โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง MG

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  56926 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง MG

ที่มาของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง MG : Myasthenia gravis : 重症肌无力
- บริเวณรอยต่อระหว่างประสาทกับกล้ามเนื้อ (Neuromuscular junction) — ตำแหน่งรอยโรค (Location of the lesion)
- มีความผิดปกติในการสื่อสัญญาณประสาท(transmission dysfunction)
- ได้รับมาภายหลังกำเนิด(acquired)
- โรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง (Autoimmune disease) —พยาธิสภาพของโรค (nature of the lesion)

อาการสำคัญ
- อาการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อบางส่วน หรือ ทั้งร่างกาย ที่มีลักษณะเป็นแบบผันผวน มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลง (Fluctuation)
- ลักษณะเด่นของอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง : เป็นมากขึ้นหลังจากใช้งานหรือเคลื่อนไหว, อาการดีขึ้นหลังจากได้พัก, ตอนเช้าอาการเบา ตอนบ่ายอาการหนัก

ระบาดวิทยาของโรค
อุบัติการณ์โรคเฉลี่ยประมาณ 7.40คน :10,000คน/ปี
เพศหญิง 7.14 คน :10,000คน / ปี
เพศชาย 7.66 : 10,000คน / ปี

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง MG พบได้ในทุกช่วงอายุ
ประชากรช่วงอายุ<40ปี  ---- อุบัติการณ์การเกิดโรคในเพศหญิง > ชาย
ช่วงอายุระหว่าง 40-50  ---- อุบัติการณ์การเกิดโรคในเพศหญิง = ชาย
ช่วงอายุมากกว่า 50 ปี  ----   อุบัติการณ์การเกิดโรคในเพศชาย > หญิง

ชื่อโรคในทางการแพทย์แผนจีน
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง MG ในทางแพทย์จีนเรียกว่า
เหว่ยเจิ้ง 痿证 (กลุ่มอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง)
เจี่ยนฉุย 睑垂 (หนังตาตก)
เจี่ยนเฟ้ย 睑废 (หนังตาไม่มีแรง)
ต้าชี่เซี่ยเสี้ยน 大气下陷 (ชี่ตกลงล่างอย่างรุนแรง) เป็นต้น

ผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หรือ หนังตาตกเป็นอาการหลัก แพทย์จีนจะวินิจฉัยเป็น “เจี่ยนฉุย 睑垂 (หนังตาตก)”

ผู้ป่วยที่ไม่มีแรงยกศีรษะเงยขึ้นเป็นอาการหลัก จะวินิจฉัยเป็น “โถวชิง 头倾 (ศีรษะตกเอียง)”

ผู้ป่วยที่มีอาการแขนขาลีบอ่อนแรงเป็นอาการหลัก จะวินิจฉัยเป็น “เหว่ยเจิ้ง 痿证 (กลุ่มอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง)”

ผู้ป่วยที่มี Respiratory muscle weakness พบอาการหายใจลำบากเป็นอาการหลัก เช่น ในผู้ป่วยMyasthenic crisisจะวินิจฉัยเป็น “ต้าชี่เซี่ยเสี้ยน 大气下陷 (ชี่ตกลงล่างอย่างรุนแรง)”

สาเหตุและกลไลการเกิดโรคในมุมมองทางแพทย์จีน
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง MG ในทางการแพทย์แผนจีนมองว่ามีสาเหตุสำคัญมาจาก
“ม้ามและไตพร่อง ส่งผลต่ออวัยวะตันทั้งห้า”

ตำแหน่งของโรค คือ กล้ามเนื้อ ; อวัยวะตันหลักมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง คือ ม้าม ไต และตับ

ลักษณะพยาธิสภาพของโรค ส่วนใหญ่เป็นแบบพร่อง ส่วนน้อยเป็นแบบพร่องผสมแกร่ง โดยรวมแล้วจัดอยู่ในกลุ่มอาการม้ามและไตพร่องเป็นหลัก

โรคในระยะเริ่มแรกมักเกิดจากม้ามและกระเพาะอาหารขาดพร่องเป็นหลัก นานวันเข้าจะพัฒนาเป็นกลุ่มอาการม้ามและไตพร่อง หรือ กลุ่มอาการอินของตับและไตพร่อง  หากกระทบทำลายหยาง จะพบกลุ่มอาการหยางม้ามและไตพร่อง

อาการแสดงทางคลินิก





อาการแสดงในภาวะรุนแรงของโรค
- แขนขาไม่มีแรง แขนมักเป็นหนักกว่าขา , Proximal เป็นหนักกว่า Distal
- ส่งผลต่อกล้ามเนื้อในการหายใจ (Respiratory muscles) และกล้ามเนื้อกระบังลม (Diaphragm muscles) มีอาการหายใจลำบาก ไอแบบไม่มีแรง
- บางกรณีส่งผลถึงกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscle ) ทำให้เสียชีวิตโดยฉับพลันได้
- กรณีที่มี Respiratory muscle paralysis และปอดอักเสบจากการสูดสําลัก (secondary aspiration pneumonia) อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

โดยทั่วไปจะไม่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะปัสสาวะ

สาเหตุและปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้โรครุนแรงมากขึ้น
การติดเชื้อ , การตั้งครรภ์ , ช่วงก่อนมีรอบเดือน , ได้รับบาดแผลทางจิตใจ (Psychological Trauma) , เหนื่อยล้าเกินไป

ยาที่ควรหลีกเลี่ยง
Quinine , Quinidine , Procainamide , Penicillamine , Propranolol , Phenytoin , Lithium , Tetracycline & Aminoglycoside antibiotics
ยาเหล่านี้ส่งผลให้อาการของโรครุนแรงขึ้นได้

การตรวจทางคลินิก
- กล้ามเนื้อที่ได้รับผลกระทบจะอ่อนล้าได้ง่าย : โดยเมื่อมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่งส่งผลให้กล้ามเนื่อนั้นมีความอ่อนแรงชั่วคราว เมื่อได้พักช่วงระยะเวลาหนึ่งจะอาการดีขึ้น เป็นลักษณะพิเศษของ MG
* Fatigue Test : ให้ผู้ป่วยกลอกตามองขึ้นด้านบนอย่างต่อเนื่องนาน 2 นาที อาการหนังตาตกจะรุนแรงขึ้น แต่เมื่อได้พักในระยะเวลาสั้นๆอาการกล้ามเนื้อเปลือกตาอ่อนแรงจะดีขึ้น

- กล้ามเนื้อที่ได้รับผลกระทบไม่สัมพันธ์กับอาการของเส้นประสาท , รากประสาทและระบบประสาทส่วนกลางใดใด

- ผู้ป่วยที่มีพัฒนาการการดำเนินของโรคมากขึ้น จะพบกล้ามเนื้อลีบอ่อนแรง , การรับความรู้สึกยังคงเป็นปกติ , โดยทั่วไปจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงของปฏิกิริยารีเฟล็กซ์

ภาวะวิกฤต (Crisis)
- ในผู้ป่วยที่เกิด bulbar muscular และ respiratory muscles weakness อย่างเฉียบพลัน จนทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่หายใจแลกเปลี่ยนก๊าซได้ เรียกว่า ภาวะวิกฤต   
เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่พบได้บ่อยในผู้ป่วย MG
* การติดเชื้อที่ปอด และการผ่าตัดต่อมไธมัส (thymectomy) สามารถกระตุ้นให้เกิดเกิดภาวะวิกฤตได้

- Myasthenic crisis - อาการวิกฤติจากมัยแอสทีเนีย

- Cholinergic crisis - อาการวิกฤติจากพิษของยาต้านโคลินเอสเทอเรส (anticholinesterase)  จากการใช้ยามากเกินไป

- Brittle crisis - อาการวิกฤติจาก Receptors บริเวณรอยต่อระหว่างประสาทกับกล้ามเนื้อ (neuromuscular junction) ไม่ตอบสนองต่อยาต้านโคลินเอสเทอเรส (anticholinesterase)





AChR-Ab Test (Acetylcholine receptor (AChR) antibody test)
85% - 90% ของผู้ป่วย MG แบบทั่วร่างกาย และ 50% -60% ของผู้ป่วย MG แบบกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะมีความไวต่อ AChR-Ab เพิ่มมากขึ้น 

แต่ระดับantibodyอาจไม่เป็นไปในทางเดียวกับอาการแสดงทางคลินิก

การวินิจฉัย
- พยาธิสภาพของโรคส่งผลต่อกล้ามเนื้อลาย(Skeleton muscle)เป็นหลัก

- อาการผันผวนมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลง(Fluctuation)

- ลักษณะพิเศษคืออาการเบาในตอนเช้าเป็นหนักมากขึ้นตอนเย็น

- อาการจะดีขึ้นเมื่อได้รับยา anti-cholinesterase ฯลฯ







Repetitive nerve stimulation test (Electromyography EMG )
- ใช้คลื่นความถี่ต่ำ (≤5Hz) และความถี่สูง (10Hz หรือมากกว่า) กระตุ้นซ้ำๆไปที่เส้นประสาท   Ulnar nerve, axillary nerve และ facial nerve

- หาก Action potential amplitude ลดลงมากกว่า 10%ผลเป็น (+), ผู้ป่วยMG 80% มีผลเป็น (+)

- ควรตรวจหลังจากหยุดการทำ Anti-cholinesterase drugs test ไปแล้วอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเกิดผล negativeลวง (false-negative)

การตรวจวินิจฉัยและรักษาตามหลักการตรวจรักษา (เปี้ยนเจิ้ง) ของแพทย์แผนจีน
"ม้ามและกระเพาะอาหารพร่อง"
ลักษณะเด่นของกลุ่มอาการ
หนังตาตก อาการเบาในตอนเช้าหนักขึ้นตอนเย็น  อ่อนแรงจนไม่อยากพูดคุย แขนขาอ่อนแรง หรือมีอาการกลืนลำบาก ไม่อยากอาหาร ถ่ายไม่เป็นก้อน สีหน้าเหลืองซีด ลิ้นอ้วนสีซีด ขอบลิ้นมีรอยฟัน ฝ้าที่ลิ้นขาวบาง ชีพจรเล็กอ่อนแรง 细弱
วีธีการรักษา
บำรุงลมปราณดึงหยางขึ้น ปรับสมดุลม้ามและกระเพาะอาหาร

"ลมปราณและเลือดพร่อง"
ลักษณะเด่นของกลุ่มอาการ
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง แขนขาอ่อนแอไม่มีแรง เดินเคลื่อนไหวลำบาก ใจสั่นหายใจสั้น อ่อนแรงไม่อยากพูดคุย สีหน้าไม่สดใส มีเหงื่อออก ลิ้นอ่อนนุ่มสีซีด ฝ้าที่ลิ้นขาวบาง ชีพจรเบา 弱
วีธีการรักษา
บำรุงลมปราณและเลือด

"อินของตับและไตพร่อง"
ลักษณะเด่นของกลุ่มอาการ
หนังตาตก สายตามองเห็นไม่ชัดเจนหรือเห็นภาพซ้อน ตาแห้งและแสบ ฝันเยอะนอนหลับได้น้อย กลางอกร้อนฝ่ามือฝ่าเท้าร้อน ปากแห้งคอแห้ง เวียนศีรษะ มีเสียงดังในหู มือเท้าอ่อนแรง เมื่อยเอวและเข่า ลิ้นแดง ฝ้าน้อย ชีพจรเล็กบางเร็ว 细数
วีธีการรักษา
บำรุงตับและไต

"หยางของม้ามและไตพร่อง"
ลักษณะเด่นของกลุ่มอาการ
แขนขาอ่อนแรง ขี้หนาวมือเท้าเย็น กลืนลำบาก พูดไม่ชัด เมื่อยเอวเข่าอ่อน ปัสสาวะสีใสปริมาณเยอะ หรือ ถ่ายอุจจาระไม่เป็นก้อน ลิ้นอ้วนซีด ฝ้าที่ลิ้นขาวบาง ชีพจรจมเล็ก 沉细
วีธีการรักษา
อุ่นบำรุงตับและไต

การรักษาแบบแผนตะวันตก
1. Cholinesterase inhibitor therapy : pyridostigmine bromine  – เป็นยาที่ใช้บ่อยที่สุด
2. Intravenous immunoglobulin (IVIG)
3. Plasma exchange
4. Thymectomy
5. Thymic radiation therapy

การรักษาแบบบูรณาการแพทย์แผนจีน กับ แผนปัจจุบัน
และการวินิจฉัยโรคและกลุ่มอาการของโรคร่วมกัน (เปี้ยนปิ้งร่วมกับเปี้ยนเจิ้ง)
การรักษาแบบแพทย์แผนจีนและแผนปัจจุบันนั้นต่างมีข้อเด่นและข้อด้อยแตกต่างกัน
ยาแผนปัจจุบันเห็นผลเร็วแต่ผลการรักษาไม่ยาวนาน มีผู้ป่วยจำนวนมากที่มีการกำเริบซ้ำของโรค

ยาจีนให้ผลช้าแต่ผลการรักษาคงอยู่ยาวนาน มีการกำเริบซ้ำของโรคค่อนข้างน้อย จากการศึกษาวิจัยล่าสุดชี้ให้เห็นว่าการรักษาแบบบูรณาการแผนจีนกับแผนปัจจุบันนั้นสามารถเพิ่มพูนประสิทธิภาพการรักษาได้

การรักษานอกจากจะ “บำรุงม้าม , ลมปราณ , ไตและเพิ่มการไหลเวียนเลือด” ตามหลักการรักษาทางแพทย์จีนแล้ว ควรเลือกใช้ยาที่มีสรรพคุณปรับสมดุลภูมิต้านทานด้วย เช่น อู่จวาหลง五爪龙、 ซีหยางเซิน西洋参、 หวงฉี黄芪、 ไป๋ซู่ 白术、ตู้จ้ง杜仲、 ปาจี่เทียน巴戟天、 โร่วฉงหรง肉苁蓉、 ทู่ซือจื่อ菟丝子、 จื่อเหอเชอ紫河车 และตังกุย当归、 เถาเหริน桃仁、 หงฮวา红花、 ชื่อสาว赤芍 เป็นต้น

ส่วนตำรับยาเลือกใช้ปู่จงอี้ชี่ทาง补中益气汤 ,จินคุ่ยเซิ่นชี่หวาน金匮肾气丸 ,เสวียฟู่จู๋ยวีทาง血府逐瘀汤 เป็นต้น

เปี้ยนปิ้งแล้วจึงเปี้ยนเจิ้งเพื่อกำหนดการรักษาและปรับเพิ่มลดตัวยา

* หมายเหตุ : การรักษาด้วยยาจีน คือ การนำสมุนไพรซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรจีนจากประเทศจีนมาปรุงเป็นยารักษาโรค โดยสกัดเอาส่วนผสมที่มีสรรพคุณในการบำบัดอาการที่ต้องการรักษาออกมาจากสมุนไพรชนิดต่างๆที่มีอยู่ตามธรรมชาติ แล้วนำมาผสมกัน ใช้ชงดื่มเป็นยาต้ม หรือ ยาผง ยาเม็ด ยาจีนบางตำรับประกอบด้วยสมุนไพรกว่า 10 ชนิด

จุดเด่นของยาจีน คือ ผู้ที่ป่วยโรคเดียวกัน หรือ มีอาการเหมือนกัน อาจได้รับการจ่ายยาต่างตำรับกัน ทั้งนี้ เพราะแพทย์จีนผู้ทำการรักษาจะวิเคราะห์สภาพร่างกายและอาการของผู้ป่วยอย่างละเอียด เพื่อระบุกลุ่มอาการของโรคตามสภาพร่างกายและอาการของผู้ป่วยก่อน จากนั้นจะเลือกวิธีบำบัดรักษาที่เหมาะสม และเมื่อติดตามอาการดูแล้วเห็นว่าดีขึ้น หรือ ไม่ดีขึ้น แพทย์จีนที่ทำการรักษาจะปรับเปลี่ยนยาตำรับใหม่ให้ตามความเหมาะสมกับอาการในช่วงเวลานั้นๆด้วย 

ในการทานยาทุกชนิด ทุกประเภท ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรที่ได้มาตรฐานและตรวจสอบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับประทานยาจีนนั้น การตรวจวินิจฉัยร่างกาย เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพื่อที่แพทย์จีนจะวิเคราะห์หาสาเหตุ และประเมินผู้ป่วยในการจัดตำรับยาที่ตรงกับพยาธิสภาพของผู้ป่วย เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการรักษา

ข้อมูลจากประสบการณ์การรักษาของแพทย์จีน
- ใช้หวงฉี黄芪ในการรักษาในปริมาณที่เหมาะสม
- หวงฉี黄芪 รสหวานฤทธิ์อุ่นเล็กน้อย เข้าสู่เส้นลมปราณม้ามและปอด การวิจัยทางเภสัชวิทยาในยุคปัจจุบันยืนยันแล้วว่า หวงฉี 黄芪 สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน,มีสรรพคุณปรับสมดุลการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน

- สรรพคุณปรับสมดุลการทำงานระบบภูมิคุ้มกันของ黄芪 นั้น เป็นแบบสองทิศทาง คือ ลดทอนหรือกำจัด Suppressor T lymphocyte (Ts) activity และเพิ่มการทำงานของ T lymphocyte จนทำให้ระดับAchRAb ในน้ำเลือดลดลง เกิดการปรับสมดุลของCell-mediated immunity

- ในปัจจุบันแพทย์แผนจีนมีความชำนาญโดดเด่นในการใช้หวงฉี 黄芪 ในปริมาณมาก เพื่อบำรุงหยวนชี่ที่ขาดพร่อง เสริมด้วยการใช้สูตี้ 熟地、 ซานหยูโร่ว 山萸肉、 ตู้จ้ง 杜仲、 หวายหนิวซี怀牛膝、ปาจี่เทียน 巴戟天、 โร่วฉงหรง 肉苁蓉 เป็นต้น อันเป็นยาฤทธิ์อุ่นแต่ไม่แห้ง , บำรุงแต่ไม่ทำให้เหนียวหนืด มีสรรพคุณบำรุงตับ ม้าม ไต มาใช้ในการรักษาโรค MG ซึ่งผลที่ได้รับดีมาก

-《ยื่อหวาจื่อเปิ่นเฉ่า日华子本草》บันทึกว่า “สรรพคุณบำรุงลมปราณทำให้เส้นเอ็นและกระดูกแข็งแรง เพิ่มกล้ามเนื้อบำรุงเลือด”

-《เปิ่นเฉ่าชั่วเย้า本草撮要》ยังบันทึกไว้ว่าหวงฉีสามารถ “บำรุงลมปราณทำให้เลือดไหลเวียนดี”  จากประสบการณ์ทางคลินิก หวงฉีเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง บำรุงหยวนชี่เป็นอย่างมาก  สามารถเพิ่มการไหลเวียนเลือดทะลวงลมปราณ จากเหตุผลที่ว่าลมปราณและเลือดมาจากแหล่งเดียวกัน สารจิงและเลือดก็มาจากแหล่งเดียวกัน การใช้หวงฉีนอกจากจะสามารถเพิ่มลมปราณสร้างให้เกิดเลือดแล้วยังดีต่อการบำรุงจิงเสริมไขกระดูกอีกด้วย

การใช้ยาเพิ่มการไหลเวียนเลือดสลายเลือดคั่งให้เกิดผลอัศจรรย์

- โรคเก่าเป็นนานเข้าลั่ว โรคเก่าเป็นนานย่อมมีเลือดคั่ง(久病入络,久病必瘀) โรคนี้มีการดำเนินโรคที่ค่อนข้างยาวนาน ชี่ม้ามพร่องอ่อนแอเป็นเวลานานไม่สามารถสร้างลมปราณและเลือดได้ เลือดและลมปราณจึงพร่อง ลมปราณพร่องไม่เพียงพอต่อการผลักดันให้เลือดไหลเวียน จึงเกิดเลือดคั่งที่ลั่วม่าย 

- แพทย์จีนได้สังเกตการณ์ทางคลินิกมาเป็นระยะเวลานานพบว่าผู้ป่วย MG นอกจากจะมีอาการของลมปราณม้ามพร่องอ่อนแอ เลือดพร่องการหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอแล้ว ผู้ป่วยยังมีริมฝีปากและลิ้นสีซีดคล้ำ หลอดเลือดดำใต้ลิ้นคดเคี้ยว ชีพจรเล็กบาง ฝืด (细涩) การตรวจทางห้องปฏิบัติการพบการเปลี่ยนแปลงการไหลของเลือด (altered hemorheology) ที่ผิดปกติ ฯลฯ อันแสดงถึงภาวะการมีเลือดคั่ง

- การตรวจวินิจฉัยรักษาโรคตามกลุ่มอาการ เสริมด้วยการใช้วิธีทำให้เลือดลมไหลเวียน โดยใช้ตัวยาเพิ่มการไหลเวียนเลือดสลายเลือดคั่ง ให้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีมาก

- การใช้หม่าเฉียนจื่อ 马钱子 ให้ได้ผลดี
การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาในยุคปัจจุบันได้ยืนยันแล้วว่า องค์ประกอบหลักของหม่าเฉียนจื่อ马钱子 คือ สตริกนิน (Strychnine) ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้ตื่นตัว มีผลต่อการรักษาความผิดปกติของการสื่อประสาทที่บริเวณรอยต่อประสาทกับกล้ามเนื้อ จึงสามารถรักษาและช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจาก Myasthenia gravis ให้ดีขึ้นได้

หม่าเฉียนจื่อ 马钱子 ซึ่งมีรสขม ฤทธิ์เย็น แม้ว่าจะมีพิษรุนแรง แต่สามารถทะลุทะลวงเส้นลมปราณ ไปยังข้อต่อได้เป็นอย่างดี เมื่อใช้กับโรค Myasthenia gravis มีผลทำให้กล้ามเนื้อที่เคยอ่อนแรงกลับมีแรงขึ้นได้ เพราะหม่าเฉียนจื่อ 马钱子 มีฤทธิ์ทะลุทะลวงทำให้หยวนชี่สามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆได้อย่างทั่วถึง หากมีการแปรรูป (เผาจื้อ) อย่างเหมาะสมถูกต้อง ใช้ในปริมาณพอเหมาะ ใช้ภายใต้การตรวจวินิจฉัยตามหลักการแพทย์แผนจีน การเพิ่มตัวยาหม่าเฉียนจื่อ马钱子ลงไป ให้ประสิทธิภาพผลการรักษาที่ดีเยี่ยม มีอัตราการเกิดผลข้างเคียงจากพิษหม่าเฉียนจื่อ 马钱子 น้อย
 
ข้อควรระวัง :ต้องเลือกใช้หม่าเฉียนจื่อในรูปแบบผงที่ผ่านการเผาจื้อ 制马钱子粉เสมอ ห้ามใช้หม่าเฉียนจื่อดิบในรูปแบบผงที่ยังไม่ผ่านการเผาจื้อ 生马钱子粉 นอกจากนี้ในระหว่างขั้นตอนการรักษาต้องติดตามอาการความเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ปรับเปลี่ยนปริมาณการใช้ยา หากผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ มีอาการชาบริเวณริมฝีปากและปลายลิ้น ฯลฯ ต้องรีบลดปริมาณหม่าเฉียนจื่อ 马钱子 หรือ หยุดใช้ยาทันที เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกพิษหม่าเฉียนจื่อ 马钱子

ข้อมูลโดย ศาสตราจารย์ แพทย์จีน ลั่วเสี่ยวตง แห่งโรงพยาบาลแพทย์จีน ประจำมณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

ผู้แปลและเรียบเรียง  แพทย์จีน ปณิตา กาสมสัน และ แพทย์จีน ชลิดา สิทธิชัยวิจิตร 

อ่านข้อมูลประกอบการรักษาเพิ่มเติม

ฝังเข็มรักษาโรคได้อย่างไร ? 
ฝังเข็มเจ็บไหม ? อันตรายหรือไม่ ?
โรคที่รักษาด้วยการฝังเข็มได้ผลค่อนข้างดี
การฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นเข็มด้วยไฟฟ้า Electro-Acupuncture

การรักษาด้วยการครอบแก้ว (Cupping Therapy)
รายชื่อแพทย์จีนแผนกฝังเข็ม

การรักษาด้วยยาจีน
กินยาจีนอย่างไรให้ได้ผลดี

สอบถามข้อมูลการรักษาเพิ่มเติม 
Hotline : 095-884-3518
LINE@ : @huachiewtcm

คลินิกหัวเฉียวแพทย์แผนจีน 
เปิดให้บริการการรักษาแก่ประชาชน 3 สาขาทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาค
1. กรุงเทพฯ  02-223-1111 ต่อ 102 
2. โคราช   044-258-555 , 085-325-1555 
3. ศรีราชา 038-199-000 , 098-163-9898 

ดูแผนที่การเดินทางของทุกสาขา

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้