โรคโพรงจมูกและไซนัสอักเสบ Rhinosinusitis

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  17270 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคโพรงจมูกและไซนัสอักเสบ Rhinosinusitis

โรคโพรงจมูกและไซนัสอักเสบ หมายถึงโรคที่มีการอักเสบของเนื้อเยื่อบุบริเวณโพรงจมูกและไซนัส อาการสำคัญคือ มีน้ำมูกไหลมาก ปวดศีรษะ คัดแน่นจมูก  การรักษาที่ไม่เหมาะสมจะทำให้อาการอักเสบเฉียบพลันเปลี่ยนเป็นชนิดเรื้อรัง 

สาเหตุการเกิดโรค
ศาสตร์การแพทย์แผนจีนเห็นว่าโรคนี้มีสาเหตุมาจากลมเย็น หรือลมร้อนเข้ากระทำต่อปอด เป็นผลให้เกิดมีความร้อนสะสม (pathogenic heat)  ส่งผลต่อเส้นลมปราณที่ผ่านบริเวณจมูก  การรับประทานอาหาร ที่มีรสหวานจัด มันจัด จะทำให้เกิดความชื้นสะสมภายในเป็นผลให้มีชี่ของตับติดขัด การติดขัดทำให้เกิดไฟในเส้นลมปราณตับและถุงน้ำดีทำให้ชี่และเลือดคั่งอุดกั้นรูทวารของจมูกมีผลต่อรูเปิดของโพรงจมูกที่อยู่ด้านบน 

 การวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการโรค
1. ลมเย็นภายนอก
อาการแสดง มีอาการคัดจมูก น้ำมูกใส จำนวนมาก ปวดเมื่อยตามตัว ไม่มีเหงื่อ กลัวหนาว
ลิ้น   :   ซีด ฝ้าขาวบาง
ชีพจร  : ลอย ตึงแน่น  


2. ลมร้อนจากภายนอก

อาการแสดง มีอาการคัดจมูกแต่แห้ง คันจมูก ลมหายใจร้อน น้ำมูกน้อยเหลืองข้น มีไข้ กลัวลม ปวดศีรษะ เจ็บคอ คอแห้ง
ลิ้น    :   แดง ฝ้าขาวหรือเหลืองเล็กน้อย
ชีพจร  ลอย เร็ว 


3. ชี่ติดขัดเลือดคั่ง
อาการแสดง น้ำมูกเหนียวปริมาณมาก สีขาวหรือเหลืองข้น การรับกลิ่นลดลง
ลิ้น    :   แดงหรือมีจุดจ้ำเลือด
ชีพจร  : ตึง เล็ก ฝืด 


5.ชี่พร่องเสียชี่ตกค้าง
คัดจมูกเรื้อรังมากบ้างน้อยบ้าง กลางคืนมีอาการมากกว่ากลางวัน น้ำมูกเหนียวแต่ใส
เมื่ออากาศเย็นอาการจะรุนแรงขึ้น รู้สึกวิงเวียนและหนักศีรษะ 
ลิ้น    :   แดงอ่อน ฝ้าขาวบาง
ชีพจร : ค่อนข้างช้า                              

หลักการรักษาแบบแพทย์แผนจีน
แนวคิดในการรักษาคือ การไล่ลม  ระบายความร้อนจากภายนอก    กระจายชี่ปอด เปิดทวารจมูก  กำจัดไฟตับและถุงน้ำดี 

1.การฝังเข็มระบบเส้นลมปราณ
จุดเสริมเพื่อบำรุงรักษาภาวะ/กลุ่มอาการ
- ลมเย็นภายนอก 
- ลมร้อนจากภายนอก 
- ชี่ติดขัดเลือดคั่ง  
- ชี่พร่องเสียชี่ตกค้าง 
- ชี่ปอดพร่อง 
- ชี่ม้ามพร่อง  
- ไตพร่อง  

2. การใช้เข็มหู
จุดที่ใช้    : External Nose, Internal Nose, Forehead, Lung, Large intestine, Adrenal gland, Spleen, Kidney  
ฝังเข็มกระตุ้นแบบระบาย   รักษาวันละครั้ง สลับหูซ้ายขวา หรือบางกรณีรักษาโดยการกดด้วยเม็ดหวังปู้หลิวสิง รักษา 10 ครั้งเป็น 1 รอบการรักษา                              
           
3. การรมยา
แพทย์จีนจะใช้วิธีรมยาด้วย  Indirect   moxibustion  โดยใช้ moxa cone คั่นด้วยขิงขนาดหนา 0.1 ชุ่น   เผาจนกระทั่งขิงเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเทา  โดยปกติประมาณ 4-5 cones  ต่อครั้งต่อวันกระตุ้นที่จุดฝังเข็ม ประมาณ 10-20 นาที

 หมายเหตุ

1. ถึงแม้ว่าการฝังเข็มจะได้ผลดีสำหรับอาการน้ำมูกไหล แต่ควรใช้การรักษาแบบผสมผสานร่วมด้วย เช่น การให้ยา (ยาแผนจีน หรือยาแผนปัจจุบัน) เพื่อหยุดยั้งโรคให้ได้ในระยะเฉียบพลัน เพราะหากว่าเป็นแบบเรื้อรังแล้ว การรักษาจะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น


2. ในรายที่เป็นเรื้อรังบ่อยครั้ง ควรส่งผู้ป่วยไปรับการตรวจพิเศษ เพราะอาจมีสาเหตุมาจากเนื้องอก

 
ข้อมูลประกอบบทความ  : " หนังสือการฝังเข็ม รมยา เล่ม 2"
Acupuncture & Moxibusion Volume 2
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข
ISBN 978-616-11-0277-7


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้