Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 28381 จำนวนผู้เข้าชม |
Jin Jin Cha จินจินฉา
Chinese Herbal Drink
แนะนำสูตรโดยสำนักงานคณะกรรมการวางแผนสุขภาพและครอบครัวนครเซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน และปรับสูตรให้เข้ากับภูมิอากาศในประเทศไทย
ด้วยความห่วงใยประชาชนจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกร่วมกับคลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว
Jin(金)หมายถึง "ธาตุทอง" เป็นธาตุหลักของระบบปอด ซึ่งกำกับดูแลระบบทางเดินหายใจและการไหลเวียนของชี่ (พลังลมปราณ) ทั่วร่างกาย เมื่อชี่ของปอดพร่องจะมีอาการแสดง เช่น เหนื่อยง่าย เสียงพูดเบาลง หายใจสั้นลง เหงื่อออกง่าย ไม่ทนร้อนทนหนาวและกลัวลม สาเหตุมักเกิดจากทำงานตรากตรำ พักผ่อนไม่เพียงพอ มีอารมณ์เศร้าโศกต่อเนื่องนานๆ หรือโมโหง่าย จนทำให้ชี่ปอดอ่อนแอ
ตัวยา หวงฉี (Astragali Radix) ไป๋จู๋ (Atractylodis Macrocephalae Rhizoma) ฝางเฟิง (Saposhnikoviae Radix) สรรพคุณบำรุงชี่ปอด เสริมม้าม
* ม้ามเป็นธาตุดินซึ่งเป็นแม่ของธาตุทอง ม้ามดูแลระบบการย่อยและดูดซึม เพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย
สูตรดั้งเดิม แนะนำโดยสำนักงานคณะกรรมการวางแผนสุขภาพและครอบครัวนครเซินเจิ้น [1] เพื่อให้เหมาะสมกับภูมิอากาศประเทศไทยซึ่งมีความร้อนและความชื้นมากกว่าในประเทศจีน จึงใช้ ฮั่วเซียง (Pogostemonis Herba) เพ่ยหลัน (Eupatorii Herba) เป็นสมุนไพรที่ใช้บ่อยในการบรรเทาอาการท้องเสีย แน่นท้อง(เกิดจากม้ามพร่อง) เพื่อขับความชื้นและ เพิ่ม เฉ่าม่ายหยา (Hordei Germinatus Fructus(parched with bran)) ช่วยย่อยอาหาร
"ในมุมมองของศาสตร์การแพทย์แผนจีน" โรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) เกิดจาก "พิษของความชื้น" เข้ากระทบสู่ปอดโดยตรงและส่งผลต่อม้ามในลำดับต่อมา พยาธิสภาพในทางการแพทย์แผนจีน คือ เกิดความพร่อง(เป็นสมุฏฐาน) มีความชื้น ปะปนความร้อน เลือดคั่ง พอนานวันสะสมเป็นพิษร้อน [2]
ความร้อนและพิษร้อนเป็นอีกปัจจัยที่ทำลายร่างกาย จึงใช้ ดอกสายน้ำผึ้ง (จิ๋นอิ๋นฮวา) (Lonicerae Japonicae Flos) เหลียนเชี่ยว (Forsythiae Fructus) ป่านหลานเกิน (Isatidis Radix) และ ชะเอมเทศ (เซิงกันเฉ่า) (Glycyrrhizae Radix et Rhizoma) ในการลดความร้อน(ไข้) ขจัดพิษร้อน เพื่อบรรเทารักษาอาการเจ็บคอ แก้พิษร้อน
"จินจินฉา"
เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยเสริมบำรุงปอดและกระเพาะอาหาร เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ขับความชื้นและพิษร้อน
* เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะชี่ของปอดพร่องหรือเป็นบุคลากรกลุ่มเสี่ยง
วิธีใช้
นำสมุนไพรทั้งหมดแช่ในน้ำร้อน 5 – 10 นาที เติมน้ำร้อนชงดื่มได้ตลอดทั้งวัน แนะนำดื่มหลังอาหาร 30 นาที ทานติดต่อกัน 5 วัน
** คลิกที่ชื่อสมุนไพรเพื่ออ่านรายละเอียดของตัวยาแต่ละชนิดได้ **
ส่วนประกอบ
1. หวงฉี (黄芪)
2. เฉ่าไป๋จู๋ (炒白术)
3. ฝางเฟิง (防风)
4. ฮั่วเซียง (藿香)
5. เพ่ยหลัน (佩兰)
6. จินอิ๋นฮวา (ดอกสายน้ำผึ้ง) (金银花)
7. เหลียนเฉียว (连翘)
8. ป่านหลานเกิน (板蓝根)
9. เฉ่าม่ายหยา (炒麦芽)
10. เซิงกันเฉ่า (ชะเอมเทศ) (生甘草)
** คลิกที่ภาพเพื่ออ่านรายละเอียดของตัวยาแต่ละชนิดได้ **
ลักษณะภายนอก / แหล่งผลิต / การเตรียมอินเพี่ยน / ฤทธิ์ของยาตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนจีน / ฤทธิ์ของยาตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย / ขนาดและวิธีใช้ /
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
** ข้อแนะนำและข้อควรระวังในการใช้ **
1. ไม่ใช่ตำรับยารักษาอาการไข้หวัด ผู้ที่มีอาการไข้หวัดควรพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา
2. เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะชี่ของปอดพร่องหรือเป็นบุคลากรกลุ่มเสี่ยง
3. สตรีมีครรภ์ อยู่ระหว่างการให้นมบุตรและเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ชงดื่มครึ่งห่อต่อวัน
4. สตรีช่วงมีประจำเดือนควรงดรับประทาน
5. หากเกิดอาการแพ้ ควรงดการใช้ทันที
วิธีเก็บรักษา
เก็บในที่แห้งและหลีกเลี่ยงแสงแดด
[1] Xinhuawen. 深圳市中医院推出2020版 “防感汤”中药保健方[Internet]. เขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้น; 2020 [cited 2020 Mar 24]. Available from: http://m.xinhuanet.com/gd/2020-01/28/c_1125508156.htm
[2] สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางการรักษาโรคระบาดปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่(ทดลองใช้ฉบับที่ 3). สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติทบวงการแพทย์แผนจีนแห่งชาติ; 2020 [cited 2020 Mar 24]. Available from: http://www.nhc.gov.cn/yzygj/s7653p/202001/f492c9153ea9437bb587ce2ffcbee1fa.shtml
สอบถามข้อมูลการใช้
และข้อมูลด้านเภสัชกรรมสมุนไพรจีนได้ที่
ฝ่ายเภสัชกรรม คลินิกหัวเฉียวแพทย์แผนจีน
LINE Official : @pharmacyTCM
โทร. 092-263-4264