Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 10624 จำนวนผู้เข้าชม |
ทารกอ่อนแอ Fetal weakness 胎怯 (胎怯) Tāi qiè 胎弱 (胎弱) Tāi ruò
ภาวะบกพร่องแต่กำเนิด หรือทารกมีภาวะชี่และเลือดพร่อง ทำให้เมื่อคลอดออกมาแล้วพบผิวหนังบอบบาง ผมไม่งอก เนื้อตัวและแขนขาเย็น หน้าไม่มีสีเลือด กล้ามเนื้อเหี่ยว รวมไปถึงภาวะร่างกายอ่อนแอห้าประการ
ภาวะพัฒนาการช้าห้าประการ Five retardations 五遲 (五迟) Wǔ chí
เป็นโรคเกี่ยวกับพัฒนาการในวัยเด็กเล็กประการใดประการหนึ่งหรือทั้งห้าประการ ได้แก่ การยืน การเดิน การงอกของผม การงอกของฟัน และการพูด ช้ากว่าเด็กปกติ สาเหตุเกิดจากความบกพร่องแต่กำเนิด พลังของไตอ่อนแอ หรือภาวะทุพโภชนการหลังคลอด ชี่และเลือดอ่อนแอ ทำให้การเจริญเติบโตมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กปกติ
ภาวะอ่อนแอห้าประการ Five limpnesses / flaccidity 五軟 (五软) Wǔ ruǎn
เกิดจากชี่ที่ได้รับมาแต่กำเนิดไม่เพียงพอ หรือภาวะทุพโภชนาการหลังคลอด หลังป่วย แล้วร่างกายได้รับการบำรุงเพื่อฟื้นฟูได้ไม่เพียงพอ ภาวะชี่และเลือดพร่อง เหล่านี้จะทำให้ร่างกายของเด็กอ่อนแรง โดยมีอาการแสดงออกที่ก้านคอ ปาก มือ เท้า และกล้ามเนื้ออ่อนแรงไม่มีกำลัง เช่น เด็กอ่อนปวกเปียก (Floppy child)
ภาวะเกร็งห้าประการ Five stiffnesses 五硬 (五硬) Wǔ yìng
เป็นโรคของเด็กแรกเกิด เกิดจากพลังของหยางยังไม่สมบูรณ์ หรือถูกความเย็นเข้าจับและเลือดหนืด จึงทำให้ที่ห้าส่วนของร่างกาย ได้แก่ มือ เท้า ปาก ก้านคอ และผิวหนังมีอาการเย็นและเกร็งเกิดขึ้น โดยตัวจะเย็นด้วย เช่น โรคเด็กสมองพิการ (Cerebral palsy)
ขม่อมบุ๋ม Depressed fontanel 囟陷 (囟陷) Xìn xiàn
เป็นภาวะที่ขม่อมศีรษะเว้าลง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความบกพร่องแต่กำเนิด หรือท้องเสียติดต่อกันเป็นเวลานาน มีอาการชักเรื้อรัง ทำให้ชี่และเลือดอ่อนแอ อวัยวะภายในพร่องไม่สามารถให้การหล่อเลี้ยงขึ้นไปยังส่วนศีรษะได้ดี ในทารกแรกเกิดที่อายุไม่เกิน 6 เดือน จะมีกระหม่อมศีรษะเว้าลงเล็กน้อย ถ้าไม่มีอาการไม่สบายอื่นๆ ถือว่าเป็นปกติ
ขม่อมนูน Bulging fontanel 囟塡 (囟填) Xìn tián
เป็นภาวะโรคที่ขม่อมศีรษะตึงแน่นหรือนูนขึ้น มักพบในเด็กที่มีอาการเป็นไข้หรือชักกระตุก และยังพบได้ในภาวะความเย็นจับตัวและชี่ติดขัดได้เช่นกัน
เด็กตัวร้อนระหว่างเจริญเติบโต Growth fever 變蒸 (变蒸) Biàn zhēng
ในกระบวนการเจริญเติบโตของเด็กอาจพบอาการ เช่น ตัวร้อน ชีพจรยุ่งเหยิงหรือมีเหงื่อออกได้เป็นปกติไม่ได้ป่วยเป็นโรคภัยใดๆ
หลังค่อม Tortoise back 龜背 (龟背) Guī bèi
เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังโค้งงอและนูนขึ้นเป็นหลังเต่า สาเหตุเกิดจากธาตุกระดูกในเด็กยังอ่อนแอ หากนั่งในท่าก้มมากๆ เป็นเวลานานโดยไม่ได้รับการดูแลให้นั่งอย่างถูกต้อง จะทำให้กระดูกสันหลังเสียหายและผิดรูปไป หรือพบในเด็กขาดอาหารบำรุงเลี้ยง ทำให้การเจริญเติบโตผิดปกติไป
ภาวะที่กระดูกอกผิดรูป หรือ อกไก่ Pigeon chest 龜胸 (龟胸) Guī xiōng; 鷄胸 (鸡胸) Jī xiōng เป็นภาวะที่กระดูกอกผิดรูปนูนขึ้นคล้ายอกไก่ หรือเป็นรูปหลังเต่า ร่วมกับร่างกายซูบผอม อ่อนเพลีย หายใจสั้นและเบา พบในโรคกระดูกอ่อน
เด็กหัวโตผิดปกติ Un-united skull 解顱 (解颅) Jiě lú
มีอาการแสดงออกคือศีรษะโตกว่าปกติ กระหม่อมหน้าและหลังกว้าง สาเหตุเกิดจากร่างกายบกพร่องแต่กำเนิด การบาดเจ็บภายในกะโหลกศีรษะ หรือพิษร้อนคั่งค้างสะสม น้ำและความชื้นคั่งค้างอยู่ในศีรษะ
Malnutrition (Infantile) 疳 (疳) Gān 疳癆 (疳痨) Gān láo
ภาวะทุพโภชนาการ เกิดจากขาดสารอาหารจนส่งผลกระทบต่อม้ามและกระเพาะอาหาร สารน้ำและชี่พร่อง หรือ ขาดนมแม่ รวมไปถึงภาวะทุพโภชนาการแบบอื่น จึงส่งผลต่อการเจริญเติบโต ทำให้ร่างกายอ่อนแอซูบผอม
น้ำลายไหลมากผิดปกติ Dribbling 滯頤 (滞颐) Zhì yí; 小兒多涎 (小儿多涎) Xiǎo ér duō xián
เป็นโรคของเด็กเล็กที่ร่างกายไม่สามารถเก็บกักน้ำลายไว้ได้ตามปกติ สาเหตุเกิดจากม้ามถูกเย็นและมีภาวะพร่อง หรือมีความร้อนสะสมอยู่ในม้ามและกระเพาะอาหาร น้ำลายถูกเก็บไว้ไม่ได้ จึงทำให้เกิดอาการน้ำลายไหลยืดอยู่ตลอดโดยควบคุมไม่ได้
ฝ้าขาวในช่องปาก โรคเชื้อราในช่องปาก Thrush 鵝口瘡 (鹅口疮) É kǒu chuāng; 雪口 (雪口) Xuě kǒu
เป็นโรคของช่องปาก มีอาการแสดงคือเกิดฝ้าสีขาวเป็นแผ่นขึ้นในช่องปากและลิ้น สาเหตุเกิดจากร่างกายได้รับพิษจากภัยต่างๆ หรือเกิดความร้อนคั่งขึ้นในหัวใจและม้าม ความร้อนเผาขึ้นไปที่ช่องปากและลิ้น
แผลร้อนใน Aphtha 口瘡 (口疮) Kǒu chuāng
เป็นโรคของช่องปาก ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้น หรือเหงือกเกิดเป็นแผลที่ตรงกลางเว้า และรอบๆ เป็นวงสีแดง ร่วมกับอาการเจ็บแสบเป็นๆ หายๆ สาเหตุเกิดจากหัวใจและม้ามร้อน หรือไฟกำเริบจากอินพร่อง ทำให้เกิดความร้อนขึ้นไปส่งผลกระทบต่อเยื่อบุช่องปาก
ฝ้าเหลืองที่เหงือก Gingival eruption 馬牙 (马牙) Mǎ yá
เป็นจุดสีเหลืองหม่นที่เกิดกระจายตามเหงือกในทารกแรกเกิด โดยทั่วไปไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อการดูดนมของเด็กและหายเองได้ ไม่จำเป็นต้องทำการรักษา
ลิ้นบวมแข็ง Wooden tongue 木舌 (木舌) Mù shé
มักพบกับเด็กเล็ก มีอาการตัวลิ้นบวมใหญ่และแข็งคับปาก จนกระดกลิ้นไม่ได้ แต่ไม่มีอาการเจ็บปวด สาเหตุเกิดจากความร้อนที่คุคั่งอยู่ในหัวใจและม้ามกระทบขึ้นข้างบน
เบื่ออาหาร Anorexia 厭食 (厌食) Yàn shí
เป็นโรคที่สังกัดภาวะชี่คั่งค้าง มีสาเหตุจากการถูกเลี้ยงอย่างตามใจ ชี่ของม้ามและกระเพาะอาหารอ่อนแอ .หรือผลกระทบจากอารมณ์กลัวอ้วน เมื่อนานเข้าก็จะทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร ร่างกายผ่ายผอม ผอมแห้งแรงน้อย
ชักในเด็ก Infantile convulsion 驚風 (惊风) Jīng fēng
เกิดจากสาเหตุและโรคได้หลายชนิด เด็กจะมีอาการไม่ได้สติ เกร็ง ชักกระตุก เป็นอาการสำคัญ
ชักเฉียบพลัน Acute infantile convulsion 急驚風 (急惊风) Jí jīng fēng
มีอาการหมดสติ ตาค้าง ขากรรไกรแข็ง คอบ่าเกร็ง แขนขาชักกระตุก สาเหตุเกิดจากได้รับพิษภัยที่มากับฤดูกาล ลำไส้และกระเพาะอาหารมีภาวะร้อนคั่ง ภาวะเสลดและอาหารคั่งค้าง
ชักเรื้อรัง Chronic infantile convulsion 慢驚風 (慢惊风) Màn jīng fēng
การชักมีตั้งแต่มือเท้าขยับนิดๆ ไปจนถึงการชักกระตุกที่เป็นๆ หายๆ ร่วมกับอาการอ่อนเพลีย หน้าซีดขาว อุจจาระเป็นสีเขียว สาเหตุเกิดจากชี่และเลือดพร่อง หรือแปรเปลี่ยนต่อเนื่องจากชักเฉียบพลัน
ชักจากม้ามพร่อง Chronic spleen wind 慢脾風 (慢脾风) Màn pí fēng
เกิดจากการอาเจียนหรือท้องเสียเป็นเวลานาน ทำให้ชี่ของม้ามพร่อง และตับไม่สามารถหล่อเลี้ยงเส้นเอ็นทำให้เกิดอาการชัก มีอาการแสดงคือตาปิด หัวสั่น ใบหน้าและริมฝีปากมีสีเขียว เหงื่อออก ผิวเย็น มือเท้าชักกระตุกเล็กน้อย อ่อนเพลีย ซึมไม่พูดจา อาเจียนเป็นน้ำใส
โรคลมชักในเด็ก Epilepsy 癲癎 (癫癎) Diān xián 癲疾 (癫疾) Diān jí; 癎病 (癎病) Xián Bing
เป็นโรคทางสมองที่เกิดได้จากสาเหตุหลายประการ เช่น การถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ การตกใจอย่างรุนแรง การสูญเสียการควบคุมทางอารมณ์ ผลกระทบจากอาหารที่รับประทาน ตลอดจนเป็นโรคตามมาจากโรคทางสมองอื่นๆ จากการมีไข้สูง ได้รับพิษจากอาหารและยา การบาดเจ็บของศีรษะ เป็นต้น ทำให้ลมกับเสลดหรือลิ่มเลือดไปอุดกั้นช่องสมอง รบกวนจิต ทำให้เกิดอาการชักที่เป็นแบบฉบับคือผู้ป่วยล้มลงหมดสติฉับพลัน แขนขาชักกระตุก น้ำลายฟูมปาก เมื่อผ่านไปชั่วขณะหนึ่งจะฟื้นคืนสติกลับมาเอง ซึ่งอาการจะกำเริบเป็นพักๆ
ไข้ทรพิษ หรือฝีดาษ Smallpox 痘瘡 (痘疮) Dòu chuāng; 天花 (天花) Tiān huā เป็นโรคติดต่อที่รุนแรงโดยผิวหนังจากมีการออกตุ่มเป็นลักษณะพิเศษ โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการไข้ก่อนแล้วตามมาด้วยการออกตุ่ม ที่เริ่มจากเป็นจุดเล็กๆ แล้วขยายใหญ่กลายเป็นตุ่มน้ำขุ่น แล้วแห้งและตกสะเก็ด
หัด Measles 麻疹 (麻疹) Má zhěn
เป็นโรคติดต่อจากการรับเชื้อหัด เชื้อจะเข้าไปสะสมอยู่ในปอดและม้าม แล้วกระจายไปตามหลอดเลือดไปออกยังผิวหนัง มีอาการที่สำคัญคือเป็นไข้ ไอ น้ำมูกน้ำตาไหล มีผื่นขึ้นทั้งตัว เมื่อผื่นเริ่มถอยก็จะค่อยๆ ลอกและเหลือรอยไว้
หัดเยอรมัน Rubella 風疹 (风疹) Fēng zhěn 風痧(病) 风痧(病)fēng shā (Bìng) เป็นโรคผื่นที่เกิดจากพิษภัยจากลมร้อนรุกเข้าที่ส่วนผิวภายนอก และไปจับอยู่ที่ส่วนเว่ยที่ควบคุมโดยปอด ทำให้เกิดอาการมีไข้ต่ำๆ ไอ ผื่นออกทั้งตัว ต่อมน้ำเหลืองที่หลังหูและท้ายทอยบวมโต
อีสุกอีใส Chickenpox 水痘 (水痘) Shuǐ dòu; 水疱 (水疱) Shuǐ pào; 水花 (水花) Shuǐ huā 水瘡 (水疮) Shuǐ chuāng เป็นโรคผื่นพุพอง มีอาการแสดงที่สำคัญคือเป็นไข้ ผิวหนังเกิดผดผื่น ตุ่มน้ำ ปะปนกับแผลเดิมที่ตกสะเก็ด สาเหตุเกิดจากถูกพิษลมจากภายนอกที่มากับฤดูกาล แล้วเกิดภาวะร้อนชื้นสะสมขึ้นภายในผุดออกที่ผิวหนัง
คางทูม Mumps 痄腮 (痄腮) Zhà sāi 腮腫 (腮肿) Sāi zhǒng
เป็นโรคติดต่อ เกิดจากพิษร้อนชื้นรุกเข้าสู่ร่างกายแล้วไปอุดกั้นเส้นลมปราณเส้าหยาง ทำให้เกิดอาการเป็นไข้บริเวณใต้หูจะมีอาการบวมเจ็บ
คอตีบ Diphtheria 白喉 (白喉) Bái hóu; 白纏喉 (白缠喉) Bái chán hóu
เป็นโรคติดต่อ เกิดจากเชื้อคอตีบที่เป็นพิษร้อนแห้งไปจับตัวอยู่ที่บริเวณลำคอและคอหอย ทำให้เกิดภาวะอินและน้ำสึกหรอ อาการสำคัญคือเป็นไข้ เจ็บคอ มีเยื่อสีขาวติดอยู่บนลำคอ คอหอย จมูก ซึ่งเขี่ยไม่ค่อยออก
ไอกรน Whooping cough 頓咳 (顿咳) Dùn ke
เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อที่ระบาดตามฤดูกาลรุกเข้าปอด แล้วอุดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้ชี่ของปอดทวนขึ้นข้างบน อาการสำคัญคือไอซ้ำๆ กันเป็นชุดๆ เมื่อหยุดไอจะหายใจเข้าลึกๆ เป็นเสียงวู้บ
สะดือแฉะ Umbilical dampness 臍濕 (脐湿) Qí shī
เป็นโรคของเด็กแรกเกิด หลังจากโคนสายสะดือหลุดออกแล้วที่สะดือยังมีน้ำข้นๆ ซึมออกมาอยู่ตลอด ไม่แห้ง เป็นโรคในกลุ่มผิวหนังอักเสบเป็นหนองที่มีสาเหตุเกิดจากน้ำและความชื้นที่สกปรกแทรกเข้า
แผลสะดือ Umbilical sores 臍瘡 (脐疮) Qí chuāng
เป็นโรคอักเสบเป็นหนองที่บริเวณสะดือของทารกแรกเกิด มีอาการบวมแดงร้อน กระทั่งเป็นแผลมีน้ำหนองไหล สาเหตุเกิดจากน้ำและความชื้นที่สกปรกแทรกเข้า
ไส้เลื่อนที่สะดือ Umbilical hernia 臍疝 (脐疝) Qí shàn; 臍突 (脐突) Qí tū
เกิดขึ้นจากทารกเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ หรือหลังจากคลอดแล้วทารกร้องไห้และดิ้นมากเกินไป ทำให้เยื่อบุลำไส้หลุดเข้าไปในสะดือ มีอาการสำคัญคือที่บริเวณสะดือปูดโปนขึ้นจนเห็นผิวหนังบางใส สามารถกดให้ลำไส้เคลื่อนกลับเข้าไปได้
ร้อนในทารกแรกเกิด Fetal heat 胎熱 (胎热) Tāi rè
เป็นกลุ่มอาการร้อนที่แสดงออกมาตามร่างกายของทารกแรกเกิด สาเหตุเกิดจากทารกได้รับพิษร้อนตั้งแต่อยู่ในครรภ์
ไอในทารกแรกเกิด Neonatal cough 百晬內嗽 (百晬内嗽) Bǎi zuì nèi sou
เป็นอาการไอมีเสมหะและหายใจลำบากในทารกแรกที่เกิดภายในหนึ่งร้อยวันหลังคลอด
หืดในทารก Infantile asthma 小兒哮喘 (小儿哮喘) Xiǎo ér xiāo chuǎn
มีอาการแสดงคือ การหายใจลำบากเป็นพักๆ ร่วมกับมีเสียงดังวี๊ด
หอบเฉียบพลันในเด็กเล็ก Horse-spleen wind 馬脾風 (马脾风) Mǎ pí fēng
รายที่เป็นรุนแรงจะพบว่ามีอาการอกนูนขึ้น ปอดขังลม หายใจหอบ แน่นหน้าอก ปีกจมูกพัด ถ่ายปัสสาวะและอุจจาระไม่ออก กระวนกระวาย สาเหตุเกิดจากพิษภัยจากความเย็นอุดกั้นปอด เมื่อคั่งอยู่เป็นเวลานานก็ทำให้เกิดความร้อนขึ้น และชี่ของปอดกระจายไม่ได้ตามปกติ
ภาวะอ่อนเพลียมีไข้จากอากาศร้อน Summer non-acclimatization 疰夏 (疰夏) Zhù xià เกิดขึ้นในฤดูร้อนโดยมีอาการอ่อนล้าอยากนอน มีไข้ต่ำๆ และเบื่ออาหาร เป็นภาวะที่สังกัดโรคตัวร้อนเป็นไข้ตามฤดูกาล สาเหตุเกิดจากอากาศร้อนชื้นรุกเข้าสู่ร่างกายแล้วไปอุดกั้นกั้นม้ามและกระเพาะอาหาร หรืออากาศร้อนทำลายเจิ้งชี่ ทำให้ม้ามทำหน้าที่ลำเลียงไม่ได้ตามปกติ จึงเกิดอาการดังกล่าวขึ้น
กรีดร้องเวลากลางคืน / ร้องไห้เวลากลางคืนจากความกลัว Night crying 夜啼 (夜啼) Yè tí เป็นโรคของเด็กเล็กที่มีอายุไม่เกิน 1 ขวบ มักกรีดร้องและร้องไห้ไม่หยุดในเวลากลางคืน กระทั่งร้องจนถึงสว่าง แต่ในเวลากลางวันกลับเป็นปกติ สาเหตุเกิดจากม้ามถูกความเย็น หัวใจถูกความร้อน และการตกใจกลัว
กลัวคนหรือสิ่งที่ไม่คุ้นเคย Fright seizure 客忤 (客忤) Kè wǔ
สาเหตุเกิดจากจิตของเด็กเล็กยังไม่เข้มแข็ง เกิดอาการตกใจกรีดร้องร้องไห้ กระทั่งหน้าถอดสี อาเจียน ถ่ายปัสสาวะอุจจาระ ปวดท้อง
ดีซ่านในทารก Neonatal jaundice 胎黃 (胎黄) Tāi huáng 胎疸 (胎疸) Tāi dǎn เป็นโรคที่ผิวหนัง เยื่อบุผิว ตาขาวของทารกมีสีเหลือง สาเหตุเกิดจากถูกพิษร้อนชื้น หรือพิษชื้นขุ่นอุดกั้น
ตัวแดงในทารกแรกเกิด Fetal redness 胎赤 (胎赤) Tāi chì
(1) หมายถึงผิวของเด็กแรกเกิดมีสีแดงเหมือนทาสี สาเหตุเกิดจากการได้รับพิษร้อนขณะอยู่ในครรภ์ (2) หมายถึงที่ปลือกตาของทารกเป็นแผลและมีสีแดง (3) โรคไทเฟิง (หมายถึงหลังคลอดแล้วทารกแรกเกิดมีอาการตัวร้อน ผิวมีสีแดงก่ำเหมือนกับถูกไฟ สาเหตุเกิดจากมารดาขณะตั้งครรภ์ทานของเผ็ดร้อนมากเกินไป ความร้อนสะสมในม้ามและกระเพาะอาหารจนส่งผลต่อทารกในครรภ์
สอบถามข้อมูลการรักษา
ทีมหมอจีน LINE OA : @huachiewTCM
11 พ.ย. 2567
25 ต.ค. 2567
11 พ.ย. 2567