หลังการผ่าตัดมะเร็งเต้านม ทำไมจำเป็นต้องกินยาจีน

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  2425 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หลังการผ่าตัดมะเร็งเต้านม ทำไมจำเป็นต้องกินยาจีน

มะเร็งเต้านม เกิดเนื่องจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์ท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม ทำให้เกิดเป็นก้อนเนื้องอก โดยหากไม่ได้รับการรักษามะเร็งจะโตขึ้นและกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ก่อนที่จะกระจายไปอวัยวะอื่น ๆ เช่น ปอด ตับ สมอง กระดูก เป็นต้น

มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่แพร่กระจายได้ง่าย เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่ามีก้อนที่เต้านมและเป็นมะเร็งเต้านม ผู้ป่วย 50%-75% พบว่ามีมะเร็งแพร่กระจายซ่อนเร้นไปตามกระแสเลือดหรือระบบทางเดินน้ำเหลืองแล้ว ซึ่งการผ่าตัดเป็นการเอาก้อนมะเร็งเฉพาะที่ออกเท่านั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังคงมีเซลล์มะเร็งที่ไม่ได้อยู่เฉพาะที่เต้านม แต่ได้ซ่อนเร้นไปตามกระแสเลือดหรือระบบทางเดินน้ำเหลือง ไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย ดังนั้นจำเป็นต้องรักษาอย่างครอบคลุมทั้งระบบ เช่น เคมีบำบัด ฉายแสง ยาฮอร์โมน ยาพุ่งเป้า และการรักษาแบบแพทย์แผนจีน เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่ซ่อนเร้นหลงเหลือตามกระแสเลือดและระบบทางเดินน้ำเหลือง ลดโอกาสของการกลับมาเป็นซ้ำภายหลังการรักษาและฆ่าเซลล์มะเร็งที่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ

 
 
แพทย์แผนจีนเชื่อว่าการเกิดขึ้น การพัฒนา การกลับมาเป็นซ้ำ และการแพร่กระจายของมะเร็งเต้านมล้วนเกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันในร่างกายที่อ่อนแอลง สิ่งก่อโรคจากภายนอกจึงเข้ามาได้ง่าย

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังจากที่ได้รับการผ่าตัด การฉายแสง และเคมีบำบัด ร่างกายผู้ป่วยร่างกายจะอ่อนแอ  มีอาการอ่อนเพลีย เม็ดเลือดขาวลดลง เกร็ดเลือดลดลง ผมร่วง ร้อนวูบวาบ ปวดข้อ เป็นต้น บวกกับสภาพจิตใจผู้ป่วย ยิ่งทำให้ทำการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายอ่อนแอลดลง เจิ้งชี่ของร่างกายพร่อง ความสามารถในการต้านทานโรคจะลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อการพยากรณ์โรคของผู้ป่วย

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ยาจีนในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ฟื้นฟูสภาพร่างกายผู้ป่วยหลังรักษาแผนปัจจุบัน กำจัดพิษ ฆ่าเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่ในร่างกาย ชะลอการพัฒนาของมะเร็ง ลดผลข้างเคียงจากเคมีบำบัดและฉายแสง ป้องกันการกระจายและกลับมาเป็นซ้ำ บรรเทาอาการ ลดภาวะแทรกซ้อน เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

นอกจากนี้ สาเหตุหนึ่งของมะเร็งเต้านมคือการมีระดับฮอร์โมนที่มากผิดปกติ การผ่าตัดไม่ได้ทำให้ระดับฮอร์โมนที่มากผิดปกติลดลงได้ ดังนั้นจึงควรใช้ยาจีนเพื่อปรับระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติให้สู่ภาวะสมดุล
 
จากงานวินิจฉัยที่โรงพยาบาลหลงหัวในเซี่ยงไฮ้ พบว่ายาจีนมีผลต่อผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม ทำให้อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปีลดลง โดยศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัดเต้านมและได้รับเคมีบำบัด ฉายแสง ยาฮอร์โมน ในระยะที่ 1,2,3 โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ได้รับยาจีนหลังรักษาแผนปัจจุบันและกลุ่มที่ไม่ได้รับยาจีนหลังรักษาแผนปัจจุบัน ใช้ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล 5 ปี ผลการวิจัยพบว่า

ยาจีนมีผลต่อผู้ป่วยหลังการผ่าตัดมะเร็งเต้านมทำให้อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปีลดลง กลุ่มที่ได้รับยาจีน อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี เท่ากับ 11.1%  เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาจีน อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี เท่ากับ 32.1%

ความสัมพันธ์ระหว่างการกระจายของเซลล์มะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายของกลุ่มที่ได้รับยาจีนต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยาจีนอย่างมีนัยสำคัญ  ยาจีนสามารถยับยั้งผู้ป่วยหลังการผ่าตัดมะเร็งเต้านมที่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ ทำให้อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปีลดลง
 

กลุ่มที่ได้รับยาจีนกลุ่มที่ไม่ได้รับยาจีน

มีต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้

Node positive (+)≤3 ต่อม

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 10.9 %

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 19.5 %

มีต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้

Node positive (+)≥4 ต่อม

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 27.3 %

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 72.2 %

 

ความสัมพันธ์ระหว่างระยะของโรคกับการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี ระยะของโรคมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการกลับเป็นซ้ำและการแพร่กระจาย ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 ที่รับยาจีนอัตราการกลับเป็นซ้ำและการแพร่กระจายใน 5 ปี ลดลงอย่างชัดเจนกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับระยะที่ 1 และระยะที่ 2


กลุ่มที่ได้รับยาจีนกลุ่มที่ไม่ได้รับยาจีน
ระยะที่ 1

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 2.0 %

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 8.1 %

ระยะที่ 2

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 15.5 %

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 18.0 %

ระยะที่ 3

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 17.9 %

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 68.2 %

 

ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของก้อนเนื้อกับการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี ขนาดของเนื้องอกมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจาย ยิ่งมีขนาดใหญ่เท่าใด การกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายก็จะมากขึ้นเท่านั้น จากผลวิจัยจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมขนาดก้อนเนื้องอกมากกว่า 2ซ.ม.ที่ได้รับยาจีนอัตราการกลับเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี ลดลงอย่างเห็นได้ชัด


กลุ่มที่ได้รับยาจีนกลุ่มที่ไม่ได้รับยาจีน
ขนาดของก้อน ≤2 ซ.ม.

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 5.7 %

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 7.0 %

ขนาดของก้อน 2-5 ซ.ม.

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 8.3 %

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 34.9 %

ขนาดของก้อน >5 ซ.ม.

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 41.2 %

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 74.2 %

ความสัมพันธ์ระหว่างตัวรับฮอร์โมนเอสโตเจน (ER) และตัวรับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (PR) ตัวรับที่ต่างกันมีผลต่อการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีตัวรับฮอร์โมน ER(+)PR(+) และ ER(-)PR(-) ที่ได้รับยาจีนอัตราการกลับเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีตัวรับฮอร์โมน ER(+)PR(-) และ ER(-)PR(+) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสองกลุ่ม


กลุ่มที่ได้รับยาจีนกลุ่มที่ไม่ได้รับยาจีน
ER(+)PR(+)

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 9.5 %

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 24.6 %

ER(+)PR(-)

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 12.5 %

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 21.4 %

ER(-)PR(+)

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 50 %

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 42.9 %

ER(-)PR(-)

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 9.8 %

อัตราการกลับมาเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี

เท่ากับ 42.9 %

จากข้อมูลข้างต้น ผลการวิจัยพบว่ายิ่งจำนวนต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้พบมาก ระยะของโรคยิ่งมาก ขนาดของเนื้องอกมีขนาดใหญ่ โอกาสการกลับเป็นซ้ำและการแพร่กระจายหลังการผ่าตัดก็จะยิ่งสูงขึ้น ดังนั้นการพบมะเร็งตั้งแต่เริ่มแรก การวินิจฉัยโรคให้ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น การรักษาให้เร็ว ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการพยากรณ์โรคของมะเร็งเต้านม

ในงานวิจัยกลุ่มที่ได้รับยาจีนและกลุ่มที่ไม่ได้รับยาจีน อัตราการกลับเป็นซ้ำและการแพร่กระจายในระยะ 5 ปี มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับยาจีนหลังการรักษาแผนปัจจุบัน สามารถยับยั้งการกลับเป็นซ้ำและการแพร่กระจายของมะเร็งเต้านมได้ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังจากผ่าตัดได้รับยาจีนเป็นวิธีการรักษาที่สำคัญที่สามารถทำให้การพยากรณ์ของโรคดีขึ้นได้

------------------------

บทความโดย

แพทย์จีน ศศินิภา กายเจริญ (หมอจีน เฝิง เจี๋ย อวี่)
冯解语 中医师
TCM. Dr. Sasinipa Kaicharoen (Feng Jie Yu)
แผนกอายุรกรรม

อ้างอิง : Liu S, Effects of Ruai Shuhou Recipe on 5-year recurrence rate after mastectomy in breast cancer, Journal of Chinese Integrative Medicine , October 2008 , Vol.6 , No .10

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้