มะเร็งกับโรคของมนุษย์ทำงาน

Last updated: 2 ส.ค. 2567  |  676 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มะเร็งกับโรคของมนุษย์ทำงาน

          สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน  การดำเนินชิวิตค่อนข้างรีบเร่ง ต้องทำงานแข่งกับเวลา บางคนทำงานหามรุ่งหามค่ำ จนทำให้เป็นที่มาโรคของมนุษย์ทำงาน หรือโรคที่เกิดพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสมนั่นเอง  ซึ่งน่าจะเป็นรู้จักกันในชื่อว่า  โรค NCDs ย่อมาจากคำเต็มว่า Non-Communicable Diseases ได้แก่ 4 กลุ่มโรคใหญ่ คือ 1.กลุ่มโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด 2.เบาหวาน 3.มะเร็ง และ 4.กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง  ซึ่งโรคเหล่านี้ไม่สามารถติดต่อจากคนไปสู่คนได้โดยตรง แต่ก็อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งโรคต่างๆ เหล่านี้เกิดจากการใช้ชีวิต การทานอาหารที่ไม่เหมาะสม  นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำงานหามรุ่งหามค่ำ  เคร่งเครียดทั้งการงานและครอบครัว ซึ่งมักจะเกิดขึ้นสะสมมาเป็นเวลายาวนาน และการดำเนินของโรคเป็นไปอย่างเชื่องช้า

          หนึ่งในกลุ่มโรคที่หลายๆ คนกังวล ก็คือ โรคมะเร็ง  ซึ่งถือว่าเป็นโรคของมนุษย์ทำงานอย่างเราที่หลีกเลี่ยงได้ยากหากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสมต่างๆ จะทำให้เซลล์ปกติในร่างกายเราพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ที่ไม่ปกติได้  ในปัจจุบันเชื่อว่า หลายๆ ท่านเองก็รู้สึกว่าทำเป็นมะเร็งมันเป็นกันง่ายจังเลย  ข่าวที่ออกมาในช่วงหลังๆ จะพบว่าเจอปุ๊ป ระยะที่เป็นก็ไปไกลเสียแล้ว แต่ความจริงแล้วนั้นโรคมะเร็งก็ถือว่าเป็นโรคเรื้อรังอย่างหนึ่ง ก่อนที่โรคจะแสดงตัวตนให้เราได้รู้ มีดำเนินโรคค่อนข้างยาวนาน มีตั้งแต่ 10 ปี ไปจนถึง 20-30 ปีก็ว่าได้  ดังนั้นถ้าหากว่าเรามาหยุด Stop การดำเนินไปของโรคได้นั่นก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่า รอให้ตรวจเจอแล้วค่อยมารักษา  หากเป็นแล้วค่อยมารักษาในบางโรคหรือบางระยะนั้นรักษาได้ยากลำบากทีเดียว  ในระยะที่ก่อนจะป่วยตรงนี้ กลไกการที่จะนำไปสู่มะเร็งยังสามารถที่จะวกกลับได้ แต่หากเป็นแล้วจะวกกลับไปเหมือนปกติดังเดิมนั้นทำได้ยาก  

          ศาสตร์การแพทย์แผนจีนให้ความสำคัญที่คนและให้การรักษาแบบองค์รวม เน้นการป้องกันโรคมากกว่ารักษา  เน้นรักษาที่คนมากว่ารักษาที่โรค  ในคัมภีร์โบราณหวงตี้เน่ยจิง กล่าวไว้ว่า....

“上工治未病,不治已病”   ซ่างกงจื้อเว่ยปิ้ง ปู้จื้ออี่ปิ้ง = หมอชั้นเลิศรักษาก่อนที่จะป่วย ไม่รักษาโรคที่เป็นแล้ว

          ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแพทย์แผนจีนให้ความสำคัญกับการป้องกันดูแลสุขภาพ ซึ่งมีได้ 3 ประการด้วยกัน คือ ป้องกันก่อนป่วย ป้องกันก่อนที่โรคจะดำเนินพัฒนาต่อไป  และป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ   ดังนั้น การป้องกันก่อนป่วยสามารถดูแลได้จากตัวเราเอง บางครั้งอาจมีอาการไม่สบายเล็กๆ น้อยๆ ไม่ได้รบกวนการใช้ชีวิต ซึ่งหลายๆ คนมักจะไม่ได้ใส่ใจ อาการอะไรบ้างที่เราพอจะสังเกตบ่งบอกถึงความเปลี่ยนแปลงไปของร่างกายเรา ถึงแม้ว่าการตรวจร่างกาย ผลแลปต่างๆ ยังไม่มีความผิดปกติใด แต่เราควรใส่ใจให้มากขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรีบรักษาก่อนที่โรคจะพัฒนา

สัญญาณเตือนก่อนเป็นมะเร็งที่ควรรีบจัดการ มีอะไรบ้าง ?

สัญญาณเตือนก่อนป่วย/ก่อนที่โรคจะพัฒนาอาการน่าสงสัยแนวโน้มอาจเป็นโรค
  • มีอาการปวดแน่นบริเวณเต้านม หรืออาจไม่มีอาการปวดแน่นมาก่อน
  • ต่อมน้ำนมขยายตัวผิดปกติ
  • มีภาวะโรคทางเต้านมเรื้อรัง
  • เต้านมบวมแดงอักเสบเรื้อรัง
  • มีผื่นขึ้นที่หัวนมหรือบริเวณเต้านมบ่อยเป็นๆ หายๆ
  • ตรวจพบเนื้องอกพังผืดในเต้านมหรือท่อน้ำนม
  • คลำพบก้อนที่เต้านม  ต่อมน้ำเหลืองโตใต้รักแร้
  • บริเวณหัวนมบุ๋ม มีน้ำเหลือง หรือมีแผล
  • เต้านมมีผื่น แดง ร้อน
  • ผิวเต้านมบุ๋ม  ขรุขระคล้ายผิวส้ม
  • คลำได้ก้อนที่รักแร้
  • มะเร็งเต้านม
  • เจ็บเสียดบริเวณชายโครงขวา
  • มักจุกเสียด แน่นท้อง
  • มีภาวะไขมันพอกตับ
  • เคยเป็นไวรัสตับ
  • มีภาวะตับแข็ง
  • มีภาวะโรคตับหรือตับอักเสบเรื้อรัง
  • เบื่ออาหาร ผอมลง น้ำหนักลด
  • มีอาการดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • มีอาการท้องมาน
  • มีไข้ต่ำโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มะเร็งตับ
  • รู้สึกอาหารไม่ย่อยหรือรู้สึกไม่สบายท้อง ปวดท้อง ท้องอืดบ่อย
  • มีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก
  • มักเป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง หรือตรวจพบติ่งเนื้อ
  • ติดเชื้อ Helicobacter pylori
  • มีการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหารและเยื่อบุเจริญผิดปกติ
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ผอมลง น้ำหนักลด
  • คลำก้อนเนื้อได้ในท้องน้อย ปวดท้องน้อย
  • อาจมีอาเจียนปนเลือด
  • อุจจาระมีสีดำคล้ำ
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร
  • ท้องอืด ปวดแน่นท้อง อาหารไม่ย่อย
  • การขับถ่ายผิดปกติ
  • ปวดท้องน้อย
  • ประจำเดือนผิดปกติ อาจมีเลือดออกทางช่องคลอด
  • ปวดหรือมีแรงกดที่บริเวณอุ้งเชิงกราน ปวดหลัง ปวดขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ปัสสาวะบ่อย  
  • มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด
  • ท้องโตขึ้น ท้องน้อยนูนขึ้น มีภาวะท้องมาน
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ผอมลง น้ำหนักลด
  • มะเร็งรังไข่
  • ปวดบริเวณท้องน้อย
  • ประจำเดือนผิดปกติ
  • มีตกขาวมากผิดปกติ อาจมีกลิ่นเหม็น หรือมีเลือดปน
  • ติดเชื้อ HPV หรือติดโรคทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น เชื้อซิฟิลิส หนองใน เริม หูดหงอนไก่
  • มีเลือดออกแบบกะปริดกะปรอยระหว่างมีรอบเดือนหรือหลังวัยหมดประจำเดือนหรือขณะมีเพศสัมพันธ์
  • มีอาการปวดหลัง ปวดบั้นเอว บริเวณกระดูกกระเบนเหน็บ ปวดก้นกบ
  • มะเร็งปากมดลูก
  • มีอาการไอเรื้อรัง
  • มักมีปัญหาปอดติดเชื้อบ่อยๆ
  • มีประวัติสูบบุหรี่ หรือบุหรี่มือสอง
  • อาศัย หรือทำงานอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เป็นมลพิษ ใกล้ชิดกับสารเคมีเป็นเวลานาน
  • ไอมีเสมหะปนเลือด
  • หายใจเหนื่อยหอบ หายใจสั้น อาจมีเสียงแหบ
  • เจ็บหรือแน่นหน้าอกตลอดเวลา
  • อาจพบมีไข้ต่ำๆ เรื้อรัง
  • เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด
  • มะเร็งปอด
  • มีพฤติกรรมการขับถ่ายผิดไปจากเดิม เช่น ท้องเสีย ท้องผูก หรือถ่ายไม่สุด
  • ปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง
  • ตรวจเจอติ่งเนื้อในลำไส้
  • ถ่ายเป็นมูกเลือดหรือมีเลือดแดงหรือดำปนกับอุจจาระออกมา
  • ลักษณะและขนาดอุจจาระผิดปกติไปจากเดิม เช่น ขนาดเล็กลง เป็นเส้นเล็กๆ
  • อาจคลำเจอก้อนในช่องท้อง
  • อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • มะเร็งลำไส้

 

 

 


          วิธี “รักษาหรือป้องกันก่อนป่วย”  เพื่อปรับเปลี่ยนร่างกายให้ย้อนคืนความสมดุลอยู่เสมอ เสริมสร้างเจิ้งชี่ให้ร่างกายของเราแข็งแรง สร้างภูมิต้านทานต่อโรคต่างๆ ประการแรกคือ ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสมก่อน เปลี่ยนแปลงการรับประทานอาหารใหม่ ทานอาหารให้หลากหลาย รสไม่จัดจ้านเกินไป ทานอาหารให้เป็นเวลา 3 มื้อ มื้อเช้าและกลางวันเป็นมื้อที่สำคัญ มื้อเย็นทานแต่น้อยได้;  นอนหลับพักผ่อนยามค่ำคืนและตื่นนอนตอนเช้าตามนาฬิกาชีวิต;  ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ หรือเปลี่ยนบรรยายกาศออกนอกเมืองหนีจากความวุ่นวายไปพักผ่อนบ้าง ให้เวลากับตัวเองบ้าง ผ่อนคลายจิตใจ ซึ่งจะเป็นการช่วยให้เซลล์ต่างๆ ที่ผิดปกติกลับมาดีดังเดิม และทำให้เรามีทั้งสุขภาพแข็งแรง และจิตใจแจ่มใส ห่างไกลโรคได้

          นอกเหนือจากการที่เราสนใจสุขภาพร่างกายมากขึ้นแล้ว ประการสุดท้ายเมื่อรู้ตัวว่าไม่สบายควรปรึกษาแพทย์วินิจฉัยและรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม ถ้าหากคุณกำลังมีปัญหาสุขภาพแม้เพียงเล็กน้อย ควรรีบพบแพทย์รักษา หรืออาจปรึกษาแพทย์จีนเพื่อตรวจวิเคราะห์สภาวะของร่างกายว่าควรปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างไรที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล อย่าปล่อยทิ้งไว้จนเป็นปัญหาเรื้อรัง นอกจะรักษาได้ยากแล้ว อาจนำไปสู่โรคร้ายที่เราคาดไม่ถึงได้

------------------------

บทความโดย

แพทย์จีน อรกช มหาดิลกรัตน์ (หมอจีน ไช่ เพ่ย หลิง)
蔡佩玲 中医师
TCM. Dr. Orakoch Mahadilokrat (Cai Pei Ling)

แผนกอายุรกรรมโรคมะเร็ง 肿瘤科

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้