Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 1188 จำนวนผู้เข้าชม |
กล้ามเนื้อฉีกขาดคืออาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อกล้ามเนื้อกับกระดูก หรือที่เรียกว่าเส้นเอ็น สาเหตุมักจากยืดเหยียดมากจนเกินไป กล้ามเนื้อฉีกขาดที่เล็กน้อยมักจะดีขึ้นได้โดยการรักษาตัวพักฟื้นที่บ้าน กล้ามเนื้อฉีกขาดที่รุนแรงต้องอาศัยการรักษาทางการแพทย์
สาเหตุ
- เกิดอุบัติเหตุ เช่น ถูกชน ถูกกระแทกอย่างแรง หรือสะดุด ลื่นล้ม
- ใช้งานหนักและซ้ำบริเวณเดิม เช่น ยกของหนัก โดยใช้กล้ามเนื้อส่วนเดิมซ้ำๆ
- ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาอย่างหนัก โดยไม่ได้ยืดกล้ามเนื้อ
อาการ
- อาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อรุนแรงลักษณะเฉียบพลัน
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือขยับไม่ได้
- บวม
- กล้ามเนื้อเกร็ง
- รอยแดงหรือช้ำ
วิธีการรักษา
- ฝังเข็ม
- รมยา
- พอกสมุนไพรจีน
ตัวอย่างกรณีการรักษาที่เข้ารับการและได้ผลดี
รหัสผู้ป่วย:HN0171XX
ชื่อ : นาย นวคล
เพศ : ชาย
อายุ : 28
เข้ามารักษาเมื่อ : 27/08/2023
อาการสำคัญ : ปวดบวมเข่าซ้ายและไม่มีแรง 2 สัปดาห์
อาการปัจจุปัน : คนไข้เป็นคนเล่นกีฬาอย่างหนัก สองสัปดาห์ก่อน เตะฟุตบอลแล้วมีการชนกระแทก หลังจากนั้นมีอาการปวดบวมด้านบนเข่าซ้าย มีอาการร้อนบริเวณปวด และเข่าซ้ายมีไม่แรงร่วมด้วย หลังขาซ้ายตึง นอนหลับ ขับถ่ายปกติ
ประวัติการเจ็บป่วยอดีต : ภูมิแพ้
การตรวจร่างกาย :
-ลิ้นแดงซีดฝ้าขาวบาง ชีพจร เสียนม่าย
วิธีการรักษา : ฝังเข็ม และรมยา
ผลการรักษา :
จำนวนการรักษาทั้งหมด 5 ครั้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
หลังจากรักษาครั้งที่ 1 อาการบวมบรรเทาลง แต่ยังปวดเข่าขวาและไม่มีแรง
หลังจากรักษาครั้งที่ 2 อาการปวดดีขึ้น บวมน้อยลง ขายังไม่มีแรง
หลังจากรักษาครั้งที่ 3 อาการปวดบวมน้อยลงไป 80 % ขาเริ่มมีแรง หลังขาตึงดีขึ้น
หลังจากรักษาครั้งที่ 4 อาการปวดบวมหายไป มีกล้ามเนื้อขาตึงบ้าง เดินได้เกือบปกติ
หลังจากรักษาครั้งที่ 5 อาการต่างๆหายจนเป็นปกติ
------------------------
บทความโดย
แพทย์จีน วทัญญู วิจิตรธงชัย(หมอจีน เฮย เจ๋อ วัง)
黑泽汪 中医师
TCM. Dr. Watanyu Wijitthongchai
อ้างอิง
1.运动医学 全国体育学院教材委员会运动医学教材小组 运动 人民体育出版社 พ.ศ. 2533
20 ม.ค. 2568
12 พ.ย. 2567
15 พ.ย. 2567
26 ก.ย. 2567