ภาวะขาดแคลนและเกินขนาดของวิตามินดี (Vitamin D)

Last updated: 27 ส.ค. 2567  |  4427 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ภาวะขาดแคลนและเกินขนาดของวิตามินดี (Vitamin D)

วิตามิน D หลัก ๆ มีอยู่ 2 ฟอร์มและแหล่งที่มาของแต่ละฟอร์ม คือ :

1. วิตามิน D₂ (Ergocalciferol) : ฟอร์มนี้ได้มาจากแหล่งพืชและเชื้อรา โดยเฉพาะในเห็ดที่ได้รับแสงแดด และเป็นวิตามิน D ที่มักพบในผลิตภัณฑ์ที่เสริมวิตามิน D

2. วิตามิน D₃ (Cholecalciferol) : ฟอร์มนี้สามารถสังเคราะห์ได้จากคอเลสเตอรอลในผิวหนังของมนุษย์เมื่อได้รับแสงแดด UVB และยังสามารถได้รับจากอาหารบางประเภท เช่น ปลาทะเลที่มีมัน ไข่ และนม

ทั้งสองฟอร์มนี้ของวิตามิน D สามารถถูกร่างกายดึงดูดซึมแล้วนำไปใช้ในกระบวนการทางเมตาบอลิซึมที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมสุขภาพกระดูกและฟัน และการส่งเสริมฟังก์ชันของระบบภูมิคุ้มกัน

หลังจากที่ร่างกายได้รับวิตามิน D ไม่ว่าจะมาจากแสงแดดหรืออาหาร วิตามิน D จะถูกนำไปแปลงเป็น 25-hydroxyvitamin D (หรือ 25-OH D₃) ในตับ ฟอร์มนี้เป็นฟอร์มที่เก็บสำรองของวิตามิน D ในร่างกาย และเมื่อร่างกายจำเป็นต้องใช้งานจะเปลี่ยนให้เป็น 1,25-(OH)₂ D₃ (calcitriol) ในไต เริ่มจาก 25-OH D₃ จากตับจะถูกส่งไปยังไต จะถูกแปลงต่อเป็น 1,25-dihydroxyvitamin D (หรือ 1,25-(OH)₂ D₃ หรือ calcitriol) ซึ่งเป็นฟอร์มที่มีฤทธิ์ของวิตามิน D Calcitriol นี้ทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือด และส่งเสริมสุขภาพกระดูกและฟัน

กระบวนการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานร่วมกันระหว่างตับและไตในการทำให้วิตามิน D ใช้งานได้และรักษาสุขภาพกระดูกและระบบต่าง ๆ ในร่างกายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

ระบบอวัยวะที่เกี่ยวข้อง

  • ผิวหนัง : สำหรับการผลิตวิตามิน D₃ จากแสงแดด
  • ตับ : ทำหน้าที่แปลงวิตามิน D₃ ที่ได้รับมาเป็น 25-hydroxyvitamin D (calcidiol)
  • ไต : ทำหน้าที่แปลง calcidiol เป็น calcitriol ซึ่งเป็นฟอร์มที่มีฤทธิ์ของวิตามิน D


หน้าที่

  • ส่งเสริมการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสในลำไส้
  • ส่งเสริมสุขภาพกระดูกและฟัน
  • มีบทบาทในการฟื้นฟูและควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน


ผลเสีย

  • ขาดแคลน : ภาวะกระดูกอ่อน, การเจริญเติบโตที่ผิดปกติในเด็ก, และภาวะกระดูกเสื่อมในผู้ใหญ่
  • เกินขนาด : การเกินขนาดของวิตามิน D สามารถทำให้เกิดอาการเป็นพิษ เช่น คลื่นไส้, อาเจียน, ปวดหัว, และการเพิ่มระดับแคลเซียมในเลือดที่สูงเกินไป, ซึ่งสามารถส่งผลต่อกระดูกและไตในระยะยาว


ความเข้าใจในภาวะขาดแคลนและเกินขนาดของวิตามิน D สามารถช่วยในการตรวจวินิจฉัยและจัดการกับการรักษาที่เกี่ยวข้องกับกระดูกและภาวะอื่น ๆ ดังนั้นหากเราต้องการจะเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูกในแนวทางแพทย์แผนจีนจะเน้นบำรุง 2 ระบบ คือ ตับและไต เนื่องจากตับและไตทำงานร่วมกันในการสร้างกระดูกตามที่มีบันทึกไว้ในตำราแพทย์จีน 肝肾同源,肝藏血,肾藏精,精生血,血养精,肾精不足,则不能养血,则肝藏血功能受到影响。由于肝主筋,肾主骨,因此,也可以认为筋骨同源。

อธิบายถึงความสัมพันธ์และการส่งเสริมซึ่งกันและกันระหว่างตับและไตในทฤษฎีการแพทย์แผนจีน ความหมายคือ ตับและไตมีที่มาที่เดียวกัน ตับเก็บเลือด และไตเก็บสารจิง สารจิงสร้างเลือด และเลือดหล่อเลี้ยงสารจิง ถ้าสารจิงในไตไม่เพียงพอ จะไม่สามารถสร้างและเลี้ยงเลือดได้ ซึ่งจะส่งผลให้ฟังก์ชันของตับในการเก็บเลือดได้รับผลกระทบ ด้วยเหตุที่ตับควบคุมกล้ามเนื้อและไตควบคุมกระดูก ดังนั้น เราสามารถพิจารณาว่า กล้ามเนื้อและกระดูกมีที่มาที่เดียวกัน

ตำรับยาที่นิยมใช้ เช่น
左归丸,右归丸,补肾建骨丸

ตัวยาหลัก ๆ
สูตี้หวง 熟地黄
ซันเหย้า 山药
ลู่เจี่ยวซวง 鹿角霜
โก่วฉีจื่อ 枸杞子
กุยปั่น 龟板
เปียเจี่ย 鳖甲
ลู่เจี่ยวเจียว 鹿角胶
กู่ซุ่ยปู่ 骨碎补
ปู๋กู่จือ 补骨脂
หวงจิง 黄精
หนิวซี 牛膝
ตู้จ้ง 杜仲

------------------------

บทความโดย
แพทย์จีน จรัญ จันทะเพชร (หมอจีน จ้าน หลาน)
湛蓝 中医师
TCM. Dr. Charun  Chanthaphet (Zhan Lan)
แผนกอายุรกรรม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้