ฝ้ากับการรักษาด้วยแพทย์แผนจีน

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  3094 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ฝ้ากับการรักษาด้วยแพทย์แผนจีน

ฝ้า คือ เซลล์ผิวสร้างเม็ดสีใต้ผิวหนังทำงานเยอะขึ้น จึงมีเม็ดสีหรือเมลานินมากขึ้น ทำให้เกิดเป็นปื้นสีเข้มบริเวณผิวหนังเรียกว่า “ฝ้า” ซึ่งฝ้ามีลักษณะเป็นปื้นสีเข้มกว่าผิว เฉดสีไล่ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงสีน้ำตาลเข้ม หรือดำ มักพบฝ้าบริเวณที่ร่างกายสัมผัสแสงแดด เช่น ใบหน้า หน้าผาก โหนกแก้ม จมูก เหนือริมฝีปากบน และคาง เป็นต้น ฝ้ามักเริ่มเป็นเมื่ออายุ 30 ปี ขึ้นไป พบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย

เกิดจากอะไร

- รังสี UV ในแสงแดด

- การกินยาคุมกำเนิด

- การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์

- การเข้าสู่วัยทองและวัยหมดประจำเดือน

- การใช้เครื่องสำอางบางชนิดที่มีผลต่อการแพ้และกระตุ้นให้เม็ดสีเมลานินบนผิวเกิดการเปลี่ยนแปลง

ฝ้าในการแพทย์แผนจีน

ฝ้าในการแพทย์แผนจีนเรียกว่า “肝斑” (กานปาน) “蝴蝶斑”(หูเตี๋ยปาน) เกิดจากการทำงานของตับ ม้ามและไตมีปัญหา ทำให้การไหลเวียนของชี่เลือดไม่ดี เกิดเป็นเลือดคั่งที่ผิวหนัง หรือ ชี่และเลือดน้อย ผิวขาดการหล่อเลี้ยง จึงเกิดการมีฝ้า

สามารถแบ่งกลุ่มได้แก่ ชี่ตับติดขัด ม้ามพร่องชี่และเลือดน้อย และอินตับไตพร่อง

การรักษา

- ฝังเข็ม

- ทายาสมุนไพรจีน

- รับประทานยาสมุนไพรจีน

ตัวอย่างกรณีการรักษาฝ้าที่เข้ารับการรักษาและได้ผลดี

รหัสผู้ป่วย : HN0169**

ชื่อ : นาง หทัยภัทร

เพศ : หญิง

อายุ : 49

เข้ามารักษาเมื่อ : 13/08/2023

อาการสำคัญ : ฝ้าบริเวณใบหน้า เป็นหนักมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 5 ปี

อาการปัจจุบัน : คนไข้มีประวัติโดนแดดกลางแจ้งเป็นประจำ เมื่อ5 ปีที่แล้วฝ้าค่อยๆเริ่มกำเริบ และมีอาการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันมีฝ้าที่แก้ม หน้าผาก และคาง แผ่นใหญ่กว้าง มีจุดดำร่วมด้วย และมีอาการหงุดหงิดง่าย เวียนศีรษะ ทานข้าวได้ปกติ นอนหลับได้ปกติ ขับถ่ายปกติ

ประวัติการเจ็บป่วยอดีด : ไม่มี

การตรวจร่างกาย : ไม่มี

- ลิ้นแดงซีดฝ้าขาวบาง มีเส้นเลือดใต้ลิ้นม่วงคล้ำ ชีพจรเล็ก

วิธีการรักษา : ฝังเข็ม และทายาสมุนไพรจีน

ผลการรักษา :

หลังจากการรักษาด้วยการฝังเข็มและทายาสมุนไพรจีน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

หลังจากการรักษาครั้งที่ 1-2 อาการหงุดหงิดและเวียนศรีษะดีขึ้น ฝ้ายังเหมือนเดิม

หลังจากการรักษาครั้งที่  3-5 อาการหงุดหงิดและเวียนศรีษะหายไป ฝ้าจางลงอย่างชัดเจน

ยังรักษาต่อเนื่อง

------------------------

บทความโดย
แพทย์จีน วทัญญู วิจิตรธงชัย(หมอจีน เฮย เจ๋อ วัง)
黑泽汪 中医师
TCM. Dr. Watanyu Wijitthongchai
แผนกฝังเข็ม

อ้างอิง

1.中国黄褐斑诊疗专家共识 2021版 中华皮肤科杂志 พ.ศ.2564

2.การฝังเข็ม-รมยา กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2551

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้