Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 28710 จำนวนผู้เข้าชม |
ริดสีดวงทวาร Hemorrhoids 痔 (痔 Zhì
เป็นการโป่งพอง (varices) ของหลอดเลือดดำบริเวณทวารหนัก ซึ่งระบายลงสู่หลอดเลือดดำในช่องท้อง มักพบเป็นชนิดภายใน (internal hemorrhoid)
ริดสีดวงทวาร
1. โดยทั่วไปหมายถึงโรคที่เกิดบริเวณทวารหนักหลายชนิด
2. หมายถึงการที่ช่องเปิดต่างๆของร่างกาย (ทวารทั้ง9) เกิดก้อนเนื้อเล็กนูนขึ้้น
การแพทย์แผนปัจจุบันได้แบ่งริดสีดวงทวารออกเป็น
- ริดสีดวงภายนอก
- ริดสีดวงภายใน
- ริดสีดวงที่เป็นทั้งภายนอกและภายใน
สาเหตุส่วนมากเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น เป็นผู้ที่ธาตุร่างกายมีภาวะร้อนชื้นสะสมการรับประทานอาหารเผ็ดจัด การออกแรงเบ่งขณะคลอดลูกท้องผูกหรือท้องเสียเป็นระยะเวลานาน ทําให้ ภายในร่างกายเกิดลมทําให้แห้ง ความร้อนชื้นติดค้าง ชี่ที่ขุ่นและเลือดคั่งไหลลงสู่ทวารหนัก
Internal hemorrhoids 內痔 (内痔) Nèi zhì
ริดสีดวงทวารภายใน เกิดจากลมชื้นจากภายนอกพิษร้อนที่คั่งขึ้นภายในชื้นลงสู่บริเวณทวารและพิษหนักหรือมีภาวะม้ามพร่องชี่ทรุดลงการนั่งติดต่อกันเป็นเวลานานๆ การแบกของหนัก
ท้องผูก สาเหตุเหล่านี้ทําให้ชี่และเลือดติดค้างที่บริเวณทวารหนัก เส้นเลือดที่ผนังด้านในเหนือแนวหยักของทวารหนักขอดและมีเยื่อบุคลุมทําให้เกิดอาการถ่ายปนเลือดมีหัวริดสีดวงปูดออกเวลาถ่าย ท้องผูก
External hemorrhoids 外痔 (外痔) Wài zhì
ริดสีดวงทวารภายนอก เกิดจากผิวทวารหนักถูกเสียดสีหรืออักเสบติดเชื้อ ทําให้ใต้รอยหยักทวารหนักลงมามีเนื้อเยื่อบวมขึ้น มีผิวเป็นเนื้อเยื่อผิวหนัง ไม่สามารถดันกลับเข้าไปในทวารหนักได้
สาเหตุของการเกิดโรค
เกิดจากการคั่งของเลือดในหลอดเลือดดำบริเวณทวารหนัก จากการกดของเนื้องอกในช่องเชิงกราน จากการกดของมดลูกขณะตั้งครรภ์ จากภาวะหัวใจล้มเหลว และท้องผูกเรื้อรัง หรือถ่ายอุจจาระบ่อย ๆ มีนิสัยชอบเบ่งถ่ายอุจจาระอย่างรุนแรงและนั่งถ่ายอุจจาระ เป็นเวลานาน ๆ ผู้ป่วยโรคตับแข็งทำให้เส้นเลือดดำไหลกลับเข้าช่องท้องไม่สะดวก
วิเคราะห์โรคและอาการในมุมมองแพทย์จีน
ในทางแพทย์แผนจีนมีมุมมองเกี่ยวกับโรคนี้คือ สาเหตุพื้นฐาน ได้แก่ อวัยวะภายในอ่อนแอ เลือดและชี่พร่อง รับประทานอาหารรสจัดมากเกินไป ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปทำให้เกิดความชื้นและความร้อนไปสะสมบริเวณลำไส้ใหญ่ทำให้เส้นเลือดอุดตันเกิดเป็นริดสีดวงทวารเกิดขึ้น ท้องเสียต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน นั่งนานยืนนาน เหนื่อยมากจนเกินไป ท้องผูกอุจจาระแข็ง ใช้แรงเบ่งมากส่งผลให้บริเวณลำไส้ถ่วงหย่อนลงเกิดเป็นริดสีดวงทวาร โดยอาการแสดงออกของโรคมีดังต่อไปนี้
1. ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
2. ริดสีดวงภายในยื่นออกมาภายนอก
3. อาการปวดถ่วง
4. รอบๆ ปากทวารมีความชื้น
5. ท้องผูก
โรคริดสีดวงทวารแบ่งได้เป็น 4 ระยะคือ
1. ระยะที่ยังไม่มีติ่งเนื้อหรือก้อนยื่นออกมานอกทวารหนัก
2. ระยะที่เริ่มมีติ่งเนื้อหรือก้อนยื่นออกมาขณะเบ่ง ถ่ายอุจจาระ และจะหดกลับเข้าไปได้เอง โดยไม่ต้องใช้มือช่วยดันเข้าไป
3. ระยะที่มีติ่งเนื้อหรือก้อนยื่นออกมาขณะเบ่งอุจจาระ แต่ไม่หดกลับเข้าไปได้เอง จะต้องใช้มือช่วยดันเข้าไป จึงจะกลับเข้าไปในทวารหนัก
4. ระยะนี้มีติ่งเนื้อหรือก้อนยื่นออกมาแล้ว ไม่สามารถใช้มือดันติ่งเนื้อนี้เข้าไปในทวารหนักได้เลย
แนวทางในการรักษาโรคริดสีดวงทวารตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน
สามารถทำได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
1. รับประทานยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณช่วยระบายความร้อน ขจัดลมร้อนชื้น เสริมพลังชี่ บำรุงม้าม กระตุ้นการไหลเวียนเลือด สลายเลือดคั่ง ลดการอักเสบ ระงับปวด
2. แช่ยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ระงับปวด สมานแผล และลดบวม
3. ใช้ยาสมุนไพรจีนในรูปแบบครีมทาริดสีดวง จะช่วยลดการบวม ระงับปวด ช่วยสมานแผลและห้ามเลือดได้
วิธีการป้องกันโรคริดสีดวงทวาร
1. ป้องกันไม่ให้ท้องผูก ควรขับถ่ายอุจจาระให้คล่องทุกวัน
2. สร้างนิสัยการขับถ่ายเป็นเวลา
3. ตอนเช้าหลังตื่นนอนแล้วดื่มน้ำอุ่น 1 แก้วจะกระตุ้นการเคลื่อนไหวของกระเพาะและลำไส้
4. ควรหลีกเลี่ยงการยืนนาน หรือนั่งนานเกินไป
5.รับประทานอาหารที่มีกากใยมาก อาหารจำพวกถั่ว ผัก ผลไม้มากๆ จะช่วยทำให้ไม่ท้องผูก อุจจาระไม่แข็ง
6. ไม่ควรนั่งอ่านหนังสือ หรือ เล่นโทรศัพท์มือถือระหว่างการถ่ายอุจจาระ เพราะจะทำให้เพลิดเพลินลืมเวลา และใช้เวลาในกิจกรรมนี้นาน ควรใช้เวลานั่งประมาณไม่เกิน 10 นาที
7. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยเพิ่มการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ทำให้ถ่ายอุจจาระได้ง่าย
8. ลด ละ เลี่ยง อาหารที่รสเค็มจัด เพราะทำให้อ้วน และมีการสะสมน้ำอยู่ในร่างกายมาก และทำให้เส้นเลือดในร่างกายขยายจนทำให้โรคริดสีดวงขยาย เพราะเป็นส่วนของเส้นเลือดเช่นเดียวกัน
บทความโดย แพทย์จีน ศิรินทรา วงศ์สุขเสงี่ยม
แผนกผิวหนัง
- อ่านข้อมูลเพิ่มเติม -
การรักษาด้วยยาจีน
กินยาจีนอย่างไรให้ได้ผลดี
สอบถามข้อมูลการรักษาเพิ่มเติม
Hotline : 095-884-3518
LINE@ : @huachiewtcm
คลินิกหัวเฉียวแพทย์แผนจีน
เปิดให้บริการการรักษาแก่ประชาชน 3 สาขาทั้งในกรุงเทพฯและภูมิภาค
1. กรุงเทพฯ โทร. 02-223-1111 ต่อ 102
2. โคราช โทร. 044-258-555 , 085-325-1555
3. ศรีราชา โทร.038-199-000 , 098-163-9898
ดูแผนที่การเดินทางของทุกสาขา
6 ธ.ค. 2567
9 ธ.ค. 2567
6 ธ.ค. 2567