Last updated: 29 พ.ย. 2567 | 42 จำนวนผู้เข้าชม |
“เครียดลงกระเพาะ”พบได้บ่อยในวัยทำงาน เนื่องจากความเครียดกดดันและเร่งรีบจากภาระงาน ส่วนคนที่คิดมาก ชอบวางแผนก็อาจจะมีอาการเครียดลงกระเพาะได้เช่นกัน
มุมมองแพทย์แผนจีน “เครียดลงกระเพาะ” มีบันทึกมายาวนานกว่าสองพันกว่าปีในคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า “การที่ไม้(ตับ)อัดอั้น ทำให้ผู้คนปวดกระเพาะอาหาร” (木郁之发,民病胃脘当心而痛。)
“ความเครียด” ทำให้ชี่ตับอัดอั้น ไหลเวียนไม่สะดวก ย้อนกลับมาข่มกระเพาะอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารทำงานแย่ลง มีอาการท้องอึด ปวดแน่นกระเพาะ เรอ สะอึก อาเจียน ปวดเสียดชายโครง เป็นต้น
Source: https://alllinkmedical.sg/tcm-5-elements-theory/
วิธีกดจุดเพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้น
1. จุดไท่ชง(太冲)
ตำแหน่ง : อยู่หลังเท้า ของร่องกระดูกเท้าที่1และ2
สรรพคุณ : ปรับการไหลเวียนชี่ตับ ช่วยผ่อนคลาย เพิ่มการไหลเวียนเลือด ทะลวงเส้นลมปราณ ลดหยางของตับ
วิธีกดจุด : ใช้นิ้วโป้งกดนวดเบาๆ3-5 นาที/ครั้ง นวด 2 เวลา เช้า-เย็น
2. จุดจู๋ซานหลี่(足三里)
ตำแหน่ง : อยู่ใต้เข่า ด้านนอกของกระดูกหน้าแข้ง
สรรพคุณ : ปรับสมดุลกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยย่อย บรรเทาอาการท้องอืด ลดบวมน้ำ ปรับสมดุลชี่และเลือด เป็นจุดที่ใช้บำรุงร่างกาย
วิธีกดจุด : ออกแรงกดจุดประมาณ 10 วินาที หลังจากนั้นนวดคลึงประมาณ 10 วินาที ทำซ้ำจนครบ 3 นาที นวดกดจุดทีละข้าง
3. จุดจางเหมิน(章门)
ตำแหน่ง : อยู่บริเวณชายโครง ด้านล่างของปลายซี่โครงที่ 11
สรรพคุณ : ปรับการไหลเวียนชี่ตับ ปรับสมดุลม้ามและกระเพาะอาหาร เพิ่มการไหลเวียนเลือดสลายเลือดคั่ง
วิธีกดจุด : ใช้นิ้วโป้งกดนวดเบาๆ รู้สึกตึงหน่วงเล็กน้อย นวดครั้งละ3-5 นาที นวด 2 เวลา เช้า-เย็น
------------------------
บทความโดย
แพทย์จีนอาวุโส ปิยะมาศ เมืองใชย (หมอจีน ปี้ หย่า หม่า)
毕雅玛 中医师
TCM. Dr. Piyamas muangchai (Bi Ya Ma)
แผนกฝังเข็ม 针灸科 (Acupuncture Department)
15 พ.ย. 2567
14 พ.ย. 2567
14 พ.ย. 2567
14 พ.ย. 2567