ข้อมูลความรู้เพื่อดูแลสุขภาพ

การพายเรือทวนกระแสน้ำหากไม่ออกแรงพายเรือต้านเรือย่อมถูกกระแสน้ำพัดพาล่าถอยไปฉันใด เซลล์สมองที่ไม่ได้ใช้งานก็ย่อมเสื่อมถอยฉันนั้น

การที่หญิงไม่สามารถตั้งครรภ์หลังแต่งงานในระยะ 3 ปีหรือเกินกว่านั้นหรือไม่ตั้งครรภ์อีกหลังจากเคยมีบุตรแล้วหลายปีจัดว่าอยู่ในภาวะมีบุตรยาก

ปวดประจำเดือน เป็นอาการปวดท้องน้อยช่วงก่อน-ระหว่างหรือหลังมีรอบเดือน รบกวนการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน

ชาดอกไม้  เป็นชาที่ผ่านกรรมวิธีแล้ว ชาดอกไม้ที่นิยมดื่มกันมากก็คือ ชาดอกมะลิ ชากุหลาบ ชาดอกเก๊กฮวย และชาหอมหมื่นลี้ 

อาการหลังคลอดที่คุณแม่พบได้บ่อยคือ อาการซึมเศร้า ท้องผูก น้ำนมน้อย น้ำคร่ำไหลไม่หยุด

ปัญหาใหญ่ทั้งในทางสังคมและทางการแพทย์ ผลของแอลกอฮอล์ต่อร่างกายในระยะยาวนั้นรุนแรงโดยเฉพาะกรณีที่ดื่มมากหรือดื่มเป็นเวลานาน

ภาวะกรดไหลย้อน ในศาสตร์การแพทย์แผนจีน เรียกว่า TunSuan มีสาเหตุจากไฟตับลุกโชนและรุนแรงทำให้เกิดการเสียสมดุลระหว่างตับและกระเพาะอาหาร

ตามทฤษฎีแพทย์แผนจีนอธิบายว่า อาการปวดเข่าเกิดเนื่องจากมีการอุดกั้นของพลังลมปราณ การฝังเข็มจะทำให้ลมปราณหมุนเวียนดีขึ้น ช่วยแก้ไขการอุดกั้นของลมปราณ นอกจากนี้ การฝังเข็มยังช่วยปรับสมดุลของร่างกาย

ความอ้วนดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่เมื่อร่างกายเกิดภาวะไม่สมดุลย์ มีการสะสมไขมันมากเกิน เมื่อนั้นความอ้วนก็จะเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาอีกต่อไป

การกระตุ้นเข็มด้วยไฟฟ้าเป็นการป้องกันและรักษาโรคแบบหนึ่ง โดยเมื่อฝังเข็มลงบนจุดจนเกิดการได้ชี่แล้ว จึงใช้สายไฟต่อจากเข็มไปยังเครื่องกระตุ้นกระแสไฟฟ้า แล้วเปิดไฟฟ้าในความถี่และรูปแบบตามข้อบ่งใช้

การที่ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์จนจบกระบวนการได้ตามปกติ ไม่ว่าจะเป็นการที่อวัยวะเพศชายตื่นตัวไม่มากพอที่จะประกอบกิจจนสำเร็จ หรือ แม้กระทั่งไม่สามารถตื่นตัวได้เลย เป็นปัญหาที่สำคัญมากอีกปัญหาหนึ่งของเพศชาย

การฝังเข็มเป็นวิธีการรักษาโรค ฟื้นฟูสุขภาพ สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยการใช้เข็มปักตามตำแหน่งจุดเฉพาะต่าง ๆ ของร่างกาย มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับสมดุลร่างกาย ช่วยปรับให้อวัยวะและระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายกลับทำงานได้เป็นปกติ

เมื่ออัตราการเต้นหรือจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติไป รับรู้ได้ถึงความผิดปกติร่วมกับมีอาการวิตก กระวนกระวาย อาการใจสั่นเล็กๆน้อยๆ อาจเกิดจากการตกใจอย่างฉับพลันหรือใช้กำลังหนักเกินไป หมอจีนมองว่าอาการใจสั่นอย่างรุนแรงมักเกิดจากปัญหาของอวัยวะภายใน 

ในศาสตร์การแพทย์แผนจีน หลักคิดในการรักษาคือ "การระบาย" สาเหตุของอาการปวดเกิดจาก "การติดขัดของการไหลเวียนของชี่หรือลมปราณ" หรือจากการที่ชี่และเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ 

เข็มที่หมอจีนใช้ปักบนร่างกายของคนไข้ หมอใช้เข็มอะไร? เหมือนเข็มฉีดยาไหม?  แล้วเจ็บมากหรือเปล่า? 

ยาจีนมีวิวัฒนาการตั้งแต่ยุคสมัยโบราณ มีการปรับปรุงตำรายา ตรวจสอบตำรา จัดหมวดหมู่ยาใหม่ตามความแรงและสรรพคุณยา โดยได้ริเริ่มจากหลักการที่ว่า ยาต่างกลุ่มอาจใช้รักษาโรคเดียวกันได้ รวมถึงวิธีการเก็บสมุนไพร เช่น ควรเก็บสมุนไพรช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิหรือปลายฤดูใบไม้ร่วง เพราะช่วงเวลาดังกล่าว ดอก ผล กิ่ง และใบ จะโตเต็มที่และสุก

อาการสะสมจากการทำพฤติกรรมซ้ำๆ ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยเรื้อรังแบบ “ออฟฟิศซินโดรม” หรือ “ภาวะหลังค่อม” ซึ่งไม่เป็นผลดีนะครับ ปล่อยเอาไว้นานๆไม่รักษาและไม่ปรับพฤติกรรมก็อาจจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพ

ปวดศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อย เป็นกันได้ในทุกเพศทุกวัย แต่อาการปวดอาจไม่เหมือนกัน เช่น ปวดตุ๊บๆ ปวดแน่นๆ ปวดตื้อๆหัวไม่โล่ง ปวดพอรำคาญ หรือปวดเหมือนมีอะไรมาทิ่มแทง และบางรายอาจจะปวดเหมือนหัวจะระเบิด

การรมยา เป็นวิธีการใช้สมุนไพร “อ้ายเย่ ” มีกลิ่นฉุน จุดติดไฟง่าย เพื่อให้เกิดความร้อนบนจุดหรือตำแหน่งที่แน่นอนบนร่างกาย เป็นการรักษา ป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ

ท่อนำไข่ตันเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของภาวะมีบุตรยาก เพราะเป็นบริเวณที่อสุจิกับไข่ปฏิสนธิกันก่อนที่จะเคลื่อนตัวลงมาฝังตัวที่มดลูก ถ้าท่อนำไข่ตันส่งผลให้อสุจิไม่สามารถไปพบกับไข่ได้ หรือถ้าท่อนำไข่ตีบอสุจิสามารถเล็ดลอดเข้าไปพบและปฏิสนธิกับไข่แต่ไม่สามารถเคลื่อนตัวมาฝังตัวที่มดลูกได้ และเกิดการฝังตัวที่ท่อนำไข่ทำให้เกิดท้องนอกมดลูกจนอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ค่ะ ท่อนำไข่ตันจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการมีบุตร ถ้าผู้ป่วยที่ต้องการมีบุตรแต่งงานมานานไม่ตั้งครรภ์แนะนำตรวจท่อนำไข่ด้วยการฉีดสีเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะมีบุตรยาก

ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนไปพร้อมๆกับแผนปัจจุบันได้ ซึ่งจะช่วยลดผลข้างเคียงจากการผ่าตัด คีโม ฉายรังสี ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกาย อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอีกด้วย  

ทำไมหมอจีนจะต้องแมะที่ข้อมือ คุณหมอฟังชีพจรอะไร? ชีพจรสองข้างเหมือนกันหรือไม่ แมะแล้วบอกได้เลยหรือไม่ว่าเป็นโรคอะไร? น่าเชื่อถือหรือ?

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้