Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 1040 จำนวนผู้เข้าชม |
อาการอ่อนเพลียเป็นหนึ่งในอาการที่พบได้หลากหลายช่วงวัย มักพบในผู้ป่วยที่ทำงานหนัก นอนไม่หลับ มีโรคประจำตัวบางชนิดหรือผลข้างเคียงจากอาการป่วยบางอย่างเป็นต้น หากมีอาการอ่อนเพลียติดต่อกันเกินระยะเวลา 3 เดือน ควรรีบเข้ารับการรักษา
วิธีการนวดทุยหนาแบบหย่างเซิงเพื่อช่วยให้อาการอ่อนเพลียดีขึ้นทำได้ง่ายๆ 10 วิธีดังต่อไปนี้
1) ถูฝ่ามือจนร้อน (热搓手): ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างถูไปมาจนเกิดความร้อน หลังจากนั้นให้ถูบริเวณหลังมือร่วมด้วย สามารถออกแรงถูหนักและเร็วเพื่อให้เกิดความร้อนเพียงพอ ประมาน 3 นาที
2) กำปั้นคลึงกลางหน้าอก(拳揉膻中): ให้ผู้ป่วยกำมือข้างขวา จากนั้นให้กำปั้นมือขวาฝั่งนิ้วโป้งถึงนิ้วก้อยแนบไปบริเวณจุดถันจง(CV17 膻中)คลึงจนรู้สึกหน่วงๆประมาน 2 นาที
3) คลึงท้อง(揉腹): ใช้กำปั้นมือขวาคลึงบริเวณสะดือและรอบๆสะดือ 8-12 ครั้ง
4) นวดบริเวณตำแหน่งของไต(按摩肾区): ไตอยู่บริเวณด้านหลังข้างแนวกระดูกสันหลังทั้งสองข้าง ระดับเดียวกับสะดือ สามารถใช้ฝ่ามือทั้งสองคลึงประมาน 8-12 ครั้ง
5) ฝ่ามือดันจุดมิ่งเหมิน(掌推命门) : ใช้หลังมือหรือฝ่ามือข้างขวาดันบริเวณจุดมิ่งเหมิน(GV4 命门)8-12 ครั้ง จนรู้สึกเกิดความอุ่นเล็กน้อย
6) กดคลึงจุดไท่ซี ไท่ชง ซานอินเจียวและเคาะจุดจู๋ซานหลี่(按揉太溪,太冲,三阴交,叩击足三里): ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งชันเข่าทั้งสองข้าง จากนั้นใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางกดคลึงจุดไท่ซี(KI3 太溪),จุดไท่ชง(LR3 太冲)และจุดซานอินเจียว(SP6 三阴交)จนรู้สึกหน่วงๆประมาน 1 นาที จากนั้นกำมือทั้งสองข้างเป็นกำปั้นแล้วใช้สันมือฝั่งนิ้วก้อยเคาะบริเวณจุดจู๋ซานหลี่(ST36 足三里)จนรู้สึกหน่วงๆประมาน 1 นาที
7) คลึงถูกลางฝ่าเท้า(揉搓足心,叩击足底): ให้ผู้ป่วยนั่งอยู่ในท่าขัดสมาธิ จากนั้นใช้สันมือกดคลึงกลางฝ่าเท้าบริเวณจุดหย่งเฉฺวียน(KI1 涌泉)และใช้สันมือถูบริเวณกลางฝ่าเท้าจนรู้สึกอุ่นเล็กน้อย จากนั้นใช้กำปั้นเคาะไปบริเวณส้นเท้าประมาน 2 นาที หากเคาะเท้าซ้ายให้ใช้มือขวา เคาะเท้าขวาให้ใช้มือซ้าย
8) เคาะต้นขาและน่องด้านใน(叩击大腿及小腿内侧): ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งงอเข่าหรือขัดสมาธิ จากนั้นใช้กำปั้นเคาะไปบริเวณต้นขาและน่องด้านในไปกลับ จนรู้สึกอุ่นๆเล็กน้อยประมาน 8-12 ครั้ง
9) ตีหรือเคาะแขนด้านในและด้านนอก(拍打,叩击上肢内侧与外侧): ใช้ฝ่ามือตีหรือกำปั้นเคาะไปบริเวณแขนด้านในและด้านนอกไปกลับ 8-12 ครั้ง
10) เคาะหรือตีทุบบริเวณสะโพกจนถึงต้นขาและน่องด้านนอก (叩击,拍打臀部及大腿与小腿外侧): ใช้กำปั้นเคาะหรือฝ่ามือตีบริเวณสะโพกจนถึงต้นขาและน่องด้านนอกทั้งสองข้าง ตั้งแต่ด้านบนลงล่างไปกลับ 8-12 ครั้ง หลังจากทำเสร็จแล้วจะรู้สึกเหงื่อซึมเล็กน้อย
หากอาการอ่อนเพลียค่อนข้างรุนแรง อาจมีการรับประทานยา 补中益气丸 ร่วมด้วย ปริมาน 6 กรัม/ครั้ง 3ครั้ง/วัน ติดต่อกันประมาน 30 วัน โดยการรักษาด้วยวิธีการแพทย์แผนจีนจะเน้นในการปรับสมดุลของร่างกายเป็นหลัก เมื่อเลือดลมลมดุล 气血调和 อินหยางสมดุล 阴平阳秘 ก็ยากต่อการเกิดโรค
ภาคผนวก
1) จุดจู๋ซานหลี่(ST36 足三里)
ตำแหน่ง : ใต้กึ่งกลางเข่าชิดขอบนอกของกระดูก patella ลงมา 3 ชุ่น (หรือใต้รอยบุ๋มนอกของเข่าเมื่องอเข่า 90 องศา) ในแนวห่างจากขอบกระดูก tibia 1 นิ้วกลาง
2) จุดซานอินเจียว(SP6 三阴交)
ตำแหน่ง : เหนือยอดตาตุ่มด้านใน 3 ชุ่น ชิดขอบด้านหลังของกระดูก tibia
3) จุดหย่งเฉฺวียน(KI1 涌泉)
ตำแหน่ง : เหยียดเท้าลงให้นิ้วเท้าทั้งห้างุ้มเข้าหาฝ่าเท้า ฝ่าเท้าจะปรากฎรอยบุ๋มที่จุดหย่งเฉฺวียน จุดที่อยู่รอยต่อระหว่างด้านหน้า 1/3 กับด้านหลัง 2/3 ของแนวยาวของฝ่าเท้า ระหว่างกระดูก metatarsal ที่ 2 และ 3
4) จุดไท่ซี(KI3 太溪)
ตำแหน่ง : อยู่ด้านในข้อเท้า ในร่องระหว่างขอบหลังของตาตุ่มในกับขอบหน้าของเอ็น achilles
5) จุดไท่ชง(LR3 太冲)
ตำแหน่ง : อยู่หลังเท้าตรงรอยบุ๋มด้านในสุดระหว่างกระดูก metatarsal ที่ 1 และ 2
6) จุดถันจง(CV17 膻中)
ตำแหน่ง : อยู่ที่หน้าอกกึ่งกลางระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง ตรงกับช่องระหว่างกระดูกซี่โครงที่ 4
7) จุดมิ่งเหมิน(GV4 命门)
ตำแหน่ง : ตรงช่องใต้ spinous process ของกระดูกสันหลังส่วนเอวที่ 2 ตรงกับสะดือ
อ้างอิง
1) World Lastest Medicine Information (Electronic Version) 2019 Vol.19 No.86,中医中药,自我养生保健推拿在疲劳型亚健康状态调治中的应用效果观察
2) การฝังเข็ม – รมยา เล่ม 1 กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2551
------------------------
บทความโดย
แพทย์จีนธนภรณ์ ธนศรีวนิชชัย (หมอจีน หลิว ฉาย เผิง)
刘财蓬 中医师
TCM. Dr. Tanaporn Tanasrivanichchai (Liu Cai Peng)
แผนกกระดูกและทุยหนา
14 พ.ย. 2567
14 พ.ย. 2567
14 พ.ย. 2567