Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 131794 จำนวนผู้เข้าชม |
De-Quervain's Disease 桡骨茎突狭窄性腱鞘炎
โรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ
เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเส้นเอ็นและเยื่อหุ้มเส้นเอ็น ตรงบริเวณข้อมือ (โคนนิ้วหัวแม่มือ) ทำให้เกิดอาการบวม อาการปวด และ มีการหนาตัวของปลอกหุ้มเส้นเอ็นลักษณะคล้ายก้อนได้
Cr.Photo : www.healthism.co/de
De-Quervain's Disease
เป็นภาวะการอักเสบเรื้อรังของเส้นเอ็นบริเวณที่ลอดผ่านปลอกเส้นเอ็น ซึ่งเป็นตำแหน่งที่รับน้ำหนักและมีการเสียดสีมากกว่าบริเวณอื่น ซึ่งโดยปกติบริเวณที่มีการเสียดสีมากจะมีเยื่อหุ้มเส้นเอ็นที่หุ้มทั้งด้านในผนังของปลอกเส้นเอ็นและด้านนอกเส้นเอ็น เพื่อช่วยลดการเสียดสีที่เกิดจากการใช้งานมากเกินไป ทำให้เยื่อหุ้มเอ็นทั้งสองฝั่งหนาตัวขึ้น ทำให้ช่องว่างในปลอกเส้นเอ็นตีบลง ทำให้เส้นเอ็นที่ลอดผ่านเคลื่อนไหวได้ยากขึ้น
เป็นโรคที่เกิดการอักเสบของปลอกหุ้มเส้นเอ็นและเยื่อหุ้มเส้นเอ็น 2 เส้นคือ abductor pollicis longug (APL) และ extensor pollicis brevis (EPB) ลอดผ่านปลอกเส้นเอ็น first extensor retinaculum
สาเหตุการเกิดโรค
โรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบมักมักจะมีสาเหตุจากการทำงานโดยใช้งานของนิ้วหัวแม่มือในท่าเหยียดนานๆซ้ำๆบ่อยๆ มากเกินไป เช่น ในท่า กางนิ้วหัวแม่มือออกทางด้านข้างและกระดกขึ้น, ใช้ข้อมือเยอะๆ หรือ ในบางรายอาจพบว่าเคยมีการบาดเจ็บในตำแหน่งนี้มาก่อน จนกระทั่งเกิดการอักเสบเรื้อรังตามพยาธิสภาพ ดังได้กล่าวมาแล้ว
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง
เช่น พนักงานที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือเม้าส์ เป็นเวลานาน, แม่บ้านทำความสะอาดบ้าน, นักจิตรกร หรือนักกีฬาประเภทแบดมินตัน, เทเบิ้ลเทนนิส ,วอลเลย์บอล เป็นต้น มีอุบัติการณ์พบได้ในผู้หญิงน้อยกว่าผู้ชาย 6-10 และพบมากในช่วงอายุ 30-60 ปี
อาการและอาการแสดง
อาจสังเกตพบการอักเสบคือ ปวด-บวม-แดง-ร้อน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเจ็บและบวมบริเวณข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือ บวมบริเวณเอ็นตรงโคนนิ้วหัวแม่มือ อาการอาจจะค่อยเป็นค่อยไป หรืออาจจะเกิดทันที อาการปวดอาจจะร้าวไปข้อศอก อาจจะมีอาการชาด้านหลังนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ อาการจะปวดมากโดยเฉพาะเวลาหยิบหรือจับสิ่งของหรือมีการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ เช่น เวลาเหยียดและงอนิ้วหัวแม่มือเต็มที่ บิดเสื้อผ้า ยกขันน้ำ กวาดพื้น อุ้มลูก เป็นต้น
การตรวจร่างกาย
การตรวจที่สำคัญคือ
1. ผู้ป่วยต้องมีการกดเจ็บ (tenderness) บริเวณ first dorsal compartment หรือ ประมาณ 1 เซนติเมตร proximal ต่อ radial styloid
2. การตรวจร่างกายที่จำเพาะสำหรับโรคนี้ “ Finkelstein’s test”
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Finkelstein’s test มีการตรวจ 3 ขั้นตอน
1.ขั้นแรกผู้ตรวจจับกระดูกฝ่ามือ (metacarpal)ของนิ้วหัวแม่มือให้ค้างไว้ในท่า full adduction โดยให้ข้อมืออยู่ในท่าneutral
2.ขั้นตอนที่สองให้เลื่อนนิ้วมือของผู้ตรวจมาที่กระดูก proximal phalanxของนิ้วหัวแม่มือ กดข้อmetacarpophalangeal joint (MCPJ)ของนิ้วหัวแม่มือให้อยู่ในท่างอเต็มที่ (full flexion) โดยที่กระดูกฝ่ามือยังอยู่ในท่ากระดูก full adduction และข้อมืออยู่ในท่าneutral เหมือนเดิม ผู้ป่วยบางรายจะเริ่มมีอาการปวดบริเวณปุ่มกระดูก radial styloid แปรว่าผลการตรวจเป็นบวก
3.ขั้นตอนที่สามให้ผู้ตรวจกดนิ้วหัวแม่มือของผู้ป่วยค้างไว้ให้กระดูกฝ่ามืออยู่ในท่า full adduction และข้อMCPJ อยู่ในท่างอเต็มที่ค้างไว้ จากนั้นจึงกดข้อมืออยู่ในท่า full ulnar deviation ผู้ป่วยจะมีอาการข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือ ปวดบริเวณปุ่มกระดูก radial styloid แปรว่าผลการตรวจเป็นบวก
การรักษา (แพทย์แผนปัจจุบัน)
การดูแลรักษาควรเริ่มต้นด้วยวิธีการอนุรักษ์ โดยการพักใช้งาน ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้งานข้อมือ การประคบอุ่น และให้ยาแก้ปวด นอกจากนั้นพิจารณาใส่ wrist splint หรือใช้วิธีทางกายภาพบำบัด เพื่อลดอาการปวด
* ในรายที่ผู้ป่วยมีอาการปวดมาก อาจใช้วิธีการฉีดสเตียรอยด์เข้าไปใน synovial sheath ของ dorsal first extensor compartment ถ้าหากรักษาด้วยวิธีต่างๆดังข้างต้นแล้วไม่ประสบความสำเร็จ แพทย์พิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด decompression of the first extensor compartment
มุมมองในทางแพทย์แผนจีน
ในทางการแพทย์แผนจีนจะเรียกโรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบเป็นการบาดเจ็บของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ ( 伤筋 ) ซึ่งสาเหตุเกิดจากการเส้นเอ็นบริเวณข้อมือและนิ้วมือ ใช้งานที่หักโหมจนทำให้เกิดอาการบาดเจ็บสะสมเรื้อรัง และได้รับความเย็น ความชื้น มากระทบทำให้เส้นลมปราณถูกอุดกั้น จึงทำให้ชี่และเลือดเกิดการติดขัดไหลเวียนไม่คล่อง เมื่อชี่และเลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงเส้นเอ็นกล้ามเนื้อได้ จึงทำให้เกิดอาการเจ็บปวดขึ้น
การรักษาด้วยการทุยหนา (นวดจีน)
หลักการรักษา : คลายเส้นเอ็น ทะลวงเส้นลมปราณ เพิ่มการไหลเวียน
ท่าทางที่ใช้ในการรักษา : การกด การคลึง การเค้น การดัน การถู การเขย่า ฯ
ขั้นตอนการรักษา : แช่ยาจีน นวดทุยหนา ฝังเข็ม พอกยาจีน
แพทย์จีน ธีรา อารีย์ (หลิน ซี หยวน)
แผนกทุยหนา
20 ม.ค. 2568
26 ก.ย. 2567
15 พ.ย. 2567
12 พ.ย. 2567