ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัยอันควร Premature ovarian failure

Last updated: 2 ก.ค. 2567  |  11208 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัยอันควร Premature ovarian failure

ในยุคปัจจุบัน ผู้หญิงเรามีค่านิยมทำงานนอกบ้านมากขึ้น ความเครียด จากการทำงาน การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา นอนดึกตื่นเช้า พักผ่อนไม่เพียงพอ การรับประทานอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อร่างกายทั้งสิ้น

ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัยอันควร คือภาวะสตรีที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี เป็นต้นไป ประจำเดือนเริ่มมาไม่ปกติ เช่น ไม่ค่อยมา ประจำเดือนขาด ประจำเดือนมาน้อย จนกระทั่งการมีภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ร่วมกับการมีภาวะ ร้อนวูบวาบ เหงื่ออออกมาก อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ จนกระทั่งมีบุตรยาก เป็นต้น

การแสดงของโรค
พบในสตรีอายุน้อยกว่า 40 ปี ประจำเดือนแปรปรวน จนถึงประจำเดือนไม่มา
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนส่งผลให้เกิด ภาวะร้อนวูบวาบ มีเหงื่ออกมาก อารมณ์แปรปรวน เป็นต้น

การตรวจวินิจฉัย
อายุน้อยกว่า 40 ปี
FSH สูงเหมือนภาวะสตรีวัยหมดประจำเดือน โดยการตรวจสองครั้ง ใน 1 เดือน

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
สาเหตุในทางแพทย์แผนจีน ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัยอันควรเกิดจาก อวัยวะไต ตับ และม้าม   เป็นหลัก ความเครียด การทำงานหนักพักผ่อนน้อย เป็นสาเหตุให้การทำงานของตับ และไต แปรปรวน ไตเป็นอวัยวะที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต เป็นอวัยวะก่อนกำเนิด ตับเป็นอวัยวะเกี่ยวกับการกักเก็บเลือด ทั้งสองเป็นอวัยวะที่มีจุดกำเนิดเดียวกัน ขาดกันไม่ได้ ถ้าอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง พร่อง อ่อนกำลังลงจึงส่งผลต่ออีกอวัยวะหนึ่งด้วย ม้ามเป็นอวัยวะหลังกำเนิด ดูแลร่างกายให้มีการขับเคลื่อนหมุนเวียน ดูแลควบคุมเลือดในร่างกาย

ถ้ารับประทานอาหารที่ไม่ดี ไม่ตรงเวลา การทำงานของม้ามในร่างกายจะอ่อนแอลง ดังนั้นถ้าอวัยวะหนึ่งในร่างกายทดถอยหรือเสื่อมลง หรือไม่สมดุล ร่างกายขาดการดูแลในสมดุล จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัยอันควรได้นั่นเอง


การวินิจฉัยทางการแพทย์แผนจีน แบ่งได้เป็น 5 ประเภท
1. อินของตับไตพร่อง (肝肾阴虚)
อาการแสดง ประจำเดือนเลื่อนมาช้ากว่ากำหนด ปริมาณน้อย สีแดงสด เหนียวค้น หรือ ประจำเดือนไม่มา ปวดเอวปวดหัวเข่า ฝ่ามือฝ่าเท้าร้อย ร้อนวูบวาบ มีเหงื่ออกมาก หงุดหงิดขี้โมโห ช่องคลอดแห้งหรือแสบร้อน เวียนศีรษะ หูมีเสียง หลงลืม นอนไม่หลับ ฝันเยอะ ตาแห้ง ตามัว ลิ้นแดง ฝ้าบนลิ้นน้อย ชีพจรเล็กเร็ว ตึง  

การรักษา บำรุงตับ หล่อเลี้ยงไต สร้างเลือด ปรับประจำเดือน

ตำรับยา จว่อกุยหวานเพิ่มลด (左归丸加减) เช่น สูตี้ (熟地)ซานเหย้า(山药) ซานจูอฺวี๋ (山茱萸)ทู่ซือจื่อ(菟丝子) ลู่เจี่ยวเจียว(鹿角胶) กุยเจี่ยวเจียว (龟甲胶)เก๋ากี้(枸杞子)ชวนหนิวซี (川牛膝) เป็นต้น

2. ไตพร่องตับอุดกั้น (肾虚肝郁)
อาการแสดง ประจำเดือนมาช้า ปริมาณน้อย สีดำ ร่วมกับ ประจำเดือนมีลักษณะเป็นก้อน หรือประจำเดือนขาด ปวดเอว ปวดหัวเข่า เศร้าซึม คิดมาก หงุดหงิด โมโหง่าย ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมาก เวียนศีรษะ หูมีเสียง แน่หน้าอก ถอนหายใจบ่อย ปวดแน่นบริเวณซี่โครง  ลิ้นดำซีด ชีพจรตึงเล็ก 

การรักษา บำรุงไต ระบายตับ ปรับประจำเดือน

ตำรับยา อีก้วนเจียนเพิ่มลด(一贯煎加减) เช่น เป่ยซาเซิน (北沙参)ม้ายตง(麦冬) ตังกุย(当归) สูตี้ (熟地)ชวนเลี่ยนจื่อ(川楝子) เก๋ากี้(枸杞子) เฉินผี (陈皮)ไป๋เส่า(白芍) เป็นต้น

3. เลือดและชี่พร่อง(气血两虚)
อาการแสดง ประจำเดือนมาช้า ปริมาณน้อย สีประจำเดือนซีด เลือดประจำเดือนจางใส หรือ ประจำเดือนไม่มา เวียนศีรษะ ตาลาย ใจสั่น หายใจสั่น หน้าเหลืองซีด อ่อนเพลียไม่มีแรง ลิ้นซีด ฝ้าขาว ชีพจรเล็กอ่อน หรือลึกเต้นช้า

การรักษา บำรุงชี่บำรุงเลือด ปรับประจำเดือน
ตำรับยา เหรินเสินเซินหย่างหย่างหฺยงทังเพิ่มลด (人参养荣汤加减)เช่น เหรินเซิน(人参)หวงฉี(黄芪)ไปจู๋(白术) ฝู๋หลิง(茯苓) เฉินผี (陈皮)กานเฉ่า (甘草)สูตี้(熟地) ตังกุย(当归)ไป๋เส่า(白芍)อู่เว่ยจื่อ(五味子) หย่วนจื้อ (远志)โหร่วกุ้ย(肉桂)เป็นต้น

4. ม้ามและไตหยางพร่อง(脾肾阳虚)
อาการแสดง ประจำเดือนมาช้า ปริมาณน้อย สีซีด ลักษณะประจำเดือนใสจาง หรือประจำเดือนไม่มา ปวดเอวปวดหัวเข่า ตกขาวเป็นน้ำใส ท้องน้อยเย็น ปวดหน่วง กลัวหนาวมือเท้าเย็น หน้าซีดขาว หน้ามือเท้าบวม ท้องเสียบ่อย หรือถ่ายเหลวในช่วงตี 4-5 ลิ้น อ้วนมีรอยฟัน ฝ้าขาว ชีพจรลึกเล็ก ไม่มีแรง

การรักษา อุ่นไตบำรุงม้าม อุ่นมดลูก ปรับประจำเดือน

ตำรับยา เหวินถู่อฺวีหลินทังเพิ่มลด (温土毓麟汤加减)เช่น ปาจี๋เทียน(巴戟天) ฝู่เผินจื่อ(覆盆子) ไป๋จู๋(白术)เหรินเซิน(人参) ซานเย่า(山药)เสินชวี(神曲) ตังกุย (当归)เป็นต้น 

5. ไตอินและหยางพร่อง (阴阳两虚)
อาการแสดง ประจำเดือนมาช้า หรือประจำเดือนไม่มา มีอาการร้อนวูบวาบ มีเหงื่ออกมาก เอวและหลังปวดเย็น เวียนศีรษะ หูมีเสียง ตกขาวใส ปริมาณน้อย ปัสสาวะบ่อย ช่องคลอดแห้ง ปวด และเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์

ลิ้นซีด ฝ้าขาว ชีพจรลึกช้าอ่อนไม่มีแรง

การรักษา บำรุงหยางหล่อเลี้ยงอินไต

ตำรับยา เอ้อเซียนทังเพิ่มลด(二仙汤加减) เช่น เซียนเหมา(仙茅) เซียนหลิงผี (仙灵脾)อิ๋นหยางฮั่ว (淫羊藿)ปาจี๋เทียน (巴戟天)ตังกุย(当归) จือหมู่(知母)หวงไป่(黄柏) เป็นต้น

ตัวอย่างกรณีศึกษา
ผู้ป่วยภาวะรังไข่เสื่อมที่ต้องการมีบุตร
รหัสผู้ป่วย 336XX
ชื่อ นางสาว นXX XXX
เพศ หญิง อายุ 37 ปี
วันที่เข้ารับการรักษา วันที่ 8  กุมภาพันธ์ 2564
ประวัติการเจ็บป่วย ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัยอันควร

อาการสำคัญ เตรียมพร้อมตั้งครรภ์

ประวัติปัจจุบัน
คนไข้เตรียมพร้อมตั้งครรภ์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ได้ทำการเก็บไข่เพื่อเตรียมทำเด็กหลอดแก้ว ผลคือ ได้ไข่ 4 ใบ เมื่อนำไปผสมกับอสุจิแล้ว ไม่ได้ตัวอ่อน แพทย์ปัจจุบันแจ้งว่า มีภาวะรังไข่เสื่อม ค่า AMH 0.36 รอบประจำเดือนมาเร็ว 23-25 วัน ปริมาณน้อย มาประมาณ 3-5 วัน ไม่เคยมีประวัติตั้งครรภ์ lmp 20 มกราคม

คนไข้มีรูปร่างผอม ความเครียดสูง อ่อนเพลีย นอนดึกพักผ่อนน้อย
ลิ้นแดง ฝ้าน้อย ชีพจร เล็กเร็ว

ประวัติในอดีต
ปฏิเสธประวัติไทรอยด์ เบาหวาน หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบฮอร์โมน
ปฏิเสธประวัติแพ้ยา
ปฏิเสธประวัติแพ้ภูมิตัวเอง
ปฏิเสธประวัติครอบครัวมีภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัยอันควร

การตรวจเลือดทั่วไป
20 มกราคม 2564 AMH 0.36

ผลการวินิจฉัย
แพทย์ปัจจุบัน : ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัยอันควร
แพทย์แผนจีน : 脏躁 不孕 กลุ่มอาการ อินตับไตพร่อง

วิธีการรักษา
รับประทานยาสมุนไพรจีน ระบายชี่ตับ บำรุงหล่อเลี้ยงไตอิน
ตำรับยา ตานจือเซียวเหยาหวานเพิ่มลด(丹栀逍遥丸加减)  หมู่ตานผี(牡丹皮) จือจื่อ(栀子)ไฉหู(柴胡) ไป๋เส่า(白芍)ตังกุย (当归)
เพิ่มยาบำรุง ไตอิน เช่น หนี่เจินจื่อ (女贞子)กุยป่าน(龟板)เป็นต้น จำนวน 7 วัน

ครั้งที่ 2 วันที่ 13 เดือนกุมภาพันธ์ 2564
หลังจากรับประทานยา ไม่พบสิ่งปกติ ร่างกายมีแรงมากขึ้น lmp 9 กุมภาพันธ์
ลิ้นแดงชุ่ม ชีพจร เล็ก

เลือกใช้ตำรับ ลิ่วเว่ยตี้หวงหวานเพิ่มลด (六味地黄丸加减)สูตี้(熟地黄) ซานเย่า(山药)ซายจูอฺวี๋(山茱萸) ฝู๋ฟหลิง (茯苓)เจ๋อเซี่ย(泽泻)หมู่ตานผี (牡丹皮)

เพิ่มยาบำรุง เลือดตับ  เช่น จีสฺวี่ยเถิง (鸡血藤)เป็นต้น จำนวน 14 วัน

ครั้งที่ 3 วันที่ 27 เดือนกุมภาพันธ์ 2564 
เป็นช่วงก่อนตกไข่ เน้น หล่อเลี้ยงบำรุงไตอิน
ลิ้น แดงชุ่ม ชีพจร เล็ก
เลือกใช้ตำรับ หลิ่วเว่ยตี้หวงหวานเพิ่มลด (六味地黄丸加减)สูตี้(熟地黄) ซานเย่า (山药)ซายจูอฺวี๋ (山茱萸)ฝู๋หลิง (茯苓)เจ๋อเซี่ย(泽泻)หมู่ตานผี (牡丹皮)

เพิ่มยาบำรุง ไตหยาง จื่อเหอเชอ紫河车เป็นต้น จำนวน 14 วัน

ครั้งที่ 4 วันที่ 6 เดือนมีนาคม 2564
คนไข้แจ้งว่า ตั้งครรภ์ ไม่มีอาการอื่นร่วม นอนหลับ ขับถ่ายปกติ
ลิ้น แดงชุ่ม ชีพจร ลื่นกลม

เลือกใช้ตำรับ ลิ่วเว่ยตี้หวงหวานเพิ่มลด (六味地黄丸加减)สูตี้(熟地黄) ซานเย่า (山药)ซายจูอฺวี๋ (山茱萸) ฝู๋ฟู่หลิง (茯苓)เจ๋อเซี่ย (泽泻)หมู่ตานผี (牡丹皮)

เพิ่มยาบำรุง ไตหยาง จื่อเหอเชอ紫河车และยาบำรุงเลือด บำรุงครรภ์ เออเจียว (阿胶) เป็นต้น จำนวน 14 วัน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้