หูดับ หูตึงเฉียบพลัน (ประสบการณ์การรักษา)

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  10877 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หูดับ หูตึงเฉียบพลัน (ประสบการณ์การรักษา)

หูดับ หรือ หูตึง เฉียบพลัน
(Sudden Sensorineural Hearing Loss) 
คือ ภาวะที่ผู้ป่วยสูญเสียการได้ยินอย่างเฉียบพลันหรือประสาทหูเสื่อมอย่างเฉียบพลัน  ลดลงมากกว่า 30 เดซิเบล ในช่วงเวลาไม่กี่นาที หรือไม่กี่ชั่วโมงหรือภายใน 3 วัน ร่วมกับมีอาการหูอื้อ รู้สึกตึงแน่นหู เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน แต่ไม่มีประวัติเวียนศีรษะเกิดขึ้นซ้ำ มักเกิดขึ้นกับหูข้างเดียว น้อยรายเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง พบได้ทั้งในผู้ป่วยเพศหญิงและชาย มักพบในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุน้อยและวัยกลางคน


สาเหตุของหูดับ
หูดับเกิดจากเซลล์รับเสียง หรือวิถีประสาทที่อยู่ระหว่างหูกับสมองได้รับความเสียหาย ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดอาการหูดับเฉียบพลัน แต่โดยทั่วไป อาการหูดับมักจะยากที่จะตรวจเจอสาเหตุที่ชัดเจนได้ มีเพียง 10-15% ในผู้ป่วยทั้งหมดเท่านั้น ที่แพทย์สามารถระบุสาเหตุชัดเจนได้

สาเหตุและกลไกการเกิดโรคในทางแพทย์จีน
มักมีปัจจัยกระตุ้นจากอารมณ์ฉุนเฉียวโมโห ตรากตรำทำงาน เป็นหวัด ฯลฯ โดยแบ่งเป็นปัจจัยภายในและภายนอก



ปัจจัยภายใน มักเกิดจากอารมณ์ฉุนเฉียวโมโห ตกใจกลัว ลมและไฟของตับและถุงน้ำดีรุกรานเบื้องบน หรือ อาจเกิดจากเลือดคั่ง เสมหะอุดกั้นทวารหูทำให้ชี่ของเส้นลมปราณเส้าหยางอุดกั้น หรือ ชี่และเลือดพร่อง ไม่สามารถหล่อเลี้ยงทวารหูจึงเกิดอาการหูดับเฉียบพลัน

ปัจจัยภายนอก มักเกิดจากลมเข้ารุกราน อุดกั้นทวารเบื้องบน จึงเกิดอาการหูดับเฉียบพลัน



ตำแหน่งการเกิดโรคอยู่ที่หู สังกัดอวัยวะไต 
การวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการ โดยแบ่งการวินิจฉัยตามกลุ่มอาการ 5 ประเภท ดังนี้
1. กลุ่มอาการลมจากภายนอกเข้ากระทำ (风邪外犯证)
อาการ :  การได้ยินลดลงอย่างเฉียบพลัน ร่วมกับมีอาการคัดจมูก มีน้ำมูก หรือมีอาการปวดศีรษะ รู้สึกตึงแน่นในหู เป็นต้น หรือมีอาการกลัวลม มีไข้ ปวดเมื่อยตัว เป็นต้น ลิ้นชมพูหรือแดง ฝ้าขาวบางหรือเหลืองบาง ชีพจรลอย
วิธีรักษา : ขับไล่ลม (疏风散邪)   

2. กลุ่มอาการชี่ติดขัดมีเลือดคั่ง (气滞血瘀证)
อาการ : การได้ยินลดลงอย่างเฉียบพลัน ร่วมกับมีอาการตึงแน่นในหู หรือเจ็บในหู หูอื้อ หรือมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย ลิ้นแดงคล้ำหรือมีจุดจ้ำเลือด ชีพจรฝึด
วิธีรักษา : ขับเคลื่อนชี เพิ่มการไหลเวียนเลือด(行气活血)

3. กลุ่มอาการไฟตับเข้ารุกราน (肝火上扰证)
อาการ : การได้ยินลดลงอย่างเฉียบพลัน มักเกิดอาการหลังจากอารมณ์แปรปรวน หรือ มีอาการหูอื้อร่วมด้วย หรือ ร่วมกับมีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หน้าและตาแดง ปากขม คอแห้ง หงุดหงิดกระวนกระวาย เจ็บเสียดชายโครง ท้องผูก ปัสสาวะสีเหลือง ลิ้นแดงฝ้าเหลือง ชีพจรตึงเร็วมีพลัง
วิธีรักษา : ระบายความร้อนในตับ (清肝泻火)          

4. เสมหะและไฟสะสม (痰火郁结证)
อาการ : การได้ยินลดลงอย่างเฉียบพลัน หรือมีอาการหูอื้อ รู้สึกตึงแน่นในหูร่วมด้วย หนักศีรษะ แน่นหน้าอก ไอมีเสมหะ ปากขม ท้องผูก ปัสสาวะสีเหลือง ลิ้นแดง ฝ้าเหลืองเหนียว ชีพจรตึงลื่น
วิธีรักษา :  ระบายความร้อนขับเสมหะ (清热化痰)    

5. กลุ่มชี่และเลือดพร่อง (气血亏虚证)
อาการ : การได้ยินลดลงอย่างเฉียบพลัน มักเกิดอาการหลังจากตรากตรำเหน็ดเหนื่อย หรือมีอาการหูอื้อ เวียนศีรษะร่วมด้วย มีอาการอ่อนเพลีย เซื่องซึม สีหน้าไม่สดใส เบื่ออาหาร ถ่ายเหลว ใจสั่น นอนไม่หลับ ลิ้นซีด ฝ้าขาว ชีพจรเล็กอ่อน
วิธีรักษา : เสริมบำรุงชี่และเลือด (益气养血)



ตัวอย่างกรณีการรักษาหูดับเฉียบพลัน
ข้อมูลผู้ป่วย
รหัสผู้ป่วย : XXX
ชื่อ : คุณ XXX
วันที่เข้ารับการรักษา : 3 ตุลาคม 2564
เพศ : หญิง
อายุ : 36 ปี
อุณหภูมิ 36.6 องศาเซลเซียส
ชีพจร : 77 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต : 107/77 mmHg น้ำหนัก :  55 กิโลกรัม
อาการสำคัญ (Chief complaint)
การได้ยินของหูซ้ายลดลงอย่างเฉียบพลัน  20 วัน                                         

อาการปัจจุบัน (Present illness)
การได้ยินของหูซ้ายลดลงอย่างเฉียบพลัน ไม่ได้ยินเสียงเลย ร่วมกับมีอาการหูอื้อเหมือนมีลมพัด ผู้ป่วยมีประวัติการใช้โทรศัพท์คุยงานเยอะ เครียดและกังวลเรื่องงาน นอนหลับไม่สนิท

วันที่ 15/9/2564 มีอาการหูดับ ร่วมกับหูอื้อ เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน หลังจากรักษาด้วยการรับประทานยาแผนปัจจุบันและฉีดสเตียรอยด์ 5 ครั้ง รักษาด้วยออกซิเจนบำบัด(Hyperbaric Oxygen (HBO) Therapy) 7 ครั้ง

ตอนนี้ไม่มีเวียนศีรษะแล้ว แต่การได้ยินยังไม่ฟื้นตัว หูอื้อ แน่นในหู อ่อนเพลีย รับประทานอาหารได้น้อยลง ขับถ่ายปกติ ประจำเดือนปกติ ลิ้นแดง ฝ้าเหลืองบาง ชีพจรตึงเล็ก                                                                                           

ผลตรวจการได้ยิน (Audiogram)

ความถี่หูขวาหูซ้าย
ค่าเฉลี่ยของระดับการได้ยินผ่านอากาศ20120
ค่าเฉลี่ยของระดับการได้ยินผ่านกระดูก2068

ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต (Past history)
- ปฏิเสธประวัติการแพ้ยาและอาหาร
- ปฏิเสธประวัติการติดเชื้อ มีไข้หรือเป็นหวัด
- ปฏิเสธการรับประทานหมูดิบ

การวินิจฉัยโรค (Diagnosis)
วินิจฉัยตามหลักแพทย์จีน
暴聋 หูดับเฉียบพลัน (กลุ่มอาการไฟตับเข้ารุกรานร่วมกับชี่และเลือดพร่อง)


วินิจฉัยตามหลักแพทย์ปัจจุบัน
หูดับเฉียบพลัน (Sudden Sensorineural Hearing Loss)


วิธีการรักษา (Treatment)
รักษาด้วยการฝังเข็ม
ใช้หลักการรักษา  ทะลวงทวารหู ปรับการไหลเวียนของชี่ตับ ลดความเครียด ระบายร้อน ร่วมกับเสริมบำรุงชี่และเลือด บำรุงไต



ผลการรักษา (progression note)
ผู้ป่วยเข้าการรักษา ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2564 - วันที่ 13 พฤศจิกายน 2564

รักษาครั้งที่ 2 : วันที่ 6 /10/2564
หลังจากฝังเข็มไปครั้งแรก การได้ยินของหูซ้ายดีขึ้นเล็กน้อย เครียดน้อยลง นอนหลับสนิท รับประทานอาหารทั่วไปได้ปกติ

ผลตรวจการได้ยิน (Audiogram)
ความถี่หูขวาหูซ้าย
ค่าเฉลี่ยของระดับการได้ยินผ่านอากาศ20100
ค่าเฉลี่ยของระดับการได้ยินผ่านกระดูก2068


รักษาครั้งที่ 3 : วันที่ 10/10/2564
การได้ยินของหูซ้ายดีขึ้น ผู้ป่วยลองฟังเพลงผ่านหูฟัง ได้ยินแต่ไม่ชัด คล้ายมีเสียงลมแทรก นอนยาก เครียดเรื่องงาน ชีพจรตึงเล็ก

รักษาครั้งที่ 4 : วันที่ 14/10/2564
การได้ยินของหูซ้ายดีขึ้น ผู้ป่วยลองฟังเพลงผ่านหูฟัง ได้ยินแต่ไม่ชัด คล้ายมีเสียงลมแทรก นอนหลับดีขึ้น ยังเครียดเรื่องงาน ชีพจรตึงเล็ก

รักษาครั้งที่ 5 : วันที่ 17/10/2564
หูอื้อดีขึ้น การได้ยินของหูซ้ายดีขึ้น พอได้ยินเสียงบ้าง นอนหลับดีขึ้น ชีพจรตึงเล็ก

รักษาครั้งที่ 6 : วันที่ 20/10/2564
การได้ยินของหูซ้ายดีขึ้น บางคืนนอนไม่สนิท หลังจากตื่น นอนต่อลำบาก อ่อนเพลีย เครียดเรื่องงาน ชีพจรตึงเล็ก

รักษาครั้งที่ 7 : วันที่ 24/10/2564
ยังมีอาการหูอื้ออยู่บ้าง แต่การได้ยินดีขึ้น เนื่องจากลองใช้หูฟังคุยโทรศัพท์กับญาติ ฟังรู้เรื่อง จับใจความได้ชีพจรตึงเล็ก

รักษาครั้งที่ 8 : วันที่ 31/10/2564
สัปดาห์นี้ผู้ป่วยย้ายที่ทำงานใหม่ ความเครียดน้อยลง นอนหลับดีขึ้น อ่อนเพลียเล็กน้อย การได้ยินของหูซ้ายดีขึ้นจากสัปดาห์ก่อน หูอื้อลดลงจากเดิม ชีพจรตึงเล็ก

รักษาครั้งที่ 9 : วันที่ 6/11/2564
การได้ยินของหูซ้ายดีขึ้น หูอื้อลดลง เริ่มมีอาการแน่นในหูขวา เนื่องจากใช้โทรศัพท์นาน การได้ยินของหูขวายังปกติ  เครียดและกังวลกับอาการเจ็บป่วย นอนไม่สนิท ชีพจรจมเล็ก

ผลตรวจการได้ยิน (Audiogram)

ความถี่หูขวาหูซ้าย
ค่าเฉลี่ยของระดับการได้ยินผ่านอากาศ1590
ค่าเฉลี่ยของระดับการได้ยินผ่านกระดูก1568


รักษาครั้งที่ 10 : วันที่ 13/11/2564
การได้ยินของหูซ้ายดีขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย หูอื้อดีขึ้น ผู้ป่วยรู้สึกแน่นหูขวา การได้ยินยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ชีพจรตึงเล็ก ได้ปรับเพิ่มจุดฝังเข็มรอบหูขวา


ผลตรวจการได้ยิน (Audiogram)
ความถี่หูขวาหูซ้าย
ค่าเฉลี่ยของระดับการได้ยินผ่านอากาศ2287
ค่าเฉลี่ยของระดับการได้ยินผ่านกระดูก2268

* หมายเหตุ *
ระหว่างทำการรักษาด้วยการฝังเข็ม ผู้ป่วยยังคงทานยาแผนปัจจุบันสเตียรอยด์และฉีดสเตียรอยด์รักษาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

สรุปผลการรักษา 
การฝังเข็มสามารถรักษาหูดับเฉียบพลันได้ผลดี สามารถส่งเสริมประสิทธิผลของการรักษาแบบแผนปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น  ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษา สามารถใส่เครื่องช่วยฟังได้ในอนาคตแทนการผ่าตัดประสาทหูเทียมซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมาก

ทั้งนี้ ผลการรักษาจะมีรายละเอียดปลีกย่อยเฉพาะบุคคล รวมไปถึงปัจจัยกระตุ้น และการดูแลตัวเอง การเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต เพื่อยกระดับคุณภาพของพื้นฐานสุขภาพของคนผู้ป่วยด้วย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการรักษาให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

ข้อมูลการรักษาโดย
แพทย์จีน ปิยะมาศ เมืองใชย (ปี้ หย่า หม่า)
毕雅玛 中医师
TCM. Dr. Piyamas muangchai (Bi Ya Ma)
เลขที่ใบประกอบโรคศิลปะ พจ.370
ประสบการณ์ในการรักษา ฝังเข็มรักษาโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต อัมพาตใบหน้า นอนไม่หลับ ออฟฟิศซินโดรม อาการปวดต่างๆ เช่น ปวดหัว ไมเกรน ปวดประจำเดือน โรคกระเพาะอาหาร

 



เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้