Last updated: 25 ต.ค. 2567 | 673 จำนวนผู้เข้าชม |
ร่างกายของวัยเด็กมีการเปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นกระดูกและกล้ามเนื้อจึงต้องการแคลเซียมจำนวนมาก หากการบำรุงตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือการบำรุงสารอาหารหลังคลอดไม่เพียงพอ มักจะเสริมแคลเซียมไม่ทัน ทำให้เด็กๆมีรูปร่างผอม กล้ามเนื้อน้อย ดังนั้นการช่วยให้ลูกได้รับแคลเซียมอย่างถูกต้องจึงกลายเป็นหนึ่งในสิ่งที่คุณแม่ควรทำเป็นประจำ คุณแม่สามารถสังเกตการเจริญเติบโตของลูก หากเด็กที่ขาดแคลเซียมทั่วไปมักพบได้จากการพัฒนาของกระดูกที่ช้ากล้ามเนื้อนิ่ม ไม่แข็งแรง การงอกของฟันที่ช้า กระหม่อมปิดช้า การทำงานของภูมิคุ้มกันพร่องลง เป็นต้น เมื่อเด็กๆมีอาการเหล่านี้ คุณแม่สามารถช่วยลูกเพื่อให้กระดูกแข็งแรงได้ เช่น
การบำรุงด้วยอาหาร
การสร้างกระดูกที่แข็งแรงจำเป็นต้องใช้แคลเซียม เนื่องจากแคลเซียมเป็นแร่ธาตุพื้นฐานสำหรับการส่งเสริมการเจริญเติบโตของกระดูกกล้ามเนื้อและฟัน อาหารที่สามารถช่วยเสริมแคลเซียมให้ลูกน้อยได้นั้นพบได้ทั่วไป ได้แก่ นม ชีส กุ้ง ปลา หอย ปู ตับหมู ตับวัว ตับแกะ ถั่ว กะหล่ำปลีม่วง กะหล่ำดอก ผักกาดขาว ปวยเล้ง แครอท เห็ดหูหนู ไข่แดง ถั่วสนเป็นต้น อาหารที่บำรุงแคลเซียมสำหรับเด็กส่วนใหญ่จะเป็นผลิตภัณฑ์จากนมและถั่ว
เมนูอาหารที่แนะนำ
1. ครีมชีสถั่วลันเตา
วัตถุดิบ : ถั่วลันเตา 50 กรัม ชีส 20 กรัม
วิธีการทำ : นำถั่วลันเตาล้างให้สะอาด ใส่ในน้ำเดือดต้มให้สุก ตักในเครื่องปั่น ปั่นให้ละเอียด จากนั้นตั้งหม้อใส่ชีส น้ำสะอาดในปริมาณที่เหมาะสมและถั่วลันเตาปั่นคนให้เข้ากันจนข้นเป็นอันเสร็จ
สรรพคุณ : มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและต้านการอักเสบ เพิ่มความอยากอาหารและเสริมสร้างร่างกายและกระดูก
2. ไข่ตุ๋นกุ้งสับ
วัตถุดิบ : ไข่ไก่ 1 ฟอง กุ้งสด 2 ตัว ซีอิ๊วขาว น้ำมันงา
วิธีการทำ : ตอกไข่ใส่ชามและตีให้เข้ากัน ล้างกุ้งสดให้สะอาด นำกุ้งมาต้มและสับให้ละเอียด ใส่กุ้งลงในชามไข่คนให้เข้ากัน นำไปนึ่งให้สุก หยดซีอิ๊วขาวและน้ำมันงา 2-3 หยดเป็นอันเสร็จ หากเพิ่มเครื่องปรุงรสจะเหมาะสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 9 เดือนขึ้นไป
3. ผัดเต้าหู้อ่อน
วัตถุดิบ : เต้าหู้อ่อน 100 กรัม มันฝรั่ง มะเขือเทศ ฟักเขียวอย่างละ 50 กรัม น้ำมันมะกอกในปริมาณที่เหมาะสม
วิธีการทำ : นำมันฝรั่งปอกเปลือกและล้างหั่นบาง ๆ ใส่ลงในหม้อและต้มให้สุก นำมาบดในละเอียด นำมะเขือเทศล้างให้สะอาดปอกเปลือกและหั่นเป็นชิ้น ๆ นำฟักเขียวมาปอกเปลือกล้างให้สะอาดและหั่นเป็นลูกเต๋า เทน้ำมันมะกอกลงในกระทะ รอจนน้ำมันเดือด ใส่มะเขือเทศลงไปผัดจนมีน้ำออกมา ใส่ฟักเขียวผัดจนนุ่ม ใส่มันฝรั่งบดผัดให้เข้ากันและเติมน้ำลเล็กน้อย หั่นเต้าหู้อ่อนเป็นชิ้น ๆ ลงในไป เปิดไฟอ่อนต้มประมาณ 2 นาที
การนวดทุยหนากดจุด
1. การบํารุงไต
ตำแหน่ง : ปลายนิ้วก้อย
วิธีการนวด : นวดนิ้วก้อยของเด็กด้านใดด้านหนึ่งไม่ว่าจะด้านซ้ายหรือด้านขวา โดยนวดคลึงเบาๆบริเวณปลายนิ้วก้อย หรือผลักดันตรงปลายนิ้วไปตามโคนนนิ้วก้อย กดนวดประมาณ 3-5 นาที
สรรพคุณ : บำรุงไตเพื่อบำรุงสมอง เสริมสร้างกระดูกและระบบภูมิคุ้มกัน
เส้นลมปราณไตในเด็ก
2. กดคลึงจุดจู๋ซานหลี่
ตำแหน่ง : อยู่ใต้กระดูกหัวเข่า 3 ชุ่น ห่างจากกระดูกหน้าแข้ง 1 นิ้วมือ
วิธีการนวด : ใช้นิ้วโป้ง กดคลึงเบาๆ ประมาณ 50-100 ครั้ง
สรรพคุณ : กระตุ้นการไหลเลือดของเลือดและชี่ ช่วยบำรุงให้ม้ามและกระเพาะอาหารทำงานสมดุล
จุดจู๋ซานหลี่
3. กดคลึงจุดหย่งเฉฺวียน
ตำแหน่ง : อยู่ตรงจุดที่บุ๋มที่สุดของฝ่าเท้าเวลางุ้มเท้า
วิธีการนวด : ใช้นิ้วโป้งกดคลึงประมาณ 3 ~ 5 นาที
สรรพคุณ : เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไต กระตุ้นการเจริญเติบโตและบำรุงกระดูกให้แข็งแรง
จุดหย่งเฉฺวียน
------------------------
บทความโดย
แพทย์จีน กัญธิมา วุฒิ (กาน ตี๋ หม่า)
甘迪玛 中医师
TCM. Dr. Kanthima Wutthi (Gan Di Ma)
แผนกกระดูกและทุยหนา 骨伤推拿科 (Orthopedic and Tuina TCM Department)
อ้างอิง
崔庆科,“Part 3 营养按摩日常保健,为宝宝健康奠定基础,”小儿推拿饮食调养孩子健康少生病(中国医药科技出版社,2019),102-104P
15 พ.ย. 2567
12 พ.ย. 2567
26 ก.ย. 2567
20 ม.ค. 2568