ปวดเส้นประสาทไซแอทติก Sciatica

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  20541 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปวดเส้นประสาทไซแอทติก Sciatica

Sciatica เป็นอาการปวดบริเวณเอว แก้มก้น ด้านหลังของต้นขาและด้านข้างของหน้าแข้งปวด ร้าวไปเท้า  โดยทั่วไปปวดด้านเดียวและจะถูกกระตุ้นเมื่อก้มเอวหรือเคลื่อนไหวขาส่วนล่าง Sciatica สาเหตุตามแนวศาสตร์การแพทย์จีนมอง Sciatica เป็นเรื่องของกลุ่มอาการอุดตัน (Bi Syndrome)  ทำให้ปวด เอว  ปวดกระเบนเหน็บและปวดขา

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
1. สาเหตุหลักเกิดจากพยาธิสภาพคือ  ลมภายนอก ความเย็น ความชื้น อุดตันเส้นลมปราณ
2. ชี่ของไตพร่อง
3. จากบาดเจ็บ  การฟกช้ำและการคั่งของชี่และเลือดในเส้นลมปราณ



การวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการโรค
1. ปวดจากความเย็น ความชื้น และลม  
อาการปวดจะกำเริบบ่อยครั้งหลังกระทบความเย็นและความชื้น โดยอาการปวดมีลักษณะปวดเมื่อย ตึง รู้สึกหนักๆ เย็นๆ หรือเกร็ง  บริเวณเอวกระเบนเหน็บ ทำให้ก้ม เงย เคลื่อนไหวไม่สะดวกหรือขัด
ลิ้น           ฝ้าขาวเหนียว.
ชีพจร       มีได้หลายแบบตามสาเหตุของโรค

2. ชี่ของไตพร่อง
อาการดำเนินไปอย่างช้าๆ ปวดเมื่อยไม่รุนแรง  บริเวณกระเบนเหน็บ  อาการปวดมากขึ้นหลังทำงาน  เอวและขาอ่อนแรง สีหน้าซีด  
ลิ้น           สี ค่อนซีด                            
ชีพจร       เล็ก-จม (Chen Xi Mai   沉细脉)

3. เลือดและชี่คั่ง
อาจมีประวัติได้รับบาดเจ็บบริเวณเอว  มีอาการปวดเฉพาะที่เหมือนถูกเข็มทิ่มแทง อาการมากขึ้นเมื่อนั่งนาน  ทำงานหนักตรากตรำ หรือมีการเคลื่อนไหวหลังหรือเอว
ลิ้น       ม่วง                         
ชีพจร   ตึง-ฝืด (XianSeMai  弦涩脉 )

แนวทางการรักษาด้วยวิธีแพทย์จีน

1. การฝังเข็มระบบเส้นลมปราณ 
จุดหลักและจุดเสริม  บริเวณเอว , จุดกดเจ็บ
- สาเหตุจากลม เย็น ชื้น  
- ชี่ของไตพร่อง 
- กรณีเลือดคั่ง  


2. การฝังเข็มหู
อาจใช้การรักษาด้วยเม็ดแม่เหล็กติดหูตามจุดดังกล่าว


3. Electrotherapy
ใช้ไฟฟ้ากระตุ้น 20  นาที โดยใช้ไฟ Dense wave หรือ  Sparse-dense wave ให้การรักษาวันละครั้ง


ข้อมูลประกอบบทความ  : การฝังเข็มรมยา เล่ม 2
การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้