Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 6384 จำนวนผู้เข้าชม |
จุดสะท้อนบนใบหน้า
ในศาสตร์การแพทย์แผนจีนมองร่างกายของมนุษย์เป็นองค์รวม อวัยวะต่างๆภายในร่างกายมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เชื่อมโยงกันผ่านระบบของเส้นลมปราณต่างๆ จากเส้นลมปราณหลักสู่เส้นลมปราณย่อย จากอวัยวะสู่อวัยวะ จากภายในสู่ภายนอก หมุนเวียนแลกเปลี่ยน ตามกลไกลและหน้าที่ของอวัยวะนั้นๆ
ความสมบูรณ์หรือความบกพร่องของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย จะมีการแสดงออกและสะท้อนมายังภายนอก โดยเฉพาะใบหน้า ก็มีการสะท้อนของเส้นลมปราณด้วยเช่นกัน เนื่องจากบริเวณใบหน้าเป็นบริเวณที่มีผิวหนังบอบบาง และมีเส้นลมปราณไหลผ่านเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ใบหน้าเป็นบริเวณสำคัญที่แพทย์จีนจะใช้ในการสังเกตภาวะต่างๆของผู้ป่วย รวมถึงการแบ่งกลุ่มอาการของโรค และสามารถนำไปประกอบการวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น เราจะสังเกตคนไข้ที่มีสิวขึ้นเป็นประจำบริเวณหน้าผาก อาจมีภาวะลำไส้เสียสมดุล มีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย หรือ คนไข้ที่ผิวหนังใต้ขอบตาดำคล้ำ อาจมีภาวะไตบกพร่อง หรือ ผู้ที่มีผิวหนังดำคล้ำบริเวณส่วนต่างๆของใบหน้า อาจเกิดจากภาวะภายในมีอวัยวะบางอย่างเสียสมดุล เป็นต้น
ภาพแสดงจุดสะท้อนบนใบหน้า
การนวดกดจุด การกวาซา หรือการฝังเข็มบริเวณใบหน้า นอกจากจะได้ผลลัพธ์ทางตรง คือการบำรุงผิวพรรณบริเวณนั้นๆแล้ว ยังสามารถกระตุ้นระบบอวัยวะภายในต่างๆในทางอ้อมได้อีกด้วย ดังนั้นการนวดหน้ากดจุดเป็นประจำ ถือเป็นการหย่างเซิง(养生) หรือเป็นการชะลอวัยวิธีหนึ่งในการดูแลผิวพรรณภายนอก และกดจุดสะท้อนบำรุงอวัยวะภายในด้วยเช่นกัน
11 พ.ย. 2567
14 พ.ย. 2567
11 พ.ย. 2567