มะเร็งปอด กับการรักษาด้วยแพทย์แผนจีน

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  18003 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มะเร็งปอด กับการรักษาด้วยแพทย์แผนจีน

อาการที่คล้ายโรค มะเร็งปอด เริ่มมีการบันทึกไว้ใน **คัมภีร์หวงตี้เน่ย์จิง และ ซางหานลุ่น รวมถึงคัมภีร์อื่น ๆ ในยุคสมัยประวัติศาสต์ของประเทศจีน โดยการแพทย์แผนจีนรู้จักโรคมะเร็งปอดจากสาเหตุและกลไกการเกิดโรคที่สำคัญ ได้แก่ พลังชี่และเลือดพร่องลง, พลังชี่และเลือดติดขัด, เสมหะอุดกั้นในปอด, พิษจากเสียชี่เข้ามากระทบ, เส้นลมปราณปอดถูกทำลาย

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอดในมุมมองของการแพทย์แผนจีน

  • ทุนก่อนกำเนิดไม่สมบูรณ์
  • ลมปราณต้านทานโรค (เจิ้งชี่) ถูกบั่นทอน
  • พิษของเสียชี่เข้ามากระทบ
  • อารมณ์ถูกกระทบ
  • ทานอาหารไม่ถูกต้อง
  • การดำเนินชีวิตที่ไม่มีระเบียบแบบแผน

การรักษาโรคมะเร็งปอดในแบบแพทย์แผนจีน

หมอจีนจะทำการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดตามระยะที่เกิดโรค ดังนี้

  • โรคมะเร็งปอดระยะเริ่มต้น (เสียชี่แกร่งเป็นหลัก) รักษาโดยการกระตุ้นระบบการไหลเวียนเลือด สลายเลือดคั่ง สลายเสมหะที่คั่งค้าง ขับพิษและความร้อน บำรุงม้ามและขับความชื้น
  • โรคมะเร็งปอดในระยะลุกลาม หรือระยะสุดท้าย (เจิ้งชี่พร่องเป็นหลัก) รักษาโดยการบำรุงชี่ เสริมอิน ขับพิษและความร้อน บำรุงม้ามและขับความชื้น

การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดในแบบแพทย์แผนจีน
เลือดคั่งและชี่ติดขัด
อาการ :
ไอ เจ็บหน้าอกเหมือนมีเข็มมาแทง เจ็บเป็นบริเวณที่แน่นอน แน่นหน้าอก หรือเสมหะมีเลือดสีคล้ำ ท้องผูก คอแห้ง ริมฝีปากม่วงคล้ำ ลิ้นแดงคล้ำ มีจุดคล้ำ ฝ้าลิ้นบาง ชีพจรเล็กฝืดหรือเล็กตึง
รักษาโดยโภชนาการบำบัด ได้แก่ อาหารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนของชี่และเลือด เช่น ชาดอกคำฝอยเปลือกส้ม ชาดอกคำฝอยกุหลาบ เห็ดหูหนูดำ กระเทียม

ม้ามพร่องร่วมกับเสมหะและความชื้น
อาการ :
อ มีเสมหะมากลักษณะขาวและเหนียว หายใจสั้น แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย ถ่ายเหลว ลิ้นสีซีด ฝ้าลิ้นขาวและเหนียว ชีพจรเล็กหรือลื่น
รักษาโดยโภชนาการบำบัดด้แก่ อาหารที่มีฤทธิ์บำรุงม้าม สลายเสมหะ เช่น เม็ดบัว ฟักทอง ข้าวโพด แครอท ห่วยซัว ถั่วเหลือง (ไม่ควรทานอาหารรสมันและเผ็ด)

อินพร่องร่วมกับพิษร้อนสะสม
อาการ :
อ แต่ไม่มีเสมหะหรือเสมหะมีปริมาณน้อยและเหนียว หรือมีเลือดปน หรือไอเป็นเลือดออกมาในปริมาณมาก ไอไม่หยุด ร่วมกับมีอาการเจ็บที่หน้าอก หายใจสั้น เร็ว รู้สึกกระวนกระวาย นอนไม่หลับ ร้อนวูบวาบและมักจะมีเหงื่อออกในตอนกลางคืน หรือมีไข้สูง ไข้ไม่ลด ปากคอแห้ง กระหายน้ำ ปัสสาวะมีสีเหลืองและเข้ม อุจจาระแข็ง ลิ้นแดง ฝ้าลิ้นเหลืองและแห้งหรือไม่มีฝ้า ชีพจรเล็กเร็วหรือใหญ่เร็ว

รักษาโดยโภชนาการบำบัด ได้แก่ อาหารที่มีฤทธิ์บำรุงอินและขับความร้อน เช่น เนื้อเป็ด เนื้อห่าน เห็ดหูหนูขาว ถั่วเขียว คั๊กฮก แต่ไม่ควรทานยาหรืออาหารที่มีฤทธิ์ร้อน เช่น เขากวางอ่อน เนื้อวัว เนื้อแพะ กุ้ง ลำไย ทุเรียน ลิ้นจี่ หรืออาหารที่มีรสเผ็ด

ชี่และอินพร่อง
อาการ : ไอ เสมหะน้อย หรือเสมหะเหนียว ไอเสียงเล็ก หายใจสั้นหอบ อ่อนเพลีย รู้สึกเจ็บแบบหน่วง ๆ บริเวณหน้าอกและหลัง เหงื่อออกง่ายหรือเหงื่อออกตอนกลางคืน ปากแห้งคอแห้ง ลิ้นแดง มีเสมหะน้อย ชีพจรเล็ก ไม่มีแรง
รักษาโดยโภชนาการบำบัดด้แก่ อาหารที่มีฤทธิ์บำรุงชี่และอิน เช่น โสมอเมริกัน ห่วยซัว สาลี่ ปลิงทะเล ลูกหม่อน รังนก เก๋ากี๊

ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดและบทบาทของแพทย์แผนจีน

  • รู้สึกเจ็บปวดบริเวณแผลผ่าตัด
  • แผลผ่าตัดมีการอักเสบ
  • มีอาการอ่อนเพลีย

บทบาทของแพทย์แผนจีน
สำหรับลักษณะอาการของผลข้างเคียงจากการผ่าตัดโรคมะเร็งปอด มีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายสูญเสียพลังชี่และเลือด ชี่และเลือดคั่งค้าง จึงเกิดเป็นพิษร้อน แพทย์แผนจีนจะทำการรักษาโดยการบำรุงชี่และเลือด ขับพิษร้อน

อาหารบำรุงตามลักษณะอาการ
ซุปหวงฉีปลากระพง มีส่วนผสมที่ช่วยบำรุง ได้แก่ ปลากระพงหันแผ่นบาง 250 กรัม, หวงฉี 15 กรัม, ตังเซียม 10 กรัม, พุทราจีน 20 กรัม, ลูกเดือย 30 กรัม, ขิงซอย 15 กรัม, ต้นหอม 1 ต้น

 

ผลข้างเคียงจากเคมีบำบัดและบทบาทของแพทย์แผนจีน

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • อ่อนเพลีย
  • เม็ดเลือดขาวต่ำ (ติดเชื้อง่าย)
  • เม็ดเลือดแดงต่ำ (ตัวซีด)
  • เกล็ดเลือดต่ำ (เลือดออกง่าย)
  • ผมร่วง
  • มีไข้

บทบาทของแพทย์แผนจีน
สำหรับลักษณะอาการของผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด มีสาเหตุมาจากการที่พิษจากภายนอกเข้ามากระทบม้ามและไต ทำลายชี่และเลือด หลักการรักษาโดยการบำรุงม้ามและไต บำรุงชี่และเลือด

อาหารบำรุงตามลักษณะอาการ
ซุปห่วยซัวไก่ดำ 
มีส่วนผสมที่ช่วยบำรุง ได้แก่ ห่วยซัว 20 กรัม ไก่ดำ 250 กรัม พุทราจีน 20 กรัม เก๋ากี๊ 15 กรัม ขิงแผ่น 15 กรัม

 

ผลข้างเคียงจากการฉายแสงและบทบาทของแพทย์แผนจีน

  • ผิวหนังแดงคล้ำ หรือแห้งคัน
  • รู้สึกเจ็บเวลากลืนอาหาร
  • ไอแห้ง ๆ เล็กน้อย
  • อ่อนเพลีย

บทบาทของแพทย์แผนจีน
สำหรับลักษณะอาการของผลข้างเคียงจากการฉายแสง ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน มองว่ามีสาเหตุมาจากพิษร้อนเผาทำลายชี่และสารน้ำ หลักการรักษาโดยการให้ยาบำรุงสารน้ำ สารอิน และชี่ ร่วมกับยาขับความร้อน

อาหารบำรุงตามลักษณะอาการ
ซุปสาลี่ถั่วเขียวเห็ดหูหนูขาว มีส่วนผสมที่ช่วยบำรุง ได้แก่ สาลี่ 1ลูก ถั่วเขียว 70 กรัม เห็ดหูหนูขาว 15 กรัม ป๋ายเหอ 20 กรัม น้ำตาลกรวด 1 - 2 ช้อนโต๊ะ

 

การฝึกควบคุมลมหายใจ ให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งปอด

การหายใจด้วยหน้าท้อง(腹式呼吸法)

วิธีการฝึกหายใจด้วยหน้าท้อง

1.  ให้ท่านจินตนาการว่า บริเวณท้องน้อยของท่านมีถุงลมเล็ก ๆ อยู่

2. ให้ท่านค่อย ๆ หายใจเข้าทางจมูก โดยให้อากาศไหลผ่านหน้าอก หน้าท้อง ลงไปถึงถุงลมเล็ก ๆ นั่น

3. ในขณะนี้ บริเวณท้องน้อยของท่านจะค่อย ๆ พองขึ้นอย่างช้า ๆ หลังจากนั้นให้ท่านค่อย ๆ หายใจออกทางจมูก โดยให้เอาอากาศในถุงลมเล็ก ๆ นั้นออกมาด้วย

** เมื่อหายใจเข้า ท้องน้อยต้องพองขึ้น และเมื่อหายใจออก ท้องน้อยต้องแบนราบ

** ในการหายใจเข้า – ออก ให้นับเป็น 1 ครั้ง

** ในช่วงเริ่มต้นให้ทำวันละ 50 ครั้ง และค่อย ๆ ทำเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไปจนถึงวันละ 15 นาที

 

บทความโดย
แพทย์จีน วรพงศ์ ชัยสิงหาญ
คลินิกอายุรกรรมโรคมะเร็ง

 

คลิกอ่านบทความที่เกี่ยวข้อง เรื่อง สารพันคำถามโรคมะเร็ง 

**คัมภีร์หวงตี้เน่ย์จิง : เป็นผลงานของปราชญ์หลายคนในยุคจั้นกั๋วของประเทศจีน โดยเนื้อหาในคัมภีร์หวงตี้เน่ย์จิงจะกล่าวถึง การเรียนวิชาแพทย์ จรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ หลักพื้นฐานของเรื่องอิน - หยาง (Yin - Yang) ธาตุทั้งห้า และหลักธรรมชาติ 6 ประการ อ่านต่อ

 

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้