Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 21965 จำนวนผู้เข้าชม |
โรครองช้ำ, โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ, โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ ( Plantar fasciitis)
โรครองช้ำคืออาการอักเสบที่เกิดขึ้นกับพังผืดใต้ฝ่าเท้า โดยผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดบริเวณส้นเท้าด้านในหรือตามแนวแถบของพังผืด ในตอนเช้าอาการปวดจะมีลักษณะแปล๊บๆ เหมือนมีอะไรมาแทงบริเวณส้นเท้า หรือปวดแบบโดนของร้อน ทำให้เวลาที่วางส้นเท้าลงกับพื้นอาจมีอาการสะดุ้ง อาการปวดจะค่อยๆ เบาลงเมื่อเดินไปได้ 2-3 ก้าว และสามารถกลับมาปวดมากเหมือนเดิมได้ใหม่ หากยืนเป็นระยะเวลานานหรือลุกขึ้นจากการนั่งพักนานๆ
Credit : http://www.kruyoga.com/ปัญหาเจ็บรองช้ำ-ในนักวิ/
กายวิภาคศาสตร์ของเท้า
โครงสร้างของเท้า ประกอบไปด้วย กระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และผังพืด โดยผังพืดของเท้าเรานั้นจะอยู่ที่ใต้ฝ่าเท้า เป็นแผ่นบางๆ สีขาว วางพาดถึงกันระหว่างส้นเท้ากับปลายเท้า มีชื่อเรียกว่า plantar fascia มีหน้าที่สำคัญคือ ช่วยรองรับนํ้าหนักตัวขณะยืน เดิน วิ่ง และช่วยรักษาโครงสร้างของฝ่าเท้าให้เป็นปกติขณะที่เรายืนลงนํ้าหนัก
Credit : https://www.avarinshop.com/plantar-fasciitis/
กลไกการเกิดโรค Plantar fasciitis
เกิดจากฝ่าเท้าได้รับแรงกระแทกมากเกินไป อาจมาจากการใช้ความเร็วในการวิ่งมากไป น้ำหนักตัว การยืนบนพื้นผิวที่แข็ง หรือใส่รองเท้าที่บีบรัดมากเกินไปไม่เหมาะกับรูปเท้าของเราเนื่องจากหน้าที่หลักของพังผืดใต้ฝ่าเท้าคือการรองรับแรงกระแทกต่อฝ่าเท้า และรองรับอุ้งเท้า โดยขณะที่เรายืนหรือเดิน น้ำหนักตัวจะตกลงบนฝ่าเท้า ทำให้อุ้งเท้าแบนราบกับพื้นมากขึ้น ซึ่งเหมือนเป็นการเพิ่มภาระให้ผังพืดตัวนี้ และเมื่อถึงจุดที่ผังพืดรับภาระไม่ไหวมันจึงเกิด แรงที่ตกลงมายังฝ่าเท้าจะกระจายไปยังบริเวณหน้าเท้าและส้นเท้า ส่งผลให้พังผืดมีความตึงตัวมากขึ้น แต่หากแรงตึงตัวที่เกิดขึ้นมีมากเกินกว่าที่พังผืดจะรับได้ จะทำให้พังผืดได้รับความเสียหาย ซึ่งอาการของโรคไม่ได้เกิดขึ้นทันทีทันใด
โดยการบาดเจ็บจะค่อย ๆ สะสมทีละเล็กทีละน้อย จนเกิดการอักเสบหรือในกรณีร้ายแรงอาจเกิดการฉีกขาดในที่สุดการฉีกขาดเล็กน้อยที่บริเวณส้นเท้าเรา เรียกว่า micro tear โดยเอ็นและพังผืดที่เชื่อมต่อระหว่างส้นเท้ากับนิ้วเริ่มฉีกขาดหรือเกิดการอักเสบ ทำให้เกิดการเจ็บใต้ฝ่าเท้า พบได้ราว 15% ของอาการเจ็บนักวิ่งมาราธอน และอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เกิดโรครองช้ำเกิดมาจากกล้ามเนื้อน่อง (gastrocnemius และกล้ามเนื้อ gastroc soleus) มีความตึงตัวสูงหรือหดเกร็งค้างเป็นเวลานานจะส่งผลให้ผู้ป่วยโรครองชํ้ามีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น แต่พอได้ยืดกล้ามเนื้อน่องอาการปวดก็ทุเลาลง
เนื่องจากว่ากล้ามเนื้อน่องมีจุดเกาะปลายอยู่ที่ด้านหลังกระดูกส้นเท้าที่มีชื่อว่า calcaneus และผังพืดใต้ฝ่าเท้าที่เป็นจุดกำเนิดของโรครองชํ้ามีชื่อว่า plantar fascia มีจุดเกาะที่กระดูกส้นเท้าทางด้านหน้าที่มีชื่อว่า calcaneus เช่นกัน และเมื่อเรายืดกล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อจะมีความตึงตัวสูงทำให้เกิดการดึงรั้งที่กระดูกส้นเท้า (calcaneus) จนกระดูกภายในฝ่าเท้าทั้งหมดถูกยืดเหยียดตาม แล้วผังพืดที่เกาะระหว่างกระดูกส้นเท้ากับที่ปลายเท้าก็ถูกยืดตามไปด้วย
Credit : https://mgronline.com/dhamma/detail/9560000149481
อาการของโรครองช้ำ
ปวดหรือเจ็บส้นเท้า ลามไปทั่วฝ่าเท้า โดยจะเริ่มมีอาการตั้งแต่ลงจากเตียงนอน หรือก้าวเดินก้าวแรกของวัน เมื่อเดินลงน้ำหนักจะมีอาการปวดจี๊ดๆ ปวดอักเสบ บริเวณฝ่าเท้า หรือ ส้นเท้า บางคนอาจปวดทีละน้อย จนคิดว่าอาการปวดจะ หายไปเอง แต่ก็สามารถกลับมาปวดได้อีก อาการปวดจะรุนแรงที่สุดเมื่อเริ่มมีการลงน้ำหนักที่ส้นเท้าในก้าวแรก เช่น เมื่อลุกเดิน ก้าวแรกหลังจากตื่นนอน
ระยะแรกอาจเกิดหลังการออกกำลังกาย หรือการเดินและยืนนาน ๆ เมื่อมีการ เคลื่อนไหวมากขึ้น จะรู้ สึกปวดส้นเท้ามากขึ้น หรือปวดอยู่ตลอดเวลา
กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นโรครองช้ำ
ผู้สูงอายุ เนื่องจากพังผืดฝ่าเท้ามีความยืดหยุ่นน้อยลง , ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ทำให้พังผืดฝ่าเท้ารับแรงกระแทกมากขึ้น , ผู้ที่มีอาชีพ ที่จำเป็นต้องยืน หรือเดินมาก ๆ ทำให้พังผืดฝ่าเท้าตึงแข็ง , ผู้ที่มีอุ้งเท้าสูง หรือแบน ผิดปกติ , ผู้ที่ใส่รองเท้าส้นสูง รองเท้าพื้นแข็ง หรือพื้นบาง อยู่เป็นประจำ , ผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากไขมันส้นเท้าบางกว่า รวมถึงเอ็น และกล้ามเนื้อของน่อง และฝ่าเท้า ไม่แข็งแรงเท่าของผู้ชาย , นักวิ่ง หรือนักกีฬา ที่ต้องใช้เท้า และส้นเท้าเป็นเวลานาน
การตรวจร่างกาย
- ทดสอบการยืดเหยียดพังผืดใต้ฝ่าเท้า (Windlass Test)
ให้ผู้ป่วยยืนบนแท่นเหยียบโดยยื่นปลายนิ้วเท้ายื่นออกมาด้านหน้า จากนั้นให้ผู้ทดสอบยกนิ้วเท้าขึ้น หากผู้ทดสอบเกิดอาการเจ็บไปที่พังผืดบริเวณใต้ฝ่าเท้าถือว่าผลเป็นบวก แสดงผลว่าเอ็นบริเวณใต้ฝ่าเท้าเกิดการอักเสบ
Credit : https://vimeo.com/334346579
- มีจุดกดเจ็บ : จะพบจุดกดเจ็บบริเวณ Plantar fascia หากกดลงไปจะเกิดอาการเจ็บแปล๊บทันทีแสดงผลว่าเอ็นบริเวณใต้ฝ่าเท้า อักเสบ
- การตรวจด้วยภาพ x-ray อาจพบกระดูกงอก ซึ่งเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดโรครองช้ำได้
การรักษาโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
กลไกการเกิดโรครองช้ำตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน
อาการปวดส้นเท้าตามทฤษฎีพื้นฐานของการแพทย์แผนจีนโดยทั่วไปถือว่าเกิดจากความบกพร่องของอินของตับและไต อินในที่นี้หมายถึงสารที่หล่อเลี้ยงเส้นเอ็น กระดูกทั่วร่างกาย โดยเฉพาะตับและไตที่มีความเกี่ยวข้องมากที่สุดเนื่องจากตับควบคุมเส้นเอ็น ไตควบคุมกระดูก เมื่ออินของตับและไตไม่เพียงพอเส้นเอ็นจึงเกิดความยืดหยุ่นและกระดูกเปราะบาง การทำงานผิดปกติและจะเกิดการเจ็บปวด ทำให้มีอาการปวดส้นเท้าหรือรองช้ำ
แพทย์แผนจีนอธิบายว่าอาการบาดเจ็บมากในช่วงตื่นเช้า หรือ จากการนั่งพักนานๆ พอจะลงน้ำหนักจะเจ็บปวดเนื่องจาการไหลเวียนของพลังลมปราณ และเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ลดลง เมื่อการหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอก็จะมีอาการปวด
หลักในการรักษา : กระตุ้นการไหลเวียนเลือดสลายเลือดคั่ง ลดบวมระงับปวด (活血化瘀、消肿止痛)
การทุยหนา :
ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้ออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อได้มากขึ้น ลดการอักเสบ คลายความอ่อนล้า ช่วยให้ข้อต่อยืดหยุ่น ลดโอกาสเสี่ยงของอาการปวดเกร็งหรือเป็นตะคริว หัตถการทุยหนามีขั้นตอนดังนี้
การฝังเข็ม
ยาจีน
พอกยา
อบยา
ข้อควรระวัง
หนึ่งวิธีที่จะช่วยบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาการเกิดโรครองช้ำได้นั้น คือ การหยุดกิจกรรมที่ต้องใช้เท้าเป็นเวลานานๆ เช่น การยืนเป็นเวลานาน หากเป็นการเล่นกีฬาควรเลือกกีฬาที่ไม่ต้องลงน้ำหนักที่เท้ามาก เช่นการว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เป็นต้น ในส่วนของรองเท้า ควรเลือกสวมรองเท้าส้นนิ่มขณะออกกำลังกายโดยอาจใช้แผ่นรองเสริมอุ้งเท้า เพื่อลดแรงกระแทกที่ฝ่าเท้าและช่วยกระจายน้ำหนักให้มีความสมดุลสม่ำเสมอของฝ่าเท้า เวลาก่อนออกกำลังกายควรยืดกล้ามเนื้อน่องและยืดพังผืดใต้ฝ่าเท้าเป็นประจำเพื่อให้ผังผืดใต้ฝ่าเท้าไม่เกิดการตึงตัว อีกทั้งควรควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไปเพราะถ้าน้ำหนักตัวมากจะทำให้ข้อต่อต่างๆต้องรับน้ำหนักมากยิ่งขึ้น
Credit : https://www.foot-pain-explored.com/plantar-fasciitis-exercises.html
การดูแลตัวเองก่อนเล่นกีฬา
1. หมั่นยืดกล้ามเนื้อน่องทุกวัน เนื่องจากกล้ามเนื้อน่องมีส่วนเกี่ยวข้องกับผังพืด plantar fascia ถ้าเรายืดกล้ามเนื้อน่องเป็นประจำทุกๆวันจะทำให้ความตึงตัวของผังพืดลดน้อยลง และอาการปวดขณะลงนํ้าหนักก้าวแรกก็จะลดลงด้วยเช่นกัน
2.ใส่รองเท้าที่กระชับ นุ่มสบาย
3.บริหารกล้ามเนื้อเท้า โดยการฝึกขยุ้มนิ้วเท้า
4.ดื่มน้ำมากๆ เพื่อรักษาระดับน้ำในร่างกายไม่ให้ขาดน้ำ เพราะน้ำจะเป็นสารหล่อลื่นบริเวณข้อต่างๆ และช่วยหมุนเวียนระบายความร้อน
5.ก่อนวิ่ง ต้องวอร์มอัพ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อน่อง และเอ็นร้อยหวายต้องยืดให้เพียงพอ เพราะส่วนนี้จะมีผลต่อการเกิดโรครองช้ำได้มาก
การดูแลตัวเองหลังเล่นกีฬา
1. หลังจากวิ่งมาราธอนควรแช่เท้าด้วยนํ้าเย็น 10-15 นาที เพื่อลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดจากการเล่นกีฬา ภายหลังการเล่นกีฬาไปแล้ว 48 ชั่วโมง ควรแช่เท้าด้วยน้ำอุ่นเพื่อกระตุ้นการไหลเวียน ให้กล้ามเนื้อเกิดการคลายตัว และให้ร่างกายได้ซ่อมแซมบริเวณที่อักเสบให้หายได้เร็วขึ้น
2. หลังจากจบการวิ่งควรยืด คลายกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อน่อง และเอ็นร้อยหวาย ซึ่งส่วนนี้จะมีผลต่อการเกิดโรครองช้ำได้มาก
3. บริหารข้อเท้า เช่น ใช้ฝ่าเท้าเหยียบคลึงอุปกรณ์ทรงกระบอกที่มีความแข็งแรง เช่น ท่อ PVC ลูกเทนนิส หรือขวดน้ำพลาสติกขนาดเล็ก เพื่อช่วยยืดเส้นเอ็นใต้ฝ่าเท้า
ท่ากายบริหารสำหรับโรครองช้ำ
1. ผู้ป่วยยืนหันหน้าเข้าหากำแพงใช้มือยันกำแพงไว้ วางเท้าที่ต้องการยืดเอ็นร้อยหวายไว้ข้างหลัง งอข้อศอกพร้อมกับ ย่อเข่าด้านหน้าลงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยขาด้านหลังเหยียดตึงและส้นเท้าติดพื้นตลอดเวลา ย่อลงจนรู้สึกว่าน่องด้านหลังตึงแล้วค้างไว้นับ 1 – 10 ถือเป็น 1 ครั้ง ทำวันละ 3-5 ครั้ง
Credit : https://www.aecclub.com/healthy/พังผืดใต้ฝ่าเท้า/
2 .ผู้ป่วยนั่งเหยียดขาข้างที่ต้องการยืดเอ็นร้อยหวาย ใช้ผ้าคล้องที่ปลายเท้าไว้ แล้วดึงเข้าหาตัวจนรู้สึกว่าน่องด้านหลังตึง ค้างไว้นับ 1 – 10 ถือเป็น 1 ครั้ง ทำวันละ 3-5 ครั้ง
Credits : https://www.aecclub.com/healthy/พังผืดใต้ฝ่าเท้า/
3. ผู้ป่วยยืนบนขอบพื้นต่างระดับ โน้มตัวไปข้างหน้าจนรู้สึกว่าน่องด้านหลังตึง ค้างไว้นับ 1 – 10 ถือเป็น 1 ครั้ง ทำวันละ 3-5 ครั้ง
Credit : https://www.aecclub.com/healthy/พังผืดใต้ฝ่าเท้า/
บทความโดย
แพทย์จีน ชนาธิป ศิริดำรงค์
เลขที่ใบประกอบโรคศิลปะ พจ.1490
คลินิกทุยหนาและกระดูก
-----------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
1. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. การฝังเข็ม รมยา เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, 2551.
2. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. การฝังเข็ม รมยา เล่ม 3. นนทบุรี : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2554
3. https://www.vrunvride.com/common-running-injuries-how-to-treat-and-prevent/
4. https://citytrailrunners.com/2019/07/24/commonrunnerinjury/
5. https://m.baidu.com/bh/m/detail/vc_16039198734879386793
6. https://www.runnercart.com/blog/69-itbs-iliotibial-band-syndrome-
7. https://www.blockdit.com/posts/5da73a57a0725f5767a466a3
--------------------------------------------------------------------
สอบถามข้อมูลการดูแลรักษาสุขภาพ
โดยหลักการและวิธีทางตามธรรมชาติ ใช้อินเพื่อเสริมหยาง ใช้หยางเพื่อเสริมอิน ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีนแบบผสมผสาน
LINE OA : @HuachiewTCM
คลินิกหัวเฉียวแพทย์แผนจีน สังกัดมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง
สถานพยาบาลการแพทย์แผนจีนต้นแบบ และเป็นศูนย์กลางการแพทย์แผนจีนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในประเทศไทย
11 พ.ย. 2567
11 พ.ย. 2567
14 พ.ย. 2567