การรักษาภาวะมีบุตรยากเนื่องจากปัจจัยทางภูมิคุ้มกันโดยแพทย์แผนจีน

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  4143 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การรักษาภาวะมีบุตรยากเนื่องจากปัจจัยทางภูมิคุ้มกันโดยแพทย์แผนจีน

          ภาวะมีบุตรยากในยุคปัจจุบันนี้ มีสาเหตุมากมายจนกระทั่งไม่อาจทราบสาเหตุได้เลย อาจจะขึ้นกับร่างกายที่อ่อนแอ ภาวะความเครียดจากการทำงานหรือสังคมรอบข้างที่กดดันเราเรื่องมีบุตร จนลืมนึกถึงความสำคัญของชีวิตคู่ การกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ นอนดึกพักผ่อนน้อย หมอเองรักษาเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยากในประเทศไทยมานานเกือบ 10 ปี เหตุที่การแพทย์แผนจีนเป็นทางเลือกสุดท้าย คนไข้ซึ่งผ่านการรักษามาหลากหลายรูปแบบ ล้วนแต่มีความเศร้ามาหาทั้งสิ้น นอกจากจิตใจที่ต้องเข้มแข็งแล้ว ร่างกายที่ไม่แข็งแรงตามจิตใจมี่เศร้าหมองก็อ่อนกำลังลงไปด้วย

          ภาวะมีบุตรยากเนื่องจากปัจจัยทางภูมิคุ้มกัน (Immunologic factor) นั้น  สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ในทางแพทย์แผนจีน ได้แบ่งสาเหตุออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ ไตอินพร่อง เลือดคั่งจากชี่ติดขัดและความร้อนชื้นอุดกั้น

(อ้างอิง免疫性不孕.百度百科.สืบค้นจากhttps://baike.baidu.com/item/%E5%85%8D%E7%96%AB%E6%80%A7%E4%B8%8D%E5%AD%95%E7%97%87/2062231?fr=aladdin)

          1.      ไตอินพร่อง เป็นสาเหตุที่สำคัญของภาวะนี้ เนื่องจากไฟในร่างกายที่เกิดจากอินพร่องนั้นได้ไปกระตุ้นการทำงานของร่างกาย (ไฟเป็นธาตุหยางทำให้ตื่นตัวหากมากไปจะย้อนกลับทำลายอิน) ผู้ป่วยมักมีอาการ เวียนศีรษะ ปวดเอว ร่างกายซูบผอม หงุดหงิด คอแห้ง หรือนอนไม่หลับเป็นต้น ตำหรับที่ใช้บ่อย 归芍地黄汤加减

          2.      ภาวะเลือดคั่งจากชี่ติดขัด การไหลเวียนของเลือดที่ดีเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการดำเนินชีวิต ถ้าร่างกายเกิดเลือดคั่งอุดกั้นไม่หมุนเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งสาเหตุมาจากความเครียด สภาพอารมณ์ที่แปรปรวน เป็นต้น จะเป็นสาเหตุของอาการปวดท้องประจำเดือน เลือดประจำเดือนเป็นลิ่ม เมื่อลิ่มเลือดออกมาอาการปวดประจำเดือนจะทุเลาลง และมีอาการคัดหน้าอกก่อนมีประจำเดือนร่วมด้วย ตำหรับที่ใช้บ่อย 膈下逐瘀汤加减

          3.      ความร้อนชื้นอุดกั้น สาเหตุมักมากจากการรับประทานอาหารเผ็ดร้อน อาหารประเภทมัน ๆ หวาน ๆ การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นต้น คนไข้ที่มี กลุ่มอาการร้อนชื้น (อาการอักเสบ) มักพบตกขาวสีเหลืองมีกลิ่น มีผื่นคันที่ผิวหนังเป็นต้น ตำหรับที่ใช้บ่อย 银甲丸加减

 

ตัวอย่างกรณีศึกษา

ผู้ป่วยเตรียมพร้อมมีบุตร

รหัสผู้ป่วย 32XXXX

ชื่อ นางสาว พXX

เพศ หญิง อายุ 32

วันที่เข้ารับการรักษา วันที่ 4 เดือนมิถุนายน 2564

ประวัติความเจ็บป่วย ปฏิเสธ

อาการสำคัญ เตรียมพร้อมตั้งครรภ์ 2 ปี



ประวัติปัจจุบัน

รอบประจำเดือน 35 วันถึง 6เดือนตั้งแต่ประจำเดือนมาครั้งแรก (คนไข้จำไม่ได้ว่าประจำเดือนมาครั้งแรกอายุเท่าไร) ปริมาณประจำเดือนปกติ โดยปกติแล้วคนไข้มักพบอาการผื่นคันที่ปริเวณผิวหนังทั่วร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ นอนหลับไม่สนิท ตื่นง่าย ฝันร้าย ปัสสาวะกลางคืนบ่อย ท้องผูก

Lmp 5.5 prmp 4.7

ปลายลิ้นแดง ตัวลิ้นดำ ฝ้าขาว แห้ง ชีพจรลื่นเร็ว (滑数)

 
ประวัติในอดีต

IUI 1 ครั้ง ไม่สำเร็จ

ICSI 1 ครั้ง AFC 4-9 PGT 1

0.0.0.0

 

การตรวจเลือดทั่วไป

-

ผลการวินิจฉัย

ภาวะมีบุตรยาก กลุ่มอาการ ความร้อนชื้นอุดกั้นเส้นลมปราณตับ เลือดคั่งเส้นลมปราณชงและเริ่น

วิธีการรักษา

ระบายร้อน สลายอุดกั้น ปรับประจำเดือน



ตำรับยา

เสี่ยวไฉหูทังเพิ่มลด (小柴胡汤加减  )

ไฉหู ( 柴胡)             หวงฉิน(黄芩)           ตั่งเซิน(党参)            จื้อกันเฉ่า(炙甘草)

ป้านเสี่ย(半夏)          ตันเซิน(丹参)           หวงจิง(黄精)            โก่วฉีจื่อ(枸杞子)

หนี่เจินจื่อ(女贞子)   หมู่ลี่  (生牡蛎)        โกวเถิง(钩藤)           ฉางจู๋(苍术)

เซี่ยคูเฉ่า(夏枯草)     ไป๋เซียนผี(白鲜皮)   


ครั้งที่ 2 วันที่ 11 เดือน มิถุนายน

Lmp 5.6 ประจำเดือนมาปกติ นอนหลับดีขึ้น ขับถ่ายปกติ อาการผื่นตันน้อยลง

ลิ้นแดงฝ้าน้อย ชีพจรเล็กเร็ว(细数)

ตำหรับยา ใช้ตำหรับข้างต้น เพิ่ม ทู่ฝู๋หลิง(土茯苓)  สือเจี้ยนชวน(石见穿 ) ผู่กงอิง(蒲公英  )

ลดไฉหู(柴胡)   หวงฉิน(黄芩)  ตันเซิน(丹参  )


ครั้งที่ 3 วันที่ 18 เดือนมิถุนายน

Lmp 5.6 ระยะตกไข่ รอบประจำเดือนเริ่มมาตรงมากขึ้น ขณะมีประจำเดือนปวดท้องเล็กน้อย นอนหลับปกติ ขับถ่ายปกติ

ลิ้นแดงฝ้าบาง ชีพจรเล็ก(细)

ตำหรับยา ใช้ตำหรับข้างต้น เพิ่มป้ายเจี้ยงเฉ่า (败酱草) เซิงหมา(升麻)

ลด โก่วฉีจื่อ(枸杞子) หนี่เจินจื่อ(女贞子)


ครั้งที่ 4 วันที่ 5 เดือน กรกฏาคม

Lmp 6.5 คนตรวจเลือดตั้งครรภ์วันที่ 4 เดือนกรกฎาคม B-Hcg 7mIU/ml  มีอาการปวดหน่วงท้องน้อยนอนไม่หลับ ตื่นง่ายฝันเยอะ

ปลายลิ้นแดงแห้งฝ้าน้อย ชีพจรเล็กเร็ว(细数)

ตำหรับยา ใช้ตำหรับข้างต้น เพิ่มจื่อซูเกิง (紫苏梗)

 
ครั้งที่ 5 วันที่ 12 เดือนกรกฏาคม

วันที่ 11 เดือนกรกฏาคม มีเลือดออกทางช่องคลอด ผื่นคันเพิ่มมากขึ้น ปลายลิ้นแดงแห้ว ชีพจรเล็กเร็ว (细数) ตรวจไม่พบการตั้งครรภ์

ตำหรับยา

ตังกุย(当归)             อี้หมู่เฉ่า(益母草)      ตันเซิน(丹参)           เอ๋อจู๋(莪术)

ซานหลิง(三棱)          จีเสฺวี่ยเถิง(鸡血藤)    สือเส่าชื่อเสา(赤芍)              ไป๋เส่า(白芍)

เซี่ยคูเฉ่า(夏枯草)     สือเจี้ยนชวน(石见穿)


ครั้งที่ 6 วันที่ 19 เดือน กรกฎาคม

Lmp 17.7 ขณะมีประจำเดือน ปวดเมื่อยทั้งร่างกาย

ปลายลิ้นแดง ตัวลิ้นดำฟ้าขาว ชีพจรเล็ก

ตำรับยา

เสี่ยวไฉหูทังเพิ่มลด(小柴胡汤加减)

 
ครั้งที่ 7 วันที่ 3 เดือนสิงหาคม

 Lmp17.7 ระยะตกไข่ อาการทั่วไปปกติ

ลิ้นแดงฝ้าบาง ชีพจรเล็ก(细)

ตำรับยา ใช้ตำหรับข้างต้น เพิ่มไป๋เสา(白芍)

 
ครั้งที่ 8 วันที่ 22 เดือน กันยายน

Lmp 10.9  ผลเลือดวันที่ 20 เดือนกันยายน พบ ANA 1:80

ลิ้นแดงฝ้าบาง ชีพจรเล็ก(细)

ตำรับยา ใช้ตำหรับข้างต้น

 
ครั้งที่ 9 วันที่ 6 เดือนตุลาคม

Lmp 9.10  ข้อมือข้อเท้าปวดบวม ไม่พบผื่นคัน

ลิ้นแดงฝ้าบาง ชีพจรเล็ก(细)

ตำรับยา ใช้ตำหรับข้างต้นเพิ่ม ไป๋ฮัวเสอเสอเฉ่า(白花蛇舌草) หวงฉิน(黄芩)


ครั้งที่ 10 วันที่ 9 เดือนตุลาคม

ตรวจเลือดพบ BHCG 420

ปวดหน่วงท้องน้อย อาการปวดบวมตามข้อมือข้อเท้าลดลง

ลิ้นแดงฝ้าบาง ชีพจรเล็ก(细)

ตำรับยา ใช้ตำหรับข้างต้น เพิ่มยาบำรุง ไตหยาง จื่อเหอเชอ (紫河车) และยาบำรุงเลือด บำรุงครรภ์ เออเจียว (阿胶)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้