไม่ได้ กระทั่งอวัยวะภายในร่างกายสูญเสียความสมดุล อันนำไปสู่การเจ็บป่วยได้ในที่สุด
ความแปรปรวนทางอารมณ์โดยเฉพาะ "ความเครียด" คือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อระบบพลังภายใน และนำมาซึ่งโรคต่างๆ เช่น อารมณ์โกรธกระทบตับ อารมณ์ดีใจสุดขีดกระทบหัวใจ อารมณ์ครุ่นคิดระทบม้าม อารมณ์ซึมเศร้ากระทบปอด อารมณ์ตื่นตกใจกลัวกระทบไต เป็นต้น
ผลของการหักโหมในชีวิตประจำวันมากจนเกินไปนั้น แบ่งได้ 4 เหตุดังนี้
1. การหักโหมใช้แรงกายมากเกินไป
2. การหักโหมใช้แรงงานสมองมากเกินไป
3. การหักโหมทางเพศสัมพันธ์มากเกินไป
4. การดำเนินชีวิตที่สบายมากเกินไปจนไม่ได้ออกแรงอะไรเลย
การหักโหมใช้แรงกายมากเกินไปจะส่งผลกระทบกระเทือนต่อระบบกำลังภายใน ไม่กระปรี้กระเปร่า ร่างกายผอมแห้ง ส่วนการใช้สมองมากเกินไปจะทำให้สูญเสียของระบบเลือด ระบบหัวใจ บั่นทอนพลังของม้าม ทำให้เกิดการตื่นเต้นตกใจง่าย นอนไม่หลับ ฝันบ่อย มึน อ่อนแรง ท้องอืด อุจจาระเหลว ขณะที่การหักโหมทางเพศสัมพันธ์มากเกินไปจะส่งผลเสียต่อพลังจิงในไต ซึ่งเป็นพลังสุดยอดของชีวิต ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยบั้นเอว วิงเวียนศีรษะ หูอื้อ ตาลาย รู้สึกห่อเหี่ยว สมรรถภาพทางเพศเสื่อมถอย ในเพศชายอวัยวะเพศไม่แข็งตัว เป็นต้น
ในกรณีการใช้ชีวิตที่สบายมากเกินไป โดยไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่ออกแรง ไม่ออกกำลังกาย ไม่มีการยืดเส้นยืดสายนานเกินไป ก็จะส่งผลเสียต่อการทำงานของม้ามและกระเพาะอาหาร เกิดภาวะพร่องของระบบเลือดลม เป็นอุปสรรคของการขับเคลื่อนในระบบเลือดลม และนำไปสู่การเกิดโรคชนิดต่างๆในที่สุด
6 ธ.ค. 2567
9 ธ.ค. 2567
6 ธ.ค. 2567