Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 1295 จำนวนผู้เข้าชม |
ภาวะนอนไม่หลับ หมายถึงภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนอนหลับเป็นปกติได้ มีความยากลำบากในการเข้านอน หลับไม่ต่อเนื่อง รวมไปถึงคุณภาพของการนอนหลับไม่ดี เช่น มีอาการเข้านอนยาก ตื่นบ่อยในช่วงเวลากลางคืน ฝันเยอะ ตื่นมาแล้วไม่สดชื่น และส่งผลถึงการใช้ชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นทั้งการเรียนหรือการทำงาน จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยสถิติคนไทยที่เผชิญกับภาวะนอนไม่หลับมีมากถึง 40% ของประชากรทั้งหมด หรือราว 19 ล้านคน โดยปัญหาทางด้านอารมณ์ ความตึงเครียด ความวิตกกังวลเป็นตัวแปรสำคัญ
ในมุมมองแพทย์แผนจีนภาวะนอนไม่หลับมีชื่อเรียกว่า “ปู๋เม่ย (不寐)” “ปู้เต๋อว่อ (不得卧)” “มู่ปู้หมิง (目不瞑)” การรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความเหนื่อยล้า ร่างกายอ่อนแอ หรืออาการเจ็บป่วยเรื้อรังล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้การทำงานของอวัยวะภายในร่างกายเสียสมดุล หยางไม่สามารถกลับเข้าสู่อินได้ ทำให้อิน-หยางในร่างกายเสียสมดุล และเกิดเป็นภาวะนอนไม่หลับขึ้นนั่นเอง ซึ่งตำแหน่งหลักของการเกิดโรคอยู่ที่หัวใจ และมีความสัมพันธ์กับอวัยวะอื่น ๆ ด้วยไม่ว่าจะเป็นตับ ถุงน้ำดี ไตและม้าม สามารถพบเจอได้ทั้งกลุ่มอาการแบบพร่อง ได้แก่ กลุ่มอาการหัวใจและม้ามพร่อง กลุ่มอาการหัวใจและไตทำงานไม่ประสาน กลุ่มอาการชี่หัวใจและถุงน้ำดีพร่อง ส่งผลให้หัวใจขาดการบำรุงหล่อเลี้ยง และกลุ่มอาการแบบแกร่ง ได้แก่ กลุ่มอาการไฟตับรบกวนหัวใจ กลุ่มอาการเสมหะร้อนรุกรานหัวใจที่ส่งผลให้หัวใจและจิตใจถูกรบกวน
กรณีศึกษาการฝังเข็มรักษาภาวะนอนไม่หลับ
ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย
ชื่อ : XXX
เพศ : หญิง
อายุ : 38 ปี
รหัสผู้ป่วย : 3655xx
อุณหภูมิ : 36.9°C
ชีพจร : 80/min
ความดันโลหิต : 108/69 mmHg
น้ำหนัก: 57 kg
เข้ารับการรักษาครั้งแรกเมื่อ 9 สิงหาคม 2565
อาการสำคัญ :
นอนไม่หลับ 3 อาทิตย์
ประวัติการเจ็บป่วย :
เข้านอนยาก ใช้เวลานาน (มากกว่า 1ชั่วโมง) บางครั้งตื่นกลางดึกแล้วไม่สามารถเข้านอนต่อได้ จำนวนชั่วโมงนอน 5 ชั่วโมง ตื่นเช้ารู้สึกไม่สดชื่น กลางวันรู้สึกเหนื่อยล้า ง่วงนอน รับประทานยา lorazepam 0.5mg 1# qn
อาการร่วม :
มีความเครียดจากการทำงาน วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย ชอบถอนหายใจ รับประทานอาหารได้น้อย ปากขมและแห้ง การขับถ่ายมีท้องผูกบ้าง
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต :
ไม่มี
การตรวจร่างกาย :
ลิ้นแดงฝ้าขาวบาง ชีพจรตึงและเล็ก
การวินิจฉัย :
นอนไม่หลับ (不寐)
กลุ่มอาการ :
ไฟตับรบกวนหัวใจ (肝火扰心证)
แนวทางการรักษา :
ระบายไฟตับ สงบจิตใจ
ใช้การฝังเข็มอาทิตย์ละ 1ครั้ง จุดฝังเข็มที่ใช้ :
四神聪 (SiShenCong, EX-HN1) 神门 (ShenMen, HT7) 内关 (NeiGuan, PC6)
申脉 (ShenMai, BL62) 照海 (ZhaoHai, KI6) 太冲 (TaiChong, LR3)
三阴交 (SanYinJiao, SP6) 印堂 (YinTang, EX-HN3) 足三里 (ZuSanLi, ST36)
行间 (XingJian, LR2)
ผลการรักษา
หลังการรักษาครั้งที่ 1 (15 สิงหาคม 2565)
หลังการรักษาครั้งที่ 4 (31สิงหาคม 2565 )
หลังการรักษาครั้งที่ 6 (20 กันยายน 2565)
การวิเคราะห์กลุ่มอาการ
เนื่องจากผู้ป่วยมีความเครียดความวิตกกังวลจากการทำงาน และมีพื้นฐานทางอารมณ์คือหงุดหงิดง่าย ซึ่งอารมณ์ที่แปรปรวนมักส่งผลกระทบทำลายตับ ทำให้ชี่ตับไหลเวียนไม่สะดวก เมื่อชี่ตับติดขัดเป็นเวลานานจึงแปรเปลี่ยนกลายเป็นไฟ ไฟจึงลอยขึ้นไปรบกวนเสินของหัวใจ เสินหัวใจไม่สงบ จึงเกิดเป็นภาวะนอนไม่หลับ
------------------------
บทความโดย
แพทย์จีน พิมพิชญ์ มุจลินทโมลี (หมอจีน เจี่ย จิ้ง เหวิน)
贾靖雯 中医师
TCM. Dr.Pimpitch Muchalintamolee (Jia Jing Wen)
แผนกฝังเข็ม
15 พ.ย. 2567
20 ม.ค. 2568
26 ก.ย. 2567
12 พ.ย. 2567