โรคอะไรที่ทำให้ฉันเป็นเหมือนผู้ชาย

Last updated: 20 ม.ค. 2568  |  33 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคอะไรที่ทำให้ฉันเป็นเหมือนผู้ชาย

โรคอะไรที่ทำให้ฉันเป็นเหมือน "ผู้ชาย"? แพทย์แผนจีนมีคำตอบ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome/PCOS)
มาตรวจในทางคลินิกนรีเวชจำนวนมาก โรคนี้จะทำให้มีความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ
มีฮอร์โมนเพศชายที่สูงเกินกว่าสภาวะปกติ จึงส่งผลให้เกิดภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง
ประจำเดือนจึงมาไม่ปกติหรือขาดหายไป เกิดภาวะมีบุตรยาก ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ภาวะอ้วนลงพุง
ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน และโรคเบาหวานมากขึ้นในอนาคต
และสิ่งเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับอุปนิสัยในการใช้ชีวิตประจำวันของคุณอย่างใกล้ชิด
อาการทางคลินิก เช่น
1. ประจำเดือนมาผิดปกติ เช่น ประจำเดือนมานาน ประจำเดือนมามากหรือน้อยผิดปกติ
ประจำเดือนไม่มาติดต่อกันนานหลายเดือน ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เป็นต้น
2. ภาวะมีบุตรยาก
3. ตรวจUltrasound พบถุงน้ำหลายใบในรังไข่
4. อาการแสดงของฮอร์โมนเพศชายที่สูงเกินกว่าสภาวะปกติ เช่น มีสิวมาก หน้ามัน ขนดก ศีรษะล้าน
ผมบาง เป็นต้น
5. ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน หรือตรวจพบภาวะเบาหวานร่วมด้วย
การวินิจฉัยในทางแพทย์จีน
1. ภาวะ/กลุ่มอาการไตพร่อง(肾虚):ประจำเดือนมาช้ากว่ากำหนด ปริมาณประจำเดือนน้อย
สีเลือดแดงซีด ลักษณะเหลวใส หรืออาจพบประจำเดือนมาแบบกะปริบกะปรอย มามาก
หรือมาติดต่อเป็นเวลานาน ปวดเมื่อยเอวและเข่า เวียนศีรษะ หูอื้อ หน้าซีด อ่อนเพลีย กลัวหนาว
ถ่ายเหลว สีลิ้นซีด ฝ้าบาง ชีพจรจมเล็กไม่มีแรง(Chen Xi Mai沉细脉)
2. ภาวะ/กลุ่มอาการเสมหะความชื้นอุดกั้น(痰湿阻滞): ประจำเดือนมาช้ากว่ากำหนด
ปริมาณประจำเดือนน้อย สีเลือดแดงซีด ลักษณะเหนียวข้น หรืออาจพบประจำเดือนขาดหาย
ตกขาวปริมาณมาก อึดอัดแน่นหน้าอก รูปร่างอ้วน มีเสมหะติดคอ ขนดก อ่อนเพลีย รู้สึกตัวหนักๆ
สีลิ้นซีด ฝ้าขาวเหนียว ชีพจรลื่น(Hua Mai 滑脉)
3. ภาวะ/กลุ่มอาการชี่ติดขัดเลือดคั่ง(气滞血瘀):ประจำเดือนมาช้ากว่ากำหนด
ปริมาณประจำเดือนอาจน้อยหรือมากกว่าปกติ มาแบบกะปริบกะปรอย มาติดต่อเป็นเวลานาน
สีเลือดคล้ำ ลักษณะเหนียวข้น มีก้อนลิ่มเลือด หรืออาจพบประจำเดือนขาดหาย คัดตึงหน้าอก

ปวดแน่นท้องน้อย เจ็บตึงชายโครง สีลิ้นแดงคล้ำ มีจุดจ้ำเลือด ฝ้าบาง ชีพจรตึงหรือฝืด(Xian Se
Mai弦涩脉)
4. ภาวะ/กลุ่มอาการเส้นลมปราณตับชื้นร้อน(肝经湿热):ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
ประจำเดือนมาน้อยหรือประจำเดือนขาดหาย รูปร่างสูงใหญ่ ขนดก ใบหน้ามีสิวเยอะ
ก่อนมีประจำเดือนจะคัดตึงหน้าอก ท้องผูก สีลิ้นแดง ฝ้าเหลืองบาง ชีพจรตึงเร็ว(Xian Shu Mai弦
数脉)

การดูแลป้องกันและการรักษา

1. ลดความอ้วน ควบคุมน้ำหนัก ควบคุมอาหาร เมื่อลดน้ำหนักได้ในเกณฑ์ปกติ
การทำงานของฮอร์โมนในร่างกายจะกลับมาใกล้เคียงปกติ ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ
2. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีฤทธิ์เย็น หวาน มัน ทอด

3. พักผ่อนให้เพียงพอ

4. กรณีเข้ารับการรักษาจากแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์จีนหรือแพทย์แผนปัจจุบัน
ควรทานยาและปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด
4.1 การรักษาในทางการแพทย์แผนจีนสามารถทำได้ทั้งการทานยาสมุนไพรจีนและการฝังเข็ม
ซึ่งการรักษาทั้งสองแบบนั้นจะมีกลไกการทำงานเพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของชี่และเลือด
กระตุ้นระบบประสาท ขับเสมหะความชื้นในร่างกายเพื่อช่วยในการควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น
4.2 กรณีคนไข้มีการรักษาควบคู่กับแพทย์แผนปัจจุบัน
ผู้ที่ไม่ต้องการมีบุตรแพทย์อาจให้ทานยาฮอร์โมน ช่วยให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ
ส่วนผู้ที่ต้องการมีบุตร แพทย์อาจรักษาด้วยการให้ยากระตุ้นการตกไข่
หากไม่ได้ผลอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อกระตุ้นการตกไข่และการตั้งครรภ์

5. ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว ได้แก่ การรักษาภาวะดื้ออินซูลิน
ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด
รักษาและป้องกันเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว เป็นต้น

บทความโดย : พจ.ปะการัง เขตคาม (ข่ายซิน)
คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว สาขาโคราช

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้