“ไต” เกี่ยวกับนรีเวชอย่างไร ในทางการแพทย์แผนจีน

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  1631 จำนวนผู้เข้าชม  | 

“ไต” เกี่ยวกับนรีเวชอย่างไร ในทางการแพทย์แผนจีน

เมื่อพูดถึงเรื่องไต ทุกคนจะคิดว่าเกี่ยวกับนรีเวชอย่างไร โรคไตกับประจำเดือน หรือ ประจำเดือนมาไม่ปกติเกี่ยวอะไรกับโรคไต จริง ๆ แล้วในนรีเวชนั้นเกี่ยวพันกับไตโดยตรงอย่างแน่นแฟ้น แต่ไม่ได้เกี่ยวกับโรคไตอย่างใด

ไต กับนรีเวชในทางการแพทย์แผนจีน ในคัมภีร์โบราณ กล่าวว่า “肾为先天之本,元气之根,内寓元阴元阳,主生殖和藏精。” หมายความว่า ไตเป็นระบบอวัยวะพื้นฐานก่อนกำเนิด  เป็นรากฐานของหยวนชี่(ชี่ก่อนเกิด) เป็นที่อยู่ของอินและหยาง ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ เก็บกักสร้างจิง (สารสำคัญในร่างกาย) ดังนั้น เมื่อไตเป็นอวัยวะที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์ จึงเกี่ยวกับการมีประจำเดือน ซึ่งเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนแปลง การเติบโตเข้าสู่วัยสาวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  

ไตในทางการแพทย์แผนจีนนั้น เป็นอวัยวะเดียวในร่างกาย ที่มักจะพร่องอยู่เสมอ  เมื่อไตพร่อง อ่อนกำลังลง ส่งผลกับการมีประจำเดือนไม่มากก็น้อย สามารถสังเกตและวิเคราะห์ด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ ดังนี้

1. ชี่ไตพร่อง ผู้ป่วยมักพบประจำเดือนมาน้อย ประจำเดือนกระปริกระปอยไม่หยุด มาช้าหรือไม่มา หรือเป็นสาวช้า อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ร่างกายซูปผอม ลิ้นซีดขาว

2. ไตหยางพร่อง รอบประจำเดือนมาช้า หรือไม่มา ปริมาณประจำเดือนน้อย ขี้หนาวมือเท้าเย็น หน้าหมองคล้ำ ปัสสาวะใสปริมาณเยอะ  ถ่ายเหลว ท้องน้อยเย็น ปัสสาวะกลางคืนบ่อย ลิ้นซีดคล้ำ

3. ไตอินพร่อง รอบประจำเดือนแปรปรวน บางครั้งมาช้า บางครั้งมาเร็ว ปริมาณบางครั้งมาเยอะบางครั้งมาน้อยกระปริประปอยไม่หยุด สีประจำเดือนแดงสด เวียนศรีษะหูมีเสียง ปวดเอวปวดเข่า หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ เหงื่อออกกลางคืน ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม ลิ้นแดงแห้งฝ้าน้อย

4. ไตอินและหยางพร่อง รอบประจำเดือนผิดปกติ ไม่สามารถนับรอบประจำเดือนได้ บางครั้งประจำเดือนมาเยอะ บางครั้งประจำเดือนมาร้อย บางครั้งร้อน บางครั้งหนาว กลัวลม ปวดเอว อ่อนเพลีย ฝ่ามือฝ่าเท้าร้อน ใจร้อนหงุดหงิดง่าย ลิ้นแดงฝ้าบาง

จากข้างต้นสามารถวิเคราะห์สาเหตุทางนรีเวชจากการทำงานอวัยวะของไตในแพทย์แผนจีนได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง ซึ่งไตในแพทย์แผนจีน ไม่เกี่ยวข้องใด ๆ กับไตในแพทย์แผนปัจจุบัน ไม่ต้องกังวลใจไป เป็นเพียงอาการเตือนว่าควรดูแลรักษาไตของตนเองให้แข็งแรงขึ้น หรือสามารถปรึกษาแพทย์แผนจีนใกล้บ้านท่านได้เลยนะคะ

------------------------

บทความโดย

แพทย์จีน ธนภร ตันสกุล (หมอจีน เฉิน รุ่ย อิ๋น)
陈瑞银 中医师
TCM. Dr. Thanaphon Tansakul (Chen Rui Yin)
แผนกอายุรกรรมนรีเวช

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้