Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 7956 จำนวนผู้เข้าชม |
1. อะไรคืออาการเบื้องต้นที่บ่งบอกว่าเราจะเป็นโรคไต?
อาการของคนเป็นโรคไต ในระยะแรกมักจะไม่มีอาการแสดงอะไร จัดเป็นภัยมืด ส่วนใหญ่จะพบกับคนที่มีเป็นโรคไตในระยะสุดท้ายแล้ว คนเป็นโรคไตส่วนใหญ่ อาการแสดงหลัก คือ อ่อนเพลีย ไม่มีเรียวแรง เหนื่อยง่าย คันตามผิวหนัง ปวดเอวเมื่อยหลัง ขาบวมน้ำ บางรายมีอาการปัสสาวะไม่ได้ ท้องผูกเป็นประจำ
2. โรคไตสามารถเกิดขึ้นในคนอายุน้อยได้ไหม?
เนื่องด้วยชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสมัยปัจจุบันค่อนข้างดี ทานอาหารดี มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ทำให้คนเป็นโรคมากขึ้น โรคที่เป็นหลักๆ มักจจะมาจากโรคความดัน และเบาหวาน เพราะบริโภคโซเดียม และน้ำตาลมากเกินขนาด ทำให้เป็นไตทำงานหนัก และการไม่ควบคุมอาหาร ก็ทำให้ค่าเบาหวาน หรือความดันคุมไม่อยู่ จึงเป็นผลทำให้ความดันสูง และน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้การกรองของไตเสื่อมเร็วขึ้น คนที่มีปัญหาโรคปวดต่างๆ ชอบไปกินยาชุด ที่ขายตามร้านขายยา ในยาก็จะมียาแก้ปวดด้วย ทำให้เป็นโรคไตเสื่อมได้ง่ายอีกด้วย
3. รับประทานอาหารเค็มสามารถทำให้เกิดโรคไตจริงหรือไม่?
อาหารรสเค็มไม่ได้ทำให้เป็นเป็นโรคไต แต่ที่ทำให้เกิดโรคไตคือโซเดียม โซเดียมจะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ถ้าทานนานๆทำให้ไตเสื่อมได้ ใน1วันไม่ควรทานเกิน 2000 มก. หรือเท่ากับ 1 ช้อนชา อาหารที่ไม่ควรรับประทานมาจนเกินไป เช่น บะหมี่สำเร็จรูป อาหารที่ผ่านขบวนการผลิตแล้ว เช่น ไส้กรอก เป็นต้น
4. ถ้าเป็นโรคไตแล้วจะส่งผลกระทบกับระบบอะไรในร่างกายได้บ้าง?
เมื่อค่าของเสียในร่างกายสูงมากๆ การที่ไตขับโพแทสเซียมไม่ได้ ทำให้เกิดปัญหาโรคหัวใจวายได้ง่าย
ส่งผลเสียให้กับกระเพาะอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารแปรปรวน และทำให้เกิดอาการคลื่นใส้อาเจียนได้
5. วิธีการดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคไต?
แพทย์จะให้รับประทานโปรตีนที่มีดีประโยชน์ เช่น ไข่ขาว เนื้อปลา ไม่รับประทานผลไม้สีเหลืองเช่น ขนุน ส้ม ทุเรียน มะเฟือง ผักสีเขียวเข้ม เช่นบล็อกโคลลี่ ผักคะน้า จะทำให้โพแทสเซียมในเลือดสูง เนื่องจากไตวายมาสามารถขับโพแทสเซียมได้ จึงทำให้เกิดปัญหาหัวใจวายได้ ในโดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นไตวายระยะสุดท้าย
6. เป็นโรคไตสามารถที่จะทานยาจีนและไม่ฟอกไตได้ไหม?
คนที่เป็นโรคไต ที่อยากจะรับประทานยาจีน ต้องดูว่าอยู่ที่ระยะไหน ถ้าหากเป็นในระยะแรก มีการควบคุมอาหารและทานยาจีนควบคู่ สามารถรักษาให้หายได้ แต่ถ้าหากเป็นระยะท้าย จะต้องมีการควบคุมอาหารอย่าเข้มข้น ยาจีนจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อน ช่วยขับสารพิษ และช่วยชะลอไตเสื่อมได้
7. โรคไตสามารถรักษาหายขาดได้มั้ย ถ้าเกิดเป็นโรคไตระยะสุดท้าย?
เมื่อหน่วยไตพังแล้วจะไม่สามารถย้อนกลับมาเหมือนเดิมได้ การรักษาโดยการใช้ยาจีน เป็นการเน้นบำรุงไตให้แข็งแรง ช่วยขับของเสียจากร่างกายแทนไต ออกทางอุจจาระหรือปัสสาวะ ช่วยเสริมให้หน่วยไตแข็งแรง จะทำให้ของเสียในร่างกายน้อยลงและการกรองก็จะดีขึ้นด้วย
8. มุมมองแพทย์จีนกับโรคไตแตกต่างกับมุมมองแพทย์แผนปัจจุบันอย่างไรบ้าง?
โรคไตมุมมองของแพทย์ปัจจุบันจะพูดถึงลักษณะของไต การทำงานของไต การกรองของไต ของเสียในเลือดที่ไม่ได้โดนถูกกรอง แต่ในแพทย์แผนจีนจะมองเป็นองค์รวม เป็นกลุ่มอาการต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วแพทย์แผนจีนมองโรคไต เป็นกลุ่มอาการไตพร่อง
9. ถ้ามีคนในครอบครัวเป็นโรคไต เราสามารถมีโอกาสจะเป็นมากน้อยแค่ไหน?
ถึงแม้โรคไตจะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ถ้าหากว่าครอบครัวคุณมีคนเป็นโรคไต ควรระวังเพราะคุณก็อาจจะเป็นโรคไตได้เช่นกัน ส่วนใหญ่มาจากอาหารการกิน โรคต่างๆที่ทำให้ไตเสื่อม เช่นโรคความดัน โรคเบาหวานเป็นต้น
10. ระยะโรคไตรักษาแตกต่างกันอย่างไรล้วหมอจีนจะบำรุงร่างกายหรือรักษาอย่างไร?
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่เริ่มเสื่อม โปรตีนรั่ว จะไม่มีอาการใดๆ ระยะนี้เป็นระยะที่ต้องฟื้นฟู ซึ่งแพทย์แผนจีนจะเน้นยาบำรุง ช่วยบำรุงไตให้ไตแข็งแรง ระยะนี้สามารถรักษาให้หายได้
ระยะที่ 2 เป็นระยะที่ไตเริ่มถูกทำลาย ระยะนี้จะเน้นบำรุงและฟื้นฟูไตเช่นกัน ระยะนี้สามารถรักษาให้หายได้ขึ้นอยู่การที่มาช้าหรือเร็ว
ระยะที่ 3 เป็นระยะไตเริ่มเสื่อมปานกลาง ระยะนี้จะไม่มีอาการอะไร ในระยะนี้ผู้ป่วยจะทราบว่าตัวเองเป็นโรคไตจากแพทย์ผู้ทำการรักษา ระยะนี้จะต้องเน้นบำรุงไตขับพิษของเสียในร่างกายมากขึ้น ระยะนี้ถ้าหากไม่รีบรักษาให้ทันท่วงที จะทำให้ไตเสื่อมเร็วมากขึ้น
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่ไตเริ่มวาย จะมีอาการอ่อนเพลียง่าย ขาเริ่มบวมน้ำ มีอาการคันตามผิวหนัง เพราะพิษของเสียมากขึ้น ต้องบำรุงไต เน้นขับพิษของเสียในร่างกาย ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาจะไปสู่ระยะที่5 ได้เร็วขึ้น
ระยะที่ 5 เป็นไตวายระยะสุดท้าย คือการรอการฟอกไตผู้ป่วยจะมีอาการ อ่อนเพลียมาก เท้าบวมน้ำ คันตามผิวหนัง ขับถ่ายไม่ได้ คลื่นไส้อาเจียน ระยะนี้จะเน้นการขับของเสีย ให้ของเสียมีทางออก ร่วมกับบำรุงร่างกาย โดยเฉพาะอาการเพลียมาก ลดอาการและชะลอการฟอกไต
20 ม.ค. 2568
12 พ.ย. 2567
26 ก.ย. 2567
15 พ.ย. 2567