Last updated: 2 ก.ค. 2567 | 32106 จำนวนผู้เข้าชม |
การกดจุดเพื่อป้องกันและส่งเสริมการรักษาโรคระบาด
การกดจุด เป็นหนึ่งวิธีบำรุงรักษาสุขภาพที่สำคัญมาตั้งแต่ยุคโบราณ จุดเด่นของแพทย์แผนจีน คือ 治未病 “รักษาโรค ตั้งแต่ยังไม่เป็นโรค” 未病先防、已病防变 “หากยังไม่ป่วยก็ป้องกันไม่ให้เป็นโรค หากป่วยแล้วก็ป้องกันพัฒนาการของโรค”
หมายความว่า แพทย์แผนจีนมีบทบาทหน้าที่ช่วยเหลือในการป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคตั้งแต่ยังไม่เป็นโรค แต่ถ้าหากป่วยเป็นโรคแล้วแพทย์แผนจีนก็ยังมี บทบาทป้องกันไม่ให้โรคพัฒนาลุกลามเป็นหนักขึ้น
ซึ่งในทางแพทย์แผนจีน "เจิ้งชี่" คือ ภูมิคุ้มกันร่างกาย และ "เสียชี่" คือ สิ่งก่อโรคจากภายนอก หรือเชื้อโรคที่เข้ามาโจมตีร่างกาย
การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย หรือ “เจิ้งชี่” ให้แข็งแรง จึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และเมื่อเราต้องเผชิญกับโรคระบาด ในทางการแพทย์แผนจีนขอแนะนำวิธีการนวดกดจุด โดยยึดจากจุดฝังเข็มเพื่อกระตุ้นระบบเลือดลมในร่างกาย เป็นวิธีการส่งเสริมดูแลสุขภาพด้วยตนเองง่ายๆ ที่สามารถปฏิบัติได้ด้วยตัวเองเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันปกป้องร่างกายจากสิ่งก่อโรคภายนอกได้
1. จุดเสริมชี่อุ่นบำรุงหยาง เสริมภูมิทำให้ร่างกายแข็งแรง (补气温阳、扶正固本)
จุดที่ 1 : จุดกวนหยวน 关元 (GuanYuan)
อยู่บริเวณท้องน้อย ต่ำกว่า สะดือ 3 ชุ่น 4 นิ้วมือ
สรรพคุณ : อุ่นไตบำรุงหยาง
จุดที่ 2 : จุดมิ่งเหมิน 命门 (MingMen)
อยู่บริเวณที่เอวร่องใต้ต่อ Spinus process ของกระดูกบั้นเอวข้อที่ 2
สรรพคุณ : อุ่นหยางสลายความเย็น เสริมเจิ้งชี่ ขจัดเสียชี่
จุดที่ 3 : จุดจู๋ซานหลี่ 足三里 (ZuSanLi)
อยู่บริเวณหน้าแข้ง ด้านนอก ต่ำกว่ารอยบุ๋มข้อหัวเข่าด้านลงมา 3 ชุ่น ห่างจากกระดูกหน้าแข้ง 1 นิ้วมือ
สรรพคุณ : เสริมม้ามบำรุงชี่ เสริมสร้างภูมิ(เจิ้งชี่)
วิธีปฏิบัติ :
1. ถูฝ่ามือไปมาอย่างรวดเร็วมาจนฝ่ามือร้อน (ชัว 搓) แล้วใช้ฝ่ามือที่ถูจนร้อนวางทาบลงไปบริเวณจุดฝังเข็ม จนรู้สึกอุ่นร้อนบริเวณจุดฝังเข็มนั้น
2. วางกระเป๋าน้ำร้อน หรือ วางแผ่นประคบร้อนที่ทำจากถุงผ้าภายในอัดแน่นด้วยเกลือเม็ดหยาบนำไปอุ่นในไมโครเวฟจนร้อนพอเหมาะ หรือ แปะแผ่นร้อน (Heat Pack) บริเวณจุดฝังเข็มที่ต้องการกระตุ้น วิธีนี้จะให้ความร้อนได้ดีและยาวนานกว่าวิธีแรก
ข้อควรระวัง :
1. ควรทำในสถานที่อบอุ่น หลีกเลี่ยงความเย็น ระวังโดนลวก
2. หากเป็นไปได้ใช้วิธีรมโกฐยา ที่ทำจาก อ้ายเยว่(艾灸)
2. จุดกระจายชี่ปอด ปรับสมดุลการไหลเวียนลมปราณบำรุงปอดขจัดเสมหะ(宣肺理气 补肺化痰)
จุดที่ 1 : จุดเหอกู่ 合谷 (HeGu)
เป็นจุดฝังเข็มที่อยู่บนเส้นลมปราณลำไส้ใหญ่อยู่บริเวณง่ามนิ้วมือระหว่างน้ำแม่โป้งแล้วนิ้วชี้
จุดที่ 2 : จุดฉื่อเจ๋อ 尺泽 (ChiZe)
เป็นจุดฝังเข็มที่อยู่บนเส้นลมปราณปอด เป็นจุด “เหอ”(合) อยู่บริเวณร่องข้อพับระหว่างข้อศอก
จุดที่ 3 : เส้นลมปราณปอด (手太阴肺经)
เส้นลมปราณปอดมีทิศการไหลเวียนออกมาจากทรวงอกทั้งสองข้าง และไหลเวียนผ่านไปยังแขน จนถึงปลายมือตามแนวนิ้วหัวแม่มือ
จุดที่ 4 : เส้นลมปราณลำไส้ใหญ่ (手阳明大肠经)
เส้นลมปราณลำไส้ใหญ่ สาเหตุที่เราเลือกใช้เส้นลมปราณลำไส้ใหญ่ก็เนื่องมาจาก ในทางแพทย์จีน " ปอดและลำไส้ใหญ่ มีความสัมพันธ์เป็นอวัยวะคู่นอกในกัน หากลมปราณในลำไส้ไหลเวียนคล่องสะดวก ก็ทำให้เกิดสรรพคุณ กระจายชี่ปอด ปรับสมดุล การไหลเวียนลมปราณ(宣肺理气)ได้เช่นกัน
วิธีปฏิบัติ :
1. ใช้ฝ่ามือตบเบาๆ (拍打法)ตามแนวเส้นลมปราณ และจดฝังเข็ม
ข้อควรระวัง :
- ควรทำในสถานที่อบอุ่น หลีกเลี่ยงความเย็น
- ระมัดระวังไม่ให้ผิวหนังถลอกหรือบาดเจ็บ จากการ ถูหรือ การตบ ที่แรงเกินไป
- หากเป็นไปได้ใช้วิธีรมโกฐยา ที่ทำจาก อ้ายเยว่ (艾灸)
3. บำรุงปอด ขจัดเสมหะ (补肺化痰)
จุดที่ 1 : จุดเฟ่ยซู 肺俞 (FeiShu)
อยู่บริเวณหลัง ระดับเดียวกับร่องใต้Spinus process ของกระดูกหน้าอกข้อที่ 3 ห่างออกมาจากแนวกลาง 1.5 ชุ่น (ครึ่งหนึ่งจากแนวกลางถึงขอบสะบักด้านใน)
จุดที่ 2 : จุดเกาหวง 膏肓俞 (GaoHuang)
อยู่บริเวณหลัง ระดับเดียวกับร่องใต้ Spinus process ของกระดูกหน้าอกข้อที่ 4 ห่างออกมาจากแนวกลาง3ชุ่น(ตรงขอบสะบักด้านในพอดี)
วิธีปฏิบัติ
1. แปะแผ่นร้อน (Heat Pack) หรือ ประคบร้อน บริเวณจุดฝังเข็ม
2. ใช้อุ้งมือทุบเบาๆ (虚掌叩击) บริเวณจุดฝังเข็ม
ข้อควรระวัง
- ควรทําในสถานที่อบอุ่น หลีกเลี่ยงความเย็น ระวังโดนลวก
- ระมัดระวังไม่ให้ผิวหนงถลอกหรือบาดเจ็บ จากการ ถูหรือ การตบ ที่แรงเกินไป
- หากเป็นไปได้ใช้วิธีรมโกฐยา ที่ทําจาก อ้ายเยว่(艾灸)
4. ปรับสมดุลม้ามและกระเพาะอาหาร (调理脾胃)
จุดที่ 1 : จุดจงหว่าน 中脘 (ZhongWan)
อยู่บริเวณท้องแนวกลางลําตัวตรงตําแหน่งกึ่งกลางระหวางลิ้นปี่และสะดือ
สรรพคุณ บํารุงม้าม ขจัดเสมหะ ช่วยย่อย ช่วยระบาย
จุดที่ 2 : จุดเสินเชว่ 神阙 (ShenQue)
อยู่บริเวณท้อง ตรงตำแหน่งกึ่งกลางสะดือ
สรรพคุณ เสริมและฟื้นฟูภูมิต้านทาน(เจิ้งชี่) ปรับสมดุลม้ามและกระเพาะอาหาร
จุดที่ 3 : จุดเทียนซู 天枢 (TianShu)
อยู่บริเวณท้อง ตรงตำแหน่งกึ่งกลางสะดือ
สรรพคุณ เสริมและฟื้นฟูภูมิต้านทาน(เจิ้งชี่) ปรับสมดุลม้ามและกระเพาะอาหาร
จุดที่ 4 : จุดจู๋ซานหลี่ 足三里 (ZuSanLi)
อยู่บริเวณหน้าแข้ง ด้านนอก ต่ำกว่ารอยบุ๋มข้อหัวเข่าด้านลงมา 3 ชุ่น ห่างจากกระดูกหน้าแข้ง 1 นิ้วมือ
สรรพคุณ : อยู่บนเส้นลมปราณกระเพาะอาหาร มีสรรพคุณดีเยี่ยมในการปรับสมดุลการทำงานของม้ามและกระเพาะอาหาร
วิธีปฏิบัติ
1. จุดฝังเข็มที่อยู่บริเวณท้องให้ใช้วิธีนวดคลึง(按揉法)
2. ใช้วิธีกดจุด(点按法)คือวิธีกดจุดโดยใช้หัวแม่มือหรือนิ้วชี้ กดลงตรงบริเวณจุดจู๋ซานหลี่ ZuSanLi(足三里)
หลังจากทำการนวดเสร็จแล้ว อาจมีอาการผายลม หรือ ถ่ายท้องเกิดขึ้น ถือเป็นอาการปกติแสดงว่าจุดฝังเข็มที่ได้กดนวดไปนั้น ให้ผลในการกระตุ้นการทำงานม้าม กระเพาะอาหารและลำไส้ได้ดีมาก
ข้อควรระวัง
- อย่าใช้แรงมากเกินไป
- ระมัดระวังไม่ให้ผิวหนังถลอกหรือบาดเจ็บ
- หากเป็นไปได้ใช้วิธีรมโกฐยา ที่ทําจาก อ้ายเยว่(艾灸)
5. อุ่นบำรุงหยาง เพื่อสลายความเย็น (温阳散寒)
จุดที่ 1 : จุดต้าจุย 大椎 (DaZhui)
อยู่บริเวณต้นคอด้านหลัง ร่องใต้ Spinus process ของกระดูกคอข้อที่ 7
สรรพคุณ : จุดต้าจุย 大椎 เป็นตำแหน่งศูนย์รวมของ เส้นลมปราณหยางทั้ง6เส้น เป็นตำแหน่งแห่งพลังหยาง เมื่อใช้ความอุ่นร้อนกระตุ้นที่จุดต้าจุย 大椎 จึงทำให้เกิดสรรพคุณ กระตุ้นเสริมสร้าง พลังหยางได้อย่างดีเยี่ยม
จุดที่ 2 : จุดมิ่งเหมิน 命门 (MingMen)
อยู่บริเวณที่เอวร่องใต้ต่อ Spinus process ของกระดูกบั้นเอวข้อที่ 2
สรรพคุณ : จุดมิ่งเหมินนี้มีสรรพคณุ อุ่นบำรุงพลังหยางเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง
เมื่อใช้จดมิ่งเหมิน และจดต้าจุย ทั้งสองจุดนี้ร่วมกัน จึงมีสรรพคุณ อุ่นบำรุงหยางสลายความเย็น ที่ดีมาก
จุดที่ 3 : จุดกวนหยวน 关元 (GuanYuan)
อยู่บริเวณท้องน้อย ต่ำกว่า สะดือ 3 ชุ่น 4 นิ้วมือ
สรรพคุณ : อุ่นไตบำรุงหยาง
วิธีปฏิบัติ
- แปะแผ่นร้อน (Heat Pack) หรือ ประคบร้อน
ข้อควรระวัง
- ควรทำในสถานที่อบอุ่น หลีกเลี่ยงความเย็น ระวังโดนลวก
- ระมัดระวังไม่ให้ผิวหนังถลอกหรือบาดเจ็บ จากการ ถูหรือการตบ ที่แรงเกินไป
- หากเป็นไปได้ใช้วิธีรมโกฐยา ที่ทำจาก อ้ายเยว่ (艾灸)
อ้างอิงจาก
- สถาบันวิจัยการฝังเข็มรมยาคณะศาตร์การแพทย์แผนจีนแห่งชาติจีน 中国中医科学院针灸研究所
- ศูนย์ฝึกอบรมการฝังเข็มรมยานานาชาตินครปักกิ่ง 北京国际针灸培训中心
- โรงพยาบาลฝังเข็มรมยาคณะศาตร์การแพทย์แผนจีนแห่งชาติจีน 中国中医科学院针灸医院
6 ธ.ค. 2567
9 ธ.ค. 2567
6 ธ.ค. 2567