Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 10735 จำนวนผู้เข้าชม |
หูอื้อ หูดับเฉียบพลัน และหูตึง เป็นอาการผิดปกติของการได้ยิน หูอื้อ คือมีเสียงดังในหู เหมือนมีเสียงซ่าๆ เสียงจักจั่นร้องดังในหู ส่วนหูตึง หูดับ คือ ความสามารถของการได้ยินลดลงหรืออยู่ดีๆความสามารถในการได้ยินกลับหายไป (หูดับแบบเฉียบพลันทันทีแบบไม่เคยเป็นมาก่อน)
หูอื้อและหูตึงอาจเป็นแค่หนึ่งอาการหรือเป็นพร้อมกัน สาเหตุและกลไกของการเกิดโรคคล้ายกัน
สาเหตุและกลไกของการเกิดโรคในมุมมองแพทย์จีน
หูอื้อและหูตึง ตำแหน่งพยาธิสภาพอยู่ที่หู อวัยวะสังกัดอยู่ที่ไต เส้นลมปราณสังกัดเส้าหยาง กลุ่มอาการแบ่งเป็นแกร่งและพร่อง อาการแรกเป็นมักจะแกร่ง กรณีที่เป็นมานานมักจะพร่อง พยาธิสภาพอยู่ที่ตับและถุงน้ำดี จัดเป็นกลุ่มอาการแกร่ง พยาธิสภาพอยู่ที่ไต จิงชี่ไม่สามารถขึ้นไปหล่อเลี้ยงที่หูได้ มักจัดเป็นกลุ่มอาการพร่อง
ในผู้ที่อายุน้อย ชี่ (Qi) มาก อารมณ์โกรธทำลายตับและถุงน้ำดีหรือเส้นลมปราณเส้นหยางถูกอุดกั้น กลายเป็นหูตึง จัดเป็นกลุ่มอาการแกร่ง
กรณีในผู้ที่อายุมากขึ้นร่างกายอ่อนแอ พักผ่อนน้อย มีการใช้พลังงานในร่างกายอย่างหนัก ระบบการไหวเวียนของนาฬิกาชีวิตบิดเบี้ยว ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ชี่ถูกทำลาย ชี่ของไตพร่อง ทำให้การได้ยินไม่ดี เสียงในหูจะเป็นเสียงต่ำ เป็นกลุ่มอาการพร่อง
กลุ่มอาการแกร่ง
หูอื้อหูตึงกระทันหัน เสียงดังตลอดเวลา มีเสียงจักจั่นร้องหรือเสียงคลื่น แน่นในหู ปากแห้ง หงุดหงิด หน้าแดง โมโหง่าย ตาลาย เวียนหัว ถ่ายแข็งๆ ฉี่มีสีเข้ม ลิ้นแดง ฝ้าเหลืองบาง
กลุ่มอาการพร่อง
ในวัยชราร่างกายอ่อนแอ หูอื้อเป็นๆหายๆ เสียงเบาเสียงต่ำ การได้ยินค่อยๆลดลง มักเวียนหัว ตาลาย ปวดเอว เข่าอ่อน ลิ้นซีด
แนวทางการรักษาในแบบของแพทย์แผนจีน
รักษาด้วยการฝังเข็ม กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทะลวงลั่ว เปิดทวาร ในบางกรณีร่วมกับหัตถการเสริม เช่น รมยา เข็มอุ่นกระตุ้นไฟฟ้า และการใช้ตำรับยาจีนร่วมด้วย นอกจากนี้ การปรับพื้นฐานสุขภาพเพื่อให้ร่างกายสร้างเลือดลมด้วยการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่หักโหมใช้พลังงานเกิน ออกกำลังแต่พอดี รวมไปถึงการเลือกอาหารที่สร้างพลังงานและการทำจิตใจให้สงบ ก็จะช่วยส่งเสริมผลการรักษาให้ดียิ่งขึ้น
สอบถามข้อมูล
LINE@ : @huachiewtcm
11 พ.ย. 2567
14 พ.ย. 2567
11 พ.ย. 2567