Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 1029 จำนวนผู้เข้าชม |
ข้อมูลผู้ป่วย
รหัสผู้ป่วย : HN331XXX
ชื่อ : นายXXX XXX
อายุ : 35 ปี
อุณหภูมิ : 36.5 °C
ชีพจร : 90/min
ความดันโลหิต : 121/61 mmHg
น้ำหนัก : 53.95 kg
ส่วนสูง : 177 cm.
BMI 17.22 (18.5-22.90)
อาการสำคัญ
ชาขาข้างซ้าย 2 ปี
วันแรกเข้ารับการรักษา : 26/9/2563 เวลา 13.15 น.
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
ชาขาข้างซ้ายและปวดเอวสองข้าง เมื่อยกของหนัก ยืนหรือเดินนาน ๆ ข้อเท้าข้างซ้ายจะบวม ปวดเอวทั้งสองข้างและชาขาข้างซ้ายมากยิ่งขึ้น เมื่อนอนหงายจะปวดเอวทั้งสองข้างมากยิ่งขึ้น เนื่องจากท่านอนหงายทำให้เกิดการกดทับบริเวณที่ผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอว นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก 3 ครั้ง/คืน เนื่องจากท่านอนกดทับเครื่องมือที่เชื่อมข้อกระดูกสันหลังส่วนเอว ขับถ่ายปกติ สามารถกลั้นปัสสาวะอุจจาระได้ปกติ
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
- ปี 2018 ได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์ส่งผลให้กระดูกสันหลังส่วนเอวข้อที่ 3 แตกหัก ได้รับการผ่าตัดใส่เครื่องมือยึดข้อกระดูกสันหลังส่วนเอวข้อที่ 2 และ 4
- ปฏิเสธโรคประจำตัว ปฏิเสธการแพ้ยา
การตรวจร่างกาย
- Straight leg raising test (SLRT) : Lt(-) Rt(-)
- ชีพจรตึงเร็ว ลิ้นแดง ปลายลิ้นแดง ฝ้าขาว มีรอยฟัน
การวินิจฉัยโรคทางแพทย์แผนจีน
ปี้เจิ้ง(痹证)หัวใจม้ามพร่อง(心脾两虚)
การวินิจฉัยโรคทางแพทย์แผนปัจจุบัน
ปวดกล้ามเนื้อเอวเรื้อรัง
การรักษา
บำรุงม้าม บำรุงเลือดสงบจิตใจ 补益脾经、养血安神
วิธีการรักษา
ทุยหนา ฝังเข็ม อบยา พอกยา ความถี่ที่แนะนำในการเข้ารับการรักษา 1-2 ครั้ง / สัปดาห์
ทุยหนา คือการรักษาโดยวิธีการนวดด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน เป็นการนวดเพื่อการรักษา ทำหัตถการโดยแพทย์แผนจีน สำหรับผู้ป่วยเคสนี้จะเน้นทุยหนาเส้นลมปราณเท้าไท่หยางกระเพาะปัสสาวะเป็นหลัก เนื่องจากเป็นเส้นลมปราณที่พาดผ่านบริเวณที่มีอาการของผู้ป่วยโดยตรง
สรุปผลการรักษา
ในช่วงระยะเวลาวันที่ 13/12/2563 - 12/6/2565 ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา 1-2 สัปดาห์/ครั้ง โดยในช่วง 20 ครั้งแรก ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา 1 ครั้ง/สัปดาห์ บางช่วงที่อาการดีขึ้นค่อนข้างชัดเจนเข้ารับการรักษา 2 สัปดาห์/ครั้ง ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันความต่อเนื่อง 2 สัปดาห์/ครั้ง อาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการทำงานจึงหลีกเลี่ยงการยกของหนักได้ยาก ดังนั้นจึงอาจมีอาการปวดหลังส่วนเอวบ้าง แต่เมื่อมีอาการปวดจะฟื้นตัวได้เร็วและสามารถทำงานได้นานกว่าปกติกว่าจะเริ่มมีอาการปวด ส่วนอาการชาและนอนไม่หลับดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อผู้ป่วยสามารถนอนหลับได้ดี อาการปวดและชาดีขึ้น ทำให้ร่างกายได้รับการบำรุงอย่างเต็มที่ สามารถรับประทานอาหารได้มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ค่าดัชนีมวลกาย BMI (Body Mass Index : BMI คือมาตรการที่ใช้ประเมินภาวะอ้วนและผอมในผู้ใหญ่) จาก 17.22 เพิ่มขึ้นเป็น 18.50 การมีน้ำหนักตัวที่มากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายมีชั้นไขมันและกล้ามเนื้อที่หนาขึ้น ช่วยป้องกันเครื่องมือยึดข้อกระดูกสันหลังสัมผัสกับพนักพิงเก้าอี้เวลาผู้ป่วยนั่งพิงพนักพิงเก้าอี้ได้เป็นอย่างดี
คำแนะนำของแพทย์
เนื่องจากการทำงานของผู้ป่วยต้องมีการยืนนานและยกของหนักอยู่เสมอ ดังนั้นการเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องจะบรรเทาอาการปวดหลังส่วนเอวได้เป็นอย่างดีและเป็นการดูแลกระดูกสันหลังส่วนเอวให้ได้รับการฟื้นฟูหลังจากการทำงานหนักอยู่เสมอ เป็นการยืดอายุการใช้งานกระดูกสันหลังส่วนเอวให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ผู้ป่วยควรมีการจำกัดปริมานน้ำหนักในการยกของและระยะเวลายืนหรือนั่งไม่ควรเกิน 45 นาทีอยู่เสมอ ไม่ควรโค้งหลังในการยกของหนัก ควรทำหลังให้ตรงขณะยกของหนัก พักผ่อนและดื่มน้ำให้เพียงพอ 2-3 ลิตร/วัน
------------------------
บทความโดย
แพทย์จีนธนภรณ์ ธนศรีวนิชชัย (หมอจีน หลิว ฉาย เผิง)
刘财蓬 中医师
TCM. Dr. Tanaporn Tanasrivanichchai (Liu Cai Peng)
11 พ.ย. 2567
25 ต.ค. 2567
11 พ.ย. 2567