การรักษาเคสอัมพาตใบหน้า Bells Palsy ดัวยการฝังเข็ม

Last updated: 12 พ.ย. 2567  |  366 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การรักษาเคสอัมพาตใบหน้า Bells Palsy ดัวยการฝังเข็ม

Bell’s Palsy เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดของอัมพาตใบหน้า (Facial paralysis)   เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทสมองคู่ที่7 พบได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่พบได้บ่อยในช่วงอายุ 15 – 45 ปี ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด สันนิษฐานว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น เริม งูสวัด เป็นต้น มักเกิดในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ พักผ่อนไม่เพียงพอ เครียด ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสได้ง่าย(1)

สาเหตุและกลไกการเกิดโรคในทางการแพทย์จีน

มักสัมพันธ์กับการตรากตรำทำงานหนัก เจิ้งชี่ไม่เพียงพอ ลมเย็นหรือลมร้อนเข้ารุกรานเส้นลมปราณ ทำให้ชี่และเลือดอุดกั้น เส้นลมปราณเอ็นขาดสมดุล เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อขาดการควบคุม จึงทำให้หน้าเบี้ยว กลไกการเกิดโรค คือ ชี่ของเส้นลมปราณอุดกั้น   เส้นลมปราณเอ็นขาดสมดุล

การวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการ แบ่งการวินิจฉัยตามกลุ่มอาการ 4 ประเภท

1. กลุ่มอาการลมเข้าสู่เส้นลมปราณ(风邪入络证)
อาการ : อาการเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หลังจากตื่นนอนเมื่อล้างหน้า แปรงฟัน หรือรับประทานอาหารพบว่าหน้าเบี้ยวปากเบี้ยว ใบหน้าฝั่งพยาธิสภาพหลับตาไม่สนิท น้ำตาไหล ยักคิ้วไม่ได้ ย่นจมูกไม่ได้ ยิงฟันไม่ได้ มีลมรั่ว น้ำลายไหลออกจากมุมปาก ร่องที่หน้าผากรวมทั้งร่องแก้มตื้นขึ้น ลิ้นชมพู  ฝ้าที่ลิ้นขาวบาง ชีพจรลอย

วิธีรักษา :  ขจัดลม ทะลวงเส้นลมปราณ ปรับสมดุลเส้นลมปราณเอ็น

2. กลุ่มอาการลมและเสมหะอุดกั้นเส้นลมปราณ(风痰阻络证)
อาการ : หน้าเบี้ยวเฉียบพลัน ร่วมกับมีอาการชาที่ใบหน้า ปวดหลังหู แขนขาอ่อนแรง รับประทานอาหารได้น้อย ลิ้นชมพู  ฝ้าที่ลิ้นเหนียวหรือหนา ชีพจรลอยลื่น
วิธีรักษา :  ขจัดลมและเสมหะ ทะลวงเส้นลมปราณ ปรับสมดุลเส้นลมปราณเอ็น

3. กลุ่มอาการลมร้อน(风热犯络证)
อาการ : หน้าเบี้ยวเฉียบพลัน ร่วมกับปวดเมื่อยตัว มีไข้ กลัวลม หรือเจ็บคอ ลิ้นค่อนข้างแดง ฝ้าที่ลิ้นเหลืองบาง ชีพจรลอยเร็ว
วิธีรักษา : ขจัดลมร้อน ทะลวงเส้นลมปราณ ปรับสมดุลเส้นลมปราณเอ็น

4. กลุ่มอาการลมเย็น(风寒犯络证)
อาการ : มีประวัติกระทบลมเย็น หลังจากนั้นหน้าเบี้ยวเฉียบพลัน ร่วมกับปวดเมื่อยตัว กลัวหนาว ปวดตึงศีรษะและต้นคอ หรือมีน้ำมูกใส ลิ้นชมพู ฝ้าที่ลิ้นขาวบาง ชีพจรลอยแน่น
วิธีรักษา :  ขจัดลมเย็น ทะลวงเส้นลมปราณ ปรับสมดุลเส้นลมปราณเอ็น

ตัวอย่างกรณีการรักษาอัมพาตใบหน้า Bell’s Palsy

ข้อมูลผู้ป่วย

รหัสผู้ป่วย : HN 264XXX

ชื่อ : คุณ เบญจ์XXX

วันที่เข้ารับการรักษา : 29 กรกฎาคม 2566

เพศ : ชาย

อายุ : 43 ปี

อุณหภูมิ 36.5 องศาเซลเซียส

ชีพจร : 60 ครั้ง/นาที

ความดันโลหิต : 111/64 mmHg น้ำหนัก :  65.55 กิโลกรัม

อาการสำคัญ (Chief complaint)
กล้ามเนื้อใบหน้าซีกขวาอ่อนแรง มุมปากตก 2 สัปดาห์

อาการปัจจุบัน (Present illness)
กล้ามเนื้อใบหน้าซีกขวาอ่อนแรง ยักคิ้วลำบาก รอยย่นหน้าผากตื้นขึ้น  หลับตาพอใช้ได้  น้ำตาไหลเป็นบางครั้ง ย่นจมูกลำบาก  ร่องจมูกและแก้มตื้นขึ้น  มุมปากตก ลมรั่วออกจากมุมปาก ยิงฟันลำบาก ปวดหลังหู การรับรู้รสชาติลดลง  ผู้ป่วยนอนดึก   รับประทานอาหารพอใช้ได้ ขับถ่ายปกติ  ใช้งานคอมพิวเตอร์ 5-6 ชั่วโมงต่อวัน  ปลายลิ้นแดง ฝ้าที่ลิ้นขาวเหนียว ชีพจรลอยลื่นเล็ก

ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต(Past history)
- ปฏิเสธประวัติโรคประจำตัว
- ปฏิเสธประวัติการแพ้ยาและอาหาร

การวินิจฉัยโรค(Diagnosis)
- วินิจฉัยตามหลักแพทย์จีน  :  อัมพาตใบหน้า( กลุ่มอาการลมและเสมหะอุดกั้นเส้นลมปราณ)
- วินิจฉัยตามหลักแพทย์ปัจจุบัน :  Bell’s Palsy

วิธีการรักษา(Treatment)
- รักษาด้วยการฝังเข็ม ใช้หลักการรักษา  ขจัดลมและเสมหะ ทะลวงเส้นลมปราณ ปรับสมดุลเส้นลมปราณเอ็น

ผลการรักษา(progression note)
ผู้ป่วยเข้าการรักษา ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2566 – วันที่ 11 สิงหาคม 2566

รักษาครั้งที่ 2 วันที่ 2/2/2566
ยักคิ้วดีขึ้น หลับตาได้ปกติ ย่นจมูกได้ประมาณ 50 เปอร์เซนต์ ยิงฟันได้ประมาณ 50 เปอร์เซนต์ ยังปวดหลังหูบ้างเป็นบางครั้ง

รักษาครั้งที่ 3 วันที่ 4/8/2566
ยักคิ้วดีขึ้นประมาณ 70 เปอร์เซนต์ หลับตาปกติ ย่นจมูกประมาณ 70 เปอร์เซนต์ มุมปากไม่ตกแล้ว ยิงฟันดีขึ้นประมาณ 70 เปอร์เซนต์  ยังมีลมรั่วออกจากมุมปากบ้าง ไม่มีอาการปวดหลังหู

รักษาครั้งที่ 4 วันที่ 10/8/2566
ยักคิ้วดีขึ้นประมาณ90 เปอร์เซนต์ หลับตาได้ปกติ ย่นจมูกได้ปกติ ยิงฟันได้ประมาณ90 เปอร์เซนต์

รักษาครั้งที่ 5 วันที่ 18/8/2567
ผู้ป่วยมารักษาด้วยอาการอื่น จากการสอบถาม ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อใบหน้าได้ปกติ ไม่มีกล้ามเนื้อกระตุก หรืออาการตึงบริเวณใบหน้า

สรุปผลการรักษา 
การฝังเข็มรักษาอัมพาตใบหน้า Bell’s Palsy ได้ผลดี อีกทั้งยังเป็นหัตถการแรกที่เลือกใช้ในการรักษาสำหรับศาสตร์การแพทย์แผนจีน การพยากรณ์โรคขึ้นอยู่กับระดับการบาดเจ็บของเส้นประสาทใบหน้า  หากไม่สามารถฟื้นกลับมาเป็นปกติภายใน 3 เดือน โดยทั่วไปมักมีอาการหลงเหลือ ทั้งนี้ผลการรักษาขึ้นอยู่กับบุคคล ระดับการบาดเจ็บของเส้นประสาทใบหน้า และการดูแลตัวเองของคนไข้ ควรหลีกเลี่ยงลม หากหลับตาไม่สนิท ควรใช่ที่ครอบตา หรือหยอดตา เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

------------------------

บทความโดย
แพทย์จีนอาวุโส ปิยะมาศ เมืองใชย (หมอจีน ปี้ หย่า หม่า)
毕雅玛 中医师
TCM. Dr. Piyamas muangchai (Bi Ya Ma)
แผนกฝังเข็ม 针灸科 (Acupuncture Department)

อ้างอิง
1.  https://www.ninds.nih.gov/health-information/disorders/bells-palsy
2. https://wjw.huzhou.gov.cn/art/2020/5/21/art_1229210308_54655681.html


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้