Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 1716 จำนวนผู้เข้าชม |
หญิงให้นมบุตรต้องการสารอาหารต่างๆมากขึ้น เช่นเดียวกับหญิงตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังต้องการพลังงานในการสร้างและหลั่งน้ำนมด้วย ปริมาณน้ำนมจะสามารถสร้างเพิ่มมากขึ้นหลังจากคลอดทารก 1-2 สัปดาห์และสูงสุดเมื่อทารกอายุได้ 6 เดือน ต่อมาจะเริ่มลดลงเรื่อย ๆตามธรรมชาติ แต่ยังสามารถสร้างและหลั่งได้ หากยังมีการกระตุ้นอย่างสม่ำเสมอ ในระยะ 6 เดือนแรก ทารกจะได้รับนมแม่เป็นอาหารหลัก ดังนั้นในระยะนี้แม่จึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารให้เพียงพอ เพื่อใช้ในการผลิตน้ำนม การได้รับการบำรุงจะทำให้มีพลังงานเพียงพอที่จะผลิตน้ำนม และเสริมสร้างสุขภาพของแม่ให้สมบูรณ์
สารอาหารที่ต้องการระหว่างให้นมบุตร ควรได้รับอาหารเพิ่มมากขึ้นจากจำนวนปกติประจำวันอีก 500 แคลอรี่ ซึ่งมีโปรตีนร้อยละ 10 – 15 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 55 – 60 และไขมันร้อยละ 30 ในหนึ่งวัน อาหารที่ควรเพิ่มขึ้นคือ ควรจะเน้นอาหารจำพวกนม เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ไข่ เนื้อหมู ผักและผลไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อไก่ ในตำราเสินหนงเปิ่นเฉ่าจิง《神农本草经》บันทึกว่า เนื้อไก่มีสรรพคุณอุ่นกระเพาะอาหาร บำรุงม้าม บำรุงชี่ รักษาภาวะอ่อนเพลียจากการเจ็บป่วย ภาวะน้ำนมน้อย เบื่ออาหาร
ทฤษฎีการแพทย์แผนจีน ช่วงให้นมบุตรเป็นช่วงที่ต้องใช้เลือดและชี่ในร่างกายอย่างมาก ซึ่งเกี่ยวข้องกับอวัยวะม้าม ที่ทำหน้าที่ในการสร้างเลือด อวัยวะตับกักเก็บเลือด เส้นลมปราณตับวิ่งผ่านบริเวณหัวนม เส้นลมปราณกระเพาะอาหารผ่านทรวงอกเต้านม “เลือดในอกผสม หลั่งเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน”ทฤษฎีการแพทย์แผนจีนกล่าวว่า “乳为血化”หรือ น้ำนมแปรสภาพมาจากเลือด การคลอดบุตรต้องสูญเสียเลือดและชี่เป็นอย่างมาก ในระยะเวลาอันสั้น หากร่างกายของมารดาไม่สมบูรณ์ ย่อมส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของน้ำนม ซึ่งการแพทย์แผนจีนสามารถส่งเสริมให้คุณภาพน้ำนมและคุณภาพของร่างกายแม่สมบูรณ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการฝังเข็มปรับสมดุลฟื้นฟูร่างกาย หรือการทานยาจีนบำรุง รวมถึงกรณีคัดนมจากเต้านมอักเสบ ท่อน้ำนมอุดตันก็สามารถแก้ไขได้เช่นกัน อนึ่ง การใช้สมุนไพรจีนกับแม่ย่อมส่งผลไปถึงลูก จึงต้องพิจารณาให้รอบคอบ
เรื่องที่ต้องคำนึงคือความสมดุลของชี่ตับกับกระเพาะอาหารต้องไหลเวียนดี ตามทฤษฎีแพทย์จีนที่กล่าวว่า หากไหลเวียนติดขัดจะทำให้เกิดความเจ็บปวด “不通则痛” หญิงหลังคลอดจะประสบปัญหาภาวะอารมณ์ไม่เสถียร เครียดง่าย เกิดปัญหาเต้านมอักเสบ เจ็บคัดเต้านม ร่างกายอ่อนล้าสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือได้รับอาหารไม่เพียงพอ นานวันเข้า ก็ทำให้เกิด“不荣则痛”หรือความเจ็บปวดที่เกิดจากชี่และเลือดมาหล่อเลี้ยงร่างกายไม่พออ่อนแอ เพราะฉะนั้นการดูแลหญิงหลังคลอดก็สำคัญไม่แพ้กัน หากได้รับการบำรุงหล่อเลี้ยงอย่างดี จะเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการให้นมบุตร และลดโอกาสการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตรได้ การเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ ไม่ใช่สัญชาตญาณ แต่คือ ทักษะที่ต้องได้รับการฝึกฝน หากร่างกายไม่พร้อมย่อมสูญเสียโอกาส
เมนูอาหารที่แนะนำในหญิงให้นมบุตร
ปริมาณพลังงานและโปรตีนที่ควรได้รับประจำวัน
ปริมาณวิตามินที่แนะนำสำหรับแต่ละบุคคล
ปริมาณวิตามินที่แนะนำสำหรับแต่ละบุคคล
ปริมาณวิตามินที่แนะนำสำหรับแต่ละบุคคล
ปริมาณวิตามินที่แนะนำสำหรับแต่ละบุคคล
------------------------
บทความโดย
แพทย์จีน กนิษฐา ใจเย็น แสงสกุล (หมอจีน จาง เยว่ ฟาง)
张月芳 中医师
TCM. Dr. Kanittha Jaiyen Saengsakul ( Zhang Yue Fang)
แผนกฝังเข็ม
11 พ.ย. 2567
14 พ.ย. 2567
11 พ.ย. 2567