หูอื้อ หูดับ มีเสียงในหู

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  34132 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หูอื้อ หูดับ มีเสียงในหู

อาการหูอื้อ หูตึง และหูหนวก เป็นความผิดปกติของการได้ยิน มีสาเหตุจากโรคต่างๆ อาการหูอื้อจะมีเสียงความถี่สูงคล้ายเสียงแมลง หรือเสียงความถี่ต่ำคล้ายเสียงเครื่องจักรในหู ส่วนอาการหูหนวก จะสูญเสียการได้ยินอย่างสิ้นเชิง ทั้งสองอาการมีความคล้ายคลึงกันในด้านของสาเหตุ การเกิด และการรักษา

ศาสตร์การแพทย์จีนเรียกกลุ่มอาการนี้ว่า
“เอ่อร์หมิง เอ่อร์หลง (Er Ming, Er Long)”

เป็นอาการผิดปกติของการได้ยิน หูอื้อ คือมีเสียงดังในหู  หูตึงคือความสามารถของการได้ยินลดลงหรือหายไป  หูอื้อและหูตึงอาจเป็นแค่หนึ่งอาการหรือเป็นพร้อมกัน สาเหตุและกลไกของการเกิดโรคคล้ายกัน



สาเหตุและกลไกของการเกิดโรค

หูอื้อและหูตึง  ตำแหน่งพยาธิสภาพอยู่ที่หู อวัยวะสังกัดอยู่ที่ไต เส้นลมปราณสังกัดเส้าหยาง  กลุ่มอาการแบ่งเป็นแกร่งและพร่อง  อาการแรกเป็นมักจะแกร่ง เป็นมานานมักจะพร่อง  พยาธิสภาพอยู่ที่ตับและถุงน้ำดี จัดเป็นกลุ่มอาการแกร่ง พยาธิสภาพอยู่ที่ไต จิงชี่ไม่สามารถขึ้นไปหล่อเลี้ยงที่หูได้มักจัดเป็นกลุ่มอาการพร่อง ในผู้ที่อายุน้อยชี่มาก    อารมณ์โกรธทำาลายตับและถุงน้ำดีหรือเส้นลมปราณเส้าหยางถูกอุดกั้น  กลายเป็นหูตึง    จัดเป็นกลุ่มอาการแกร่ง อายุมากขี้นร่างกายอ่อนแอ ชี่ของไตพร่อง การได้ยินไม่ดี เสียงในหูจะเป็นเสียงต่ำ เป็นกลุ่มอาการพร่อง


การวินิจฉัยโรค


กลุ่มอาการแกร่ง
หูอื้อ หูตึงกระทันหัน  เสียงดังตลอดเวลา เหมือนเสียงจักจันร้องหรือเสียงคลื่น แน่นในหู   ปากแห้ง  หงุดหงิด  หน้าแดง โกรธง่าย  มักมีอาการตาลาย เวียนศีรษะ  อุจจาระแข็ง   ปัสสาวะเหลืองเข้ม  ลิ้นแดง ฝ้าเหลืองบาง  ชีพจรตึงเร็วหรือลื่นเร็ว


กลุ่มอาการพร่อง
ในวัยชราร่างกายอ่อนแอ    หูอื้อเป็นๆหายๆ  เสียงเบาและเสียงต่ำ  การได้ยินค่อยๆลดลง  มักมีอาการเวียนศีรษะ  ตาลาย ปวดเอว  เข่าอ่อน ลิ้นซีด  ชีพจรจมเล็ก


   
สาเหตุการเกิดโรค

1. ลมภายนอกเข้ากระทำ ลมภายนอกจะทำให้เกิดการอุดกั้นของทวารหู

2.ไฟตับและถุงน้ำดีที่มากเกินไป มีทิศทางขึ้นสู่เบื้องบน ทำให้เกิดอุดกั้นของการกระจายชี่ ในเส้นลมปราณเส้าหยาง

3.เสมหะและไฟเกิดจากอารมณ์หรืออาหารการกินทำให้เกิดการสะสมของเสมหะและความร้อน

4.ม้ามและกระเพาะอาหารพร่อง เกิดจากการรับประทานอาหารไม่สุก มัน หวานเกิน รสจัด
ครุ่นคิดมาก

5.สารจำเป็นของไตพร่อง  เกิดจากสุขภาพอ่อนแอแต่กำเนิด ป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ จนไตอ่อนแอ อายุมาก พักผ่อนไม่พอ มีเพศสัมพันธ์มากเกินไป ทำให้จิงชี่ไม่สามารถขึ้นไปหล่อเลี้ยงทวารหูได้



การวินิจฉัยแยกโรคตามกลุ่มอาการ

1. ลมภายนอกเข้ากระทำ

มักเริ่มจากการเป็นหวัดตามด้วยอาการหูอื้อ หูหนวกหรือรู้สึกแน่นตึงในหู ร่วมกับมีอาการปวดศีรษะ กลัวลม มีไข้ ปากแห้ง

ลิ้น    :  แดง ฝ้าขาวบางหรือเหลืองบาง

ชีพจร  :  ลอยเร็ว

2.ไฟตับและถุงน้ำดีที่มากเกินไป

เมื่อมีอาการโกรธจะทำให้อาการทางหูมากขึ้น อาจมีอาการปวดหนักในหู ร่วมกับปวดศีรษะ หน้าแดง ขมในปาก คอแห้ง หงุดหงิด โมโหง่าย ท้องผูก

ลิ้น   :    แดง ฝ้าเหลือง

ชีพจร  : ตึง  เร็ว

3.เสมหะและไฟ 

มีเสียงความถี่สูงในหูคล้ายเสียงจักจั่น การได้ยินลดลง ร่วมกับวิงเวียนศีรษะ ตาลาย แน่น

หน้าอก เสมหะมาก

ลิ้น    :   แดง ฝ้าเหลืองเหนียว

ชีพจร  : ตึง  ลื่น

4.ม้ามและกระเพาะอาหารพร่อง

อาการเสียงดังในหูเป็นพัก ๆ  ดังบ้างค่อยบ้าง ทานอาหารได้น้อย ท้องอืดแน่น มักถ่ายเหลว อาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อตรากตรำ หากได้พักผ่อนอาการจะดีขึ้น  

ลิ้น    :   ซีด ฝ้าบางขาวหรือเหนียวเล็กน้อย

ชีพจร  : เล็ก อ่อน

5.สารจำเป็นของไตพร่อง 

การได้ยินลดลงเรื่อย ๆ จนไม่ได้ยิน อาการหูอื้อจะชัดเจนในเวลากลางคืน ร่วมกับนอนไม่หลับวิงเวียนศีรษะ ปวดเมื่อยเอวและเข่าอ่อนแรง

ลิ้น   :   แดง ฝ้าน้อยหรือไม่มีฝ้า

ชีพจร :  เล็กตึง หรือ เล็ก  อ่อน
 
หลักการรักษา

1.ฝังเข็มกระตุ้นการไหลเวียนเลือด  ทะลวงลั่ว  เปิดทวาร กระตุ้นการไหลเวียนเลือด       บำรุงตับไต

2. กระตุ้นเข็มด้วยไฟฟ้า   

3. การฝังเข็มหู

4. การฝังเข็มศีรษะ เลือกใช้บริเวณ vertigo and hearing areas ทั้งสองข้าง วิธีนี้ใช้สำหรับสาเหตุที่เกิดจาก หูหนวกจากเส้นประสาทหูเสื่อม





 

 


ข้อมูลประกอบบทความ
1. การฝังเข็มรักษาโรคตามกลุ่มอาการ โดย ศาสตราจารย์แพทย์จีน เหยียนลี่

2. การฝังเข็มรมยา เล่ม 2
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ISBN 978-616-11-0277-7
 


 

 

 

 

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้