Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 5116 จำนวนผู้เข้าชม |
ไป๋เหมาเกิน (白茅根) คือ ลำต้นใต้ดินแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Imperata cylindrica Beauv. var. major (Nees) C.E. Hubb. วงศ์ Poaceae (Graminae)
ชื่ออื่น ๆ
หญ้าคา (ไทย) ไป๋เหมาเกิน (จีนกลาง) แปะเมากึง (จีนแต้จิ๋ว) Lalang Grass Rhizome, Imperatae Rhizoma
ลักษณะภายนอก
ทรงกระบอกยาว ผิวสีขาวอมเหลืองหรือสีเหลืองอ่อน วาวเล็กน้อย มีริ้วรอย
ตามแนวยาว พบข้อต่อชัดเจน น้ำหนักเบา เปราะแตกหักง่าย หน้าตัดสีขาว มีรอยแตกจำนวนมากเรียงตัวเป็นรัศมี แกนกลางสีเหลือง
อ่อน แยกจากเปลือกได้ง่าย กลิ่นอ่อน ๆ รสหวานเล็กน้อย
แหล่งผลิตที่สำคัญ
เพาะปลูกทั่วไปในประเทศจีน
การเตรียมอิ่นเพี่ยน
1. ไป๋เหมาเกิน : กำจัดสิ่งแปลกปลอม ล้างน้ำให้สะอาด ทิ้งไว้สักครู่จนซึมเข้าสู่เนื้อตัวยา หั่นเป็นท่อน แล้วทำให้แห้ง
2. เหมาเกินถ้าน : คั่วไป๋เหมาเกินด้วยไฟระดับกลางจนผิวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลไหม้ ด้านในสีเหลืองไหม้ ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น
ฤทธิ์ของยาตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนจีน
มีรสหวาน เย็น เข้าสู่เส้นลมปราณปอด กระเพาะอาหาร และกระเพาะปัสสาวะ
1. ไป๋เหมาเกิน : ห้ามเลือดโดยการลดความร้อนในเลือด ขับปัสสาวะ ระบายความร้อน และเสริมสารจินระงับไอ
2. เหมาเกินถ้าน : มีรสฝาด มีฤทธิ์เย็นลดลง ใช้กับกลุ่มอาการที่มีเลือดออกร่วมด้วย เช่น อาเจียนเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล
ฤทธิ์ของยาตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
มีรสหวาน เย็น ขับปัสสาวะ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษอักเสบในกระเพาะปัสสาวะ บำรุงไต แก้ดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
ขนาดและวิธีใช้
ต้มรับประทาน 9-30 กรัม
* ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้ *
ห้ามใช้กับผู้ป่วยภาวะม้ามและกระเพาะอาหารเย็นพร่อง ปัสสาวะมากแต่ไม่หิวน้ำ และไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดเนื่องจากเย็นพร่อง
เอกสารนี้เป็นลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาของคลินิกหัวเฉียวแผนแพทย์จีน
ใช้เผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานความรู้แก่ประชาชน
ห้ามคัดลอกในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตทุกกรณี
23 เม.ย 2567
19 ก.พ. 2567
24 มี.ค. 2566