พรพันธ์ เหล่างาม

พรพันธ์ เหล่างาม

ผู้เยี่ยมชม

amonpon39@gmail.com

  โรคอัมพาตครึ่งใบหน้า (8892 อ่าน)

8 ส.ค. 2561 18:29

สวัสดีค่ะ หนูเครียดมากเลยค่ะ อยากขอคำปรึกษาเกี่ยวกับโรคอัมพาตครึ่งใบหน้าค่ะ ตัวหนูเป็นเรื้อรังมาหลายปีทั้งแต่เด็กไม่เคยได้ทำการรักษา พึ่งเริ่มเป็นตอนประมาณม.ต้นค่ะ ตอนยิ้มใบหน้าจะเบี้ยวผิดรูปร่าง แล้วยิ่งยิ้ม หรือหัวเราะ ขยับมากจะยิ่งปวดหน้าซีกที่เป็นเหมือนกล้ามเนื้อมันตึงๆ ล้าๆ ค่ะ



ตอนหนูถ่ายรูปออกมาสังเกตุข้างที่เป็นมันจะผิดปกติตรงที่ว่า มันไม่เบี้ยวตก แต่มุมปากมันพับไปข้างนึงแทน เปลือกตามันบวมหนากว่าอีกข้าง คิ้วจะโก่งกว่าอีกข้างที่ปกติ แล้วหน้าซีกนั้นเหมือนจะบานขยายออกไปจนผิดรูปร่างชัดเจน ตอนอ้าปาก ปากล่างก็ดูบิดเบีเยวเฉไปอีกด้านนึง



*จนหนูเริ่มสับสนว่าข้างไหนกันแน่ที่มีปัญหา



ลองทำบริหารกล้ามเนื้อหน้าตามบนอินเตอร์เน็ตที่มีแนะนำ กลายเป็นว่าปวดตึง เจ็บจี๊ดๆทั้งแถบที่เป็ยอัมพาตตั้งแต่ขมับลงมายัยกรามเลยค่ะ แล้วมีอาการเหมือนร้อนในตลอดเวลาทั้งที่พยายามจิลน้ำทั้งวันด้วยค่ะ



มีภาพประกอบนะคะ



เลยอยากสอบถามว่าจะต้องรักษายังไง มีโอกาสหายไหมคะ

223.24.2.70

พรพันธ์ เหล่างาม

พรพันธ์ เหล่างาม

ผู้เยี่ยมชม

amonpon39@gmail.com

Admin

Admin

ผู้เยี่ยมชม

huachiewbiz@gmail.com

9 ส.ค. 2561 14:32 #1

สวัสดีค่ะ

อัมพาตใบหน้า Facial Paralysis หรือ อัมพาตของเส้นประสาทใบหน้า (Facial nerve paralysis) เรียกอีกอย่างว่า Bell’s palsy
เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทใบหน้าที่อยูภายในบริเวณ stylomastoid foramen จนทำให้เกิดอัมพาตของเส้นประสาทใบหน้าจากพยาธิสภาพของระบบประสาทส่วนปลายขึ้น

สาเหตุและกลไกการเกิดของโรค
สาเหตุที่แท้จริงของโรคยังไม่ชัดเจน แต่มีแนวคิดว่าเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ Neurotropic viruses โดยผู้ปวยมักมีอาการป่วยหลังจากได้รับความเย็น
หรือหลังจากมีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนเส้นประสาทใบหน้าส่วนที่อยูภายในบริเวณ stylomastoid foramen
ติดเชื้อไวรัสอย่างเฉียบพลันจนเกิดอาการบวมน้ำให้เส้นประสาทถูกกด หรืออุดกั้นการไหลเวียนโลหิตในบริเวณดังกล่าวจนทำให้เกิดอัมพาตของเส้นประสาทใบหน้า

ในผู้ป่วยบางรายเกิดจากการอักเสบของ geniculate ganglion อันเนื่องมาจากการติดเชื้อไวรัสชนิด Varicella Zoster
ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคงูสวัด จัดเป็นโรคจากปฎิกริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกันประเภทหนึ่ง

อัมพาตของใบหน้าอันเกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทใบหน้า (เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 facial nerve) ด้วยสาเหตุต่างๆ อาการทางคลินิกจะพบว่า
มีอาการอ่อนกำลังของกล้ามเนื้อบนใบหน้า ทำให้หลับตาได้ไม่แน่นสนิท และมุมปากเบี้ยวเอียงลงปิดปากไม่สนิทแน่น มีอาการเสียการรับรสของปลายลิ้นด้านที่เป็น
และในระยะแรกๆของโรคอาจมีอาการปวดหลังใบหู ในทางการแพทย์แผนจีนถ้ามี deviation of the mouth เรียก Kou Wai(口歪)
หรือ Kou Pi(口僻) ถ้ามี deviation of mouth and eye เรียก Kou Yan Wai Xie口眼歪斜)

พยาธิสภาพของโรค
มีการบวมน้ำของเส้นประสาทใบหน้า (Facial nerve) มีอาการบวม หลุดลอกของปลอกหุ้มประสาท(myelin sheath)
โรคในระยะท้ายมี Axonal้ degeneration อย่างชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นประสาทส่วนที่อยูภายใน stylomastoid่่ foramen และ facial canal

101.108.254.63

Admin

Admin

ผู้เยี่ยมชม

huachiewbiz@gmail.com

Admin

Admin

ผู้เยี่ยมชม

huachiewbiz@gmail.com

9 ส.ค. 2561 14:34 #2

หลักการวินิจฉัยโรค
พบได้ในทุกวัย พบมากในช่วงอายุ 20-40 ปี ผู้ป่วยอายุน้อยที่สุดคือ 14 เดือน อายุมากที่สุดคือ 82 ปี เกิดโรคอย่างเฉียบพลัน มีอาการปากเบี้ยว น้ำลายไหล เวลาพูดมี
เสียงลมลอดออกมาจากปาก ผู้ป่วยบางส่วนมีอาการปวดบริเวณหลังหู ในหู หรือบริเวณ mastoid process ด้านเดียวกับทีมอาการของโรค ตรวจร่างกายพบกล้ามเนือแสดงอารมณ์ของใบหน้าด้านที่เกิดโรคเป็นอัมพาต ร่องที่หน้าผากหายไป ช่องระหว่างเปลือกตาบนและล่าง (Palpebralfissure) กว้างขึ้น ร่องจมูกและร่องแก้มตื้น มุมปากตก หากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิด Varicella Zoster ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคงูสวัด เรียกว่า Ramsay Hunt syndrome พบมีตุ่มน้ำบริเวณรูหูส่วนนอก (external acoustic meatus)และบริเวณเหนือเยื่อหุ้มกระดูก มีอาการอัมพาตของเส้นประสาทใบหน้า ไวต่อการกระตุ้นด้วยเสียง 2 ใน 3 ส่วนของลิ้นนับจากส่วนปลายเสียการรับรสไป ปวดบริเวณหลังหู หรือในหูอย่างรุนแรง ผู้ป่วยบางส่วนมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย

โรคอัมพาตของเส้นประสาทใบหน้านี้ จัดอยู่ใน โรค“เมี่ยนทาน 面瘫/อัมพาตของใบหน้า” ในวิชาแพทย์แผนจีน เรียกโดยทั่วไปว่า "ตาเขปากเบี้ยว "

สาเหตุและกลไกการเกิดโรคทางการแพทย์จีน
เกิดจากเส้นเลือดและเส้นลมปราณพร่อง ทำให้เสียชี่ประเภทลมเย็นและลมร้อนสามารถเข้าโจมตีเส้นเอ็นบริเวณใบหน้าได้ จนชี่และเลือดไหลเวียนติดขัด กล้ามเนื้อหย่อนคล้อยไม่หดตัวเกิดเป็นอัมพาตของใบหน้าขึ้น

การวินิจฉัยกลุ่มอาการของโรค
1. ลมภายนอกกระทำต่อเส้นหยางหมิงและเส้าหยาง ทำให้มีการอุดตันของชี่ในเส้นจิงลั่ว จึงไม่สามารถหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ผู้ป่วยจะมีอาการปากเบี้ยวปิดปากไม่แน่น ปิดตาไม่แน่น เกิดทันที มีไข้ กลัวหนาว

ลิ้น : เล็กฝ้าขาว
ชีพจร : ลอย (Fou Mai 浮脉)

หลักการรักษา
ฝังเข็มเพื่อที่จุดฝังเข็มและการกระตุ้น ระบายลมและขจัดการอุดตันจากเส้นลมปราณลั่ว
กระตุ้นเส้นลั่วที่ใบหน้า มีความสำคัญในการรักษาโรคของหน้าและศีรษะ ช่วยระบายลม ทุเลา exterior syndrome ทำให้ชี่และเลือดบนใบหน้าหมุนเวียนดีขึ้น

จุดเสริม

- เป็นไข้กลัวหนาว

- ปิดตาไม่สนิท น้ำตาไหล

- ปวดหลังหู

- ลิ้นรับรสไม่ได้

หมายเหตุ

- การกระตุ้นเข็มในระยะแรกของโรค แพทย์จีนที่ทำการรักษา จะต้องทำด้วยความนุ่มนวล


2. ชี่และเลือดไม่เพียงพอทำให้เกิดลมภายใน พบในคนที่เป็นโรคมานาน ปาก/ตาเบี้ยว ใบหน้าเกร็ง (Facial spasm) และชา ปิดตาไม่สนิท

ลิ้น : ซีด ฝ้าขาวบาง

ชีพจร : ตึง เล็ก (Xian Xi Mai 弦细脉.)

หลักการรักษา
ฝังเข็มที่จุดบำรุงเลือด สงบลม ปักเข็มด้านเดียวกับโรคช่วย activate qi และเลือดให้หมุนเวียนบริเวณที่เป็นโรค บำรุงกล้ามเนื้อและลดอาการเกร็ง สงบลมลดอาการเกร็งกล้ามเนื้อ บำรุง Middejiao ช่วยการสร้างเลือด เปิด 4 ด่าน เพื่อสงบตับ สงบจิตใจ

จุดเสริม
- อาการไม่สบายในทรวงอกหรือคลื่นไส้

- ปิดตาลำบาก

- ปากเบี้ยวดื้อต่อการรักษา


เทคนิคการรักษา โดยแพทย์จีนเฉพาะทางด้านโรคประสาทและสมอง
รักษาด้วยการฝังเข็มด้วยเทคนิคเฉพาะทางการปักและกระตุ้นเข็มร่วมกับการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า แพทย์จีนจะเลือกใช้คลื่น discontinuous wave นาน 5-10 นาที


นัยยะของตำรับการฝังเข็มรักษาอาการนี้
ทะลวงเส้นลมปราณหยางหมิงและไท่หยางให้ไหลเวียนได้สะดวก ขับลมขจัดความเย็นดับร้อน ปรับสมดุลชี่และเลือด ทำให้เส้นเอ็นและกล้ามเนือชุมชืนและอบอุ่น อาการอัมพาตของใบหน้าก็จะหายได้เอง

การประเมินและพยากรณ์โรค
- ประมาณ 80% ของผู้ปวยอัมพาตของเส้นประสาทใบหน้าจะเริ่มมีอาการดีขี้น
ใน 1-2 สัปดาห์ โดยทั่วไปจะต้องใช้เวลา 3-4 สัปดาห์ในการรักษาให้หายกลับคืนเป็นปกติ

- ประมาณ 16% ของผู้ป่วยต้องใช้เวลาในการรักษา 3-8 เดือน อาการจะหาย
เพียงบางส่วน และมักมีอาการกล้ามเนือหน้าส่วนทีเ่ ป็นอัมพาตลีบฝ่อ หลับตาแล้วมุมปากขยับ (facial synkinesis)

- ประมาณ 3-4% ของผู้ป่วยเป็นอัมพาตโดยสมบูรณ์การใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อประเมินและพยากรณ์โรค:

เริ่มใช้เครืองกระตุ้นไฟฟ้าหลังจากเป็นโรคนานเกิน 1 สัปดาห์แล้ว กระตุ้นในระดับความแรงที่ผู้ป่วยสามารถทนได้ หากกล้ามเนื้อทุกกลุ่มมีการหดตัวขณะกระตุ้นแสดงว่ามี
กำลังกล้ามเนื้อ (muscle power) อยู่ในระดับ 3 พยากรณ์ได้ว่าผู้ป่วยจะหายเป็นปกติ

ภายใน 1-2 เดือน หากกำลังกล้ามเนื้ออยู่ในระดับ 2 กล้ามเนื้อที่เป็นอัมพาตจะฟื้นคืนเป็นปกติ 50-80% ภายใน 3-6 เดือน โดยจะมีอาการลีบฝ่อของกล้ามเนื้อหน้าส่วนที่เป็นอัมพาต และมีอาการหลับตาแล้วมุมปากขยับ (facial synkinesis) ร่วมด้วย

หากกำลังกล้ามเนื้ออยู่แค่ในระดับ 1 พยากรณ์ได้ว่าผู้ป่วยต้องใช้เวลา 6 เดือนถึง 1 ปี โดยจะฟื้นคืนได้เพียง 30-50% เท่านั้น นอกเหนือจากอาการลีบฝ่อของกล้ามเนื้อใบหน้าและอาการหลับตาแล้วมุมปากขยับแล้วยังพบอาการใบหน้าเบี้ยวกลับข้างได้อีกด้วย

101.108.254.63

Admin

Admin

ผู้เยี่ยมชม

huachiewbiz@gmail.com

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้